พระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นกระต่าย
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘
สสปัณฑิตชาดก
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการถวายบริขารทุกอย่างแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมหมู่สงฆ์ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สตฺต เม โรหิตา มจฺฉา ดังนี้.
ได้ยินว่า ในนครสาวัตถี มีกฎุมพีคนหนึ่งตระเตรียมการถวายบริขารทุกอย่างแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้สร้างมณฑปที่ประตูเรือนแล้วนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้นั่งบนบวรอาสน์ในมณฑปที่ได้จัดแจงไว้ดีแล้ว ถวายทานอันประณีตมีรสเลิศต่างๆ เช่นนี้อยู่ตลอด ๗ วัน.
ในวันที่ ๗ ได้ถวายบริขารทั้งปวงแก่ภิกษุ ๕๐๐ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.
ในเวลาเสร็จภัตกิจ พระศาสดา เมื่อจะทรงกระทำอนุโมทนา จึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก ควรที่ท่านจะกระทำปีติโสมนัส ก็ชื่อว่า ทานนี้เป็นกิจของโบราณกบัณฑิตทั้งหลายที่พึงกระทำ ด้วยว่าโบราณกบัณฑิตทั้งหลายได้บริจาคชีวิตแก่เหล่ายาจกผู้มาถึงเฉพาะหน้าแม้ชีวิตของตนก็ให้ได้.
กฎุมพีอุบาสกผู้นั้นจึงทูลอาราธนาให้ทรงแสดง จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดกระต่ายอยู่ในป่า ติดกับเชิงเขา แม่น้ำและปัจจันตคาม.
กระต่ายโพธิสัตว์ยังมีสัตว์อื่นอีก ๓ ตัวคือ ลิง สุนัขจิ้งจอกและนากเป็นสหาย สัตว์ทั้ง ๔ นั้นล้วนเป็นบัณฑิตอยู่รวมกัน แล้วออกแสวงหาเหยื่อในที่เป็นที่โคจรของตนๆ แล้วมาประชุมกันในเวลาเย็น กระต่ายโพธิสัตว์บัณฑิตแสดงธรรมโดยการโอวาทแก่สัตว์ทั้ง ๓ ว่า พึงให้ทาน พึงรักษาศีล พึงกระทำอุโบสถกรรม.
สัตว์ทั้ง ๓ นั้นรับโอวาทของสสบัณฑิตนั้น แล้วเข้าไปยังพุ่มไม้ อันเป็นที่อยู่อาศัยของตนๆ อยู่.
จำเนียงกาลล่วงไปอยู่มาวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์มองดูอากาศเห็นดวงจันทร์ รู้ว่าพรุ่งนี้เป็นวันอุโบสถ จึงกล่าวแก่สหายสัตว์ทั้ง ๓ ว่า พรุ่งนี้เป็นวันอุโบสถ ท่านทั้ง ๓ จงสมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทานที่ผู้ตั้งอยู่ในศีลดีแล้วให้ ย่อมมีผลมาก เพราะฉะนั้น วันนี้เมื่อยาจกมาถึง ท่านทั้งหลายพึงให้รสอาหารที่ควรกิน แล้วจึงค่อยกิน.
สัตว์ทั้ง ๓ นั้นรับคำแล้วพากันกลับไปยังที่อยู่ของตนๆ.
วันรุ่งขึ้น บรรดาสัตว์เหล่านั้น อันมีนากเป็นต้นมาคิดว่าเราจักแสวงหาเหยื่อแต่เช้าตรู่ จึงไปยังฝั่งแม่น้ำคงคา.
ครั้งนั้น พรานเบ็ดคนหนึ่งตกปลาตะเพียนได้ ๗ ตัว จึงเอาเถาวัลย์ร้อยคุ้ยทรายที่ฝั่งแม่น้ำคงคา เอาทรายกลบไว้ เมื่อจะจับปลาอีกจึงเดินไปยังด้านใต้แม่น้ำคงคา.
นากสูดได้กลิ่นปลา จึงคุ้ยทราย เห็นปลาจึงนำออกมา คิดว่าเจ้าของปลาเหล่านี้มีไหมหนอ จึงประกาศขึ้น ๓ ครั้ง เมื่อไม่เห็นเจ้าของ จึงคาบปลายเถาวัลย์นำไปเก็บไว้ในพุ่มไม้ อันเป็นที่อยู่ของตน คิดว่า เราจักกินเมื่อถึงเวลา จึงนอนนึกถึงศีลของตนอยู่.
ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกออกเที่ยวแสวงหาเหยื่อได้เห็นเนื้อย่าง ๒ ไม้ เหี้ย ๑ ตัว และหม้อนมส้ม ๑ หม้อ ในกระท่อมของคนเฝ้านาคนหนึ่ง คิดว่า เจ้าของของสิ่งนี้มีอยู่หรือไม่หนอ จึงร้องประกาศขึ้น ๓ ครั้ง ไม่เห็นเจ้าของ จึงสอดเชือกสำหรับหิ้วหม้อนมส้มไว้ที่คอ เอาปากคาบเนื้อย่างและเหี้ย นำไปเก็บไว้ในพุ่มไม้เป็นที่นอนของตน คิดว่า จักกินเมื่อถึงเวลา จึงนอนนึกถึงศีลของตนอยู่.
ฝ่ายลิงเข้าไปยังไพรสณฑ์ นำพวงมะม่วงมาเก็บไว้ในพุ่มไม้เป็นที่อยู่ของตน คิดว่า จักกินเมื่อถึงเวลา จึงนอนนึกถึงศีลของตน.
ส่วนพระโพธิสัตว์คิดว่า พอถึงเวลาจักออกไปกินหญ้าแพรก จึงนอนอยู่ในพุ่มไม้เป็นที่อยู่ของตนนั่นแหละ คิดอยู่ว่า เราไม่อาจให้หญ้าแก่พวกยาจกผู้มายังสำนักของเรา แม้งาและข้าวสารเป็นต้นของเรา ก็ไม่มี ถ้ายาจกจักมายังสำนักของเราไซร้ เราจักให้เนื้อในร่างกายของเราเป็นทานแก่ยาจก
ด้วยเดชแห่งอธิษฐานธรรมในศีลของพระโพธิสัตว์นั้น ภพของท้าวสักกะได้แสดงอาการเร่าร้อน.
ได้ยินมาว่า ภพ คือ ที่อยู่ของพระอินทร์ จักเร่าร้อนขึ้นมาได้ก็ต่อเมื่อท้าวสักกะกำลังจะสิ้นอายุหรือสิ้นบุญ หรือเมื่อสัตว์อื่นผู้มีอานุภาพมากตั้งความปรารถนาสถาน หรือด้วยเดชแห่งศีลของสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
ในกาลนั้น ภพของท้าวสักกะได้เร่าร้อนเพราะเดชแห่งอธิษฐานธรรมในศีล ท้าวสักกะทรงทราบเหตุนั้นแล้ว จึงทรงดำริว่า เราจักทดลองใจของพระยากระต่ายดู จึงเสด็จไปยังที่อยู่ของนาก ได้แปลงเพศเป็นพราหมณ์ยืนอยู่.
เมื่อนากกล่าวว่า พราหมณ์ ท่านมาเพื่อต้องการอะไร?
จึงตรัสว่า ท่านบัณฑิต ถ้าข้าพเจ้าพึงได้อาหารบางอย่าง จะเป็นผู้รักษาอุโบสถ กระทำสมณธรรม.
นากนั้นกล่าวว่า ดีละ ข้าพเจ้าจักให้อาหารแก่ท่าน.
เมื่อจะเจรจากับท้าวสักกะนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ปลาตะเพียนของเรามีอยู่ ๗ ตัวซึ่งนายพรานเบ็ดตกขึ้นจากน้ำ เก็บไว้บนบน
ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้ามีสิ่งนี้อยู่ ท่านจงบริโภคสิ่งนี้ แล้วอยู่ในป่าให้สุขสำราญเถิด.
พราหมณ์กล่าวว่า เรื่องนี้จงรอไว้ก่อนเถิด ข้าพเจ้าจักมารับปลานั้นแต่ภายหลัง แล้วพราหมณ์จำแลงผู้นั้นจึงไปยังสำนักของสุนัขจิ้งจอก.
สุนัขจิ้งจอกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญท่านมายืนอยู่ เพื่อต้องการอะไร?
พราหมณ์จำแลงผู้นั้นจึงได้กล่าวขึ้นว่า ข้าพเจ้าต้องการอาหาร เพื่อจักได้มีกำลังรักษาอุโบสถ กระทำสมณธรรม
สุนัขจิ้งจอกจึงกล่าวว่า ดีละ ข้าพเจ้าจักมีเนื้อให้แก่ท่าน.
ท้าวสักกะนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
นี่เป็นอาหารของคนรักษานาคนโน้นนี่นา ข้าพเจ้าจักมาเอาในตอนกลางคืน
คือเนื้อย่าง ๒ ไม้ เหี้ย ๑ ตัว นมส้ม ๑ หม้อ.
สุนัขจิ้งจอกจึงกล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้ามีอาหารสิ่งนี้อยู่ ท่านจงบริโภคอาหารสิ่งนี้ แล้วเจริญสมณธรรมอยู่ในป่าเถิด.
พราหมณ์กล่าวว่า เรื่องนี้รอไว้ก่อนเถิด ข้าพเจ้าจักมารับแต่ภายหลัง แล้วไปยังสำนักของลิง
ลิงนั้นจึงกล่าวว่า ท่านยืนอยู่ เพื่อต้องการอะไร? จึงกล่าวเหมือนอย่างนั้น นั่นแหละ.
ลิงกล่าวว่า ดีละ ข้าพเจ้าจักให้.
เมื่อจะเจรจากับพราหมณ์ท้าวสักกะนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ผลมะม่วงสุก น้ำเย็น ร่มเงาอันเย็นเป็นที่รื่นรมย์ใจ. ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้ามีอาหารอย่างนี้ ท่านจงบริโภคอาหารนี้ แล้วเจริญสมณธรรมอยู่ในป่าเถิด.
พราหมณ์ท้าวสักกะจึงกล่าวว่า เรื่องนี้จงยกไว้ก่อนเถิด ข้าพเจ้าจักรู้ในภายหลัง แล้วไปยังสำนักของสสบัณฑิต
สสบัณฑิตนั้นกล่าวว่า ท่านมาเพื่ออะไร?
พราหมณ์จำแลงจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าต้องการอาหารบริโภค เพื่อจักได้มีชีวิตอยู่ปฏิบัติอุโบสถ และเจริญสมณธรรม
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นก็มีความชื่นชมโสมนัส กล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านมายังสำนักของเรา เพื่อต้องการอาหาร ได้ทำดีแล้ว วันนี้ ข้าพเจ้าจักให้ทานที่ยังไม่เคยให้ เมื่อท่านเป็นผู้มีศีล จักไม่ทำปาณาติบาต เช่นนั้น ท่านจงไปรวมไม้ฟืนนานาชนิด มาก่อถ่านไฟ แล้วจงบอกข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักเสียสละตน โดดลงในกลางถ่านไฟ เมื่อร่างกายของข้าพเจ้าสุกแล้ว ท่านพึงกินเนื้อ แล้วกระทำสมณธรรมตามที่ท่านปรารถนาเถิด
เมื่อจะเจรจากับท้าวสักกะนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
กระต่ายไม่มีงา ไม่มีถั่ว ไม่มีข้าวสาร ท่านจงบริโภคเรา ผู้สุกด้วยไฟนี้ แล้วเจริญสมณธรรมอยู่ในป่าเถิด.
ท้าวสักกะได้ทรงสดับถ้อยคำของสสบัณฑิตนั้นแล้วจึงเนรมิตกองถ่านเพลิงกองหนึ่ง ด้วยอานุภาพของตน แล้วบอกแก่พระโพธิสัตว์.
พระโพธิสัตว์นั้นลุกขึ้นจากที่นอนหญ้าแพรกของตน แล้วไปที่กองถ่านเพลิงนั้น คิดว่า ถ้าสัตว์เล็กๆ ในระหว่างขนของเรามีอยู่ สัตว์เหล่านั้นอย่าตายด้วยเลย แล้วสะบัดตัว ๓ ครั้ง บริจาคร่างกายทั้งสิ้น กระโดดโลดเต้นมีใจเบิกบานแล้วกระโดดลงในกองถ่านเพลิง เหมือนพระยาหงส์กระโดดลงในกอปทุม ฉะนั้น. แต่ไฟนั้นไม่อาจทำความร้อน แม้สักเท่าขุมขนในร่างกายของพระโพธิสัตว์ ได้เป็นเสมือนเข้าไปในห้องหิมะ ฉะนั้น.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์เรียกท้าวสักกะมา กล่าวว่า พราหมณ์ ไฟที่ท่านก่อไว้เย็นยิ่งนัก ไม่อาจทำความร้อน แม้สักเท่าขุมขนในร่างกายของข้าพเจ้า นี่อะไรกัน.
ท้าวสักกะตรัสว่า ท่านบัณฑิต เรามิใช่พราหมณ์ เราเป็นท้าวสักกะ มาเพื่อจะทดลองท่าน.
พระโพธิสัตว์จึงบรรลือสีหนาทว่า ข้าแต่ท้าวสักกะ พระองค์จงหยุดพักไว้ก่อนเถิด หากโลกสันนิวาสทั้งสิ้นจะพึงทดลองข้าพระองค์ด้วยทานไซร้ จะไม่พึงเห็นความที่ข้าพระองค์ไม่เป็นผู้ประสงค์จะให้ทานเลย.
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจึงตรัสกะพระโพธิสัตว์นั้นว่า ดูก่อนสสบัณฑิต คุณของท่านจงปรากฎอยู่ตลอดกัปทั้งสิ้นเถิด. แล้วทรงบีบบรรพต ถือเอาอาการเหลวของบรรพต เขียนลักษณะของกระต่ายไว้ในดวงจันทร์ แล้วนำพระโพธิสัตว์มาให้นอนบนหลังหญ้าแพรกอ่อน ในพุ่มไม้ป่านั้นนั่นแหละ แล้วจึงเสด็จไปยังเทวโลก.
กาลต่อมา บัณฑิตทั้ง ๔ นั้นพร้อมเพรียงบันเทิงอยู่ในป่าชักชวนกันบำเพ็ญศีล รักษาอุโบสถกรรมสืบไป
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะ ประชุมชาดก.
ในเวลาจบสัจจะ คฤหบดีผู้ถวายบริขารทุกอย่าง ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.
ตัวนากในกาลนั้น ได้เป็น พระอานนท์
สุนัขจิ้งจอกได้เป็น พระโมคคัลลานะ
ลิงได้เป็น พระสารีบุตร
ท้าวสักกะได้เป็น พระอนุรุทธะ
ส่วนสสบัณฑิตได้เป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.
พระชาดกเรื่องนี้เป็นที่มาของกระต่ายสถิตอยู่ในดวงจันทร์ได้อย่างไร
เจริญธรรม
พุทธะอิสระ
——————————————–
อ่านย้อนหลัง : https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/pfbid02Y3BoCAyvprkBnv7Exc41nSShfcEg7wHjnooM1gwFDrWFfkgYAkJ8JrpFxvMUc1cel
——————————————–
Bodhisattva was born as a hare.
February 18, 2025
Sasa Pundita Jataka
When the Buddha was staying at the Jetavana monastery, he spoke of offering alms to the Buddha and monks and began this sermon with the “Satta me rohita maccha” verses.
In Savatthi City, a landowner set up a pavilion by his house to invite Lord Buddha and a retinue of five hundred monks to receive various kinds of exquisite and delicious alms for seven days.
When the meal was over, the Buddha expressed his appreciation, “You should be joyful and glad. This is an act of giving by ancient wise men who could sacrifice even their lives to beggars who came to them.” The host requested the Buddha to explain. Thus, the Buddha related an ancient legend on the virtue of sacrifice:
In the past, when King Brahmadatta was ruling Benares City, the Bodhisatta was born as a hare in a wood at the foot of a mountain bordered on one side by a river and by a village on the other.
The rabbit Bodhisatta had three friends: a monkey, a jackal, and an otter. All four animals were wise. They lived together. During the day, they went out looking for food according to their eating habits and gathered in the evening. The hare Bodhisatta often spoke to his friends about the virtue of generosity and the importance of observing moral ethics.
The three animals accepted the advice of the hare Bodhisatta and returned to their habitats. One night, the Bodhisatta looked up at the sky and saw the moon; it knew a full moon would appear the following night. Thus, the hare informed its three friends that the 15th day of the month is holy, they should observe the Uposatha precepts by fasting during the day and offering food they could find to anybody who need food. Any offerings by anybody with established precepts will yield much fruit. The three friends agreed to do so and went back to their habitats.
The next day, all the animals thought of looking for food early in the morning and went down to the bank of the Ganga River.
A fisherman caught seven carp. He linked the fish together and buried them in the sand. Wanting more fish, he headed to the south of the Ganga River.
The otter smelled the fish, dug into the sand, found the buried fish, and took them out. The otter asked aloud whether anyone wished to claim the fish. When no one replied, it took the fish back to its dwelling. The otter thought it would eat the fish the following day if no one asked for the fish. Then, it lay down and recalled observing precepts.
Looking for prey, the jackal came upon the hut of a field keeper. Inside, it found two skewers of roasted meat, a water monitor lizard, and a yogurt pot. The jackal asked loudly three times if the food belonged to anyone. Receiving no reply, it placed the rope, which served as a handle for lifting the pot, on its neck, grasped the lizard with its teeth, and took them back to its dwelling. The fox thought that if no one asked for food, it would eat them the following day. Then, it lay down and recalled observing precepts.
The monkey went to the forest, gathered many mangos, and took them to its dwelling. It got ready to offer them to anyone in need of food. The monkey also thought that if no one asked for food, it would eat the mangoes later.
Then, it lay down and recalled observing precepts.
The hare Bodhisatta thought that it would go out to eat wire grass. Lay down in its dwelling, the Bodhisatta thought, “I cannot give grass to beggars. I don’t have sesame seeds or rice. If beggars ask for food, I will give the flesh of my body as alms.”
Because of the powerful impact of the Bodhisatta’s vow of selfless sacrifice, the Sakka, Lord of the Heavenly Beings, ’s existence became hot. It is said that the abode of Indra becomes hot only when he is about to die or his merits are exhausted, or when other beings with great power make a wish, or by the power of the precepts of the ascetics and brahmins who are established in the Dhamma.
At that time, the existence of Sakka, Lord of the Heavenly Beings, became hot owing to the Bodhisatta’s aspiration in the precepts. Knowing the cause, the Sakka thought, “I will test the heart of the rabbit king.” So, he went to the otter’s abode. He transformed himself into a Brahmin and stood there.
The otter said, “Brahmin, what do you want?” The Brahmin replied, “May I obtain some food, I will observe the Uposatha and perform the precepts of an ascetic.”
The otter said, “Good, I will give you some food.”
Speaking to the Sakka, the otter uttered the first verse:
“I have seven carp which the hunter caught and buried on top of the sand. Brahmin, please eat the fish and enjoy your stay in the forest.”
The disguised Brahmin said he would receive the fish later and moved on to the fox’s den.
The fox asked, “Venerable sir, why are you standing here? What do you want?”
The disguised Brahmin said, “I want food so that I will have enough energy to do fasting and ascetic practices.”
The fox said, “Very well, I will give you some meat.”
The Lord Sakka then uttered the second stanza:
“These foods- two skewers of roasted meat, one monitor lizard, and a pot of sour milk- belong to that farmer. I will come and get them tonight.”
The fox said, “Venerable sir, I have these foods. Please eat them and do your ascetic practices in the forest.”
The Lord said, “I will come to take them later.” Then, he went to the monkey’s den.
The monkey asked the disguised Brahmin what he wanted. The Brahmin told the monkey that he wanted some food.
The monkey said, “Very well, I will give you some food.” Then, the monkey said the third verse:
“Ripe mangoes, cool water, and cool shade are delightful. Oh, Brahmin, I have these foods. Eat them and practice asceticism in the forest.
Ripe mangoes, cool water, and cool shade are delightful. Brahmin, I have such food. Eat this food and practice asceticism in the forest.
The Brahmin Sakka said, “Let’s leave this aside for now. Then, he went to the dwelling of the Sasa Pundit Bodhisatta.
The Sasa Pundit Bodhisatta said, “What is it that you have come for?”
The disguised Brahmin said, “I need food to live and practice asceticism.”
Upon hearing this, the Bodhisatta felt joyful and delighted. It said, “Brahmin, you have come to my place to seek food. You have done well. Today I will give alms that I have never given. As a virtuous person, you will not kill. Gather some firewood and make a fire. I will sacrifice myself by jumping into the fire. When my body is cooked, you may eat the meat and practice asceticism as you wish.” Then, the Bodhisatta said the fourth verse to the disguised Brahmin:
The rabbit has neither tusks, beans, nor rice. You should eat my flesh to be cooked by this fire and practice the Dhamma in the forest.
Having heard the words of the wise rabbit, the Sakka created a heap of coals with his power and told the Bodhisatta.
The Bodhisatta rose from his bed of wire grass and went to the heap of coals, thinking, “If there are small animals between my fur, they should not die.” Then, it shook its body three times, danced with joy, and jumped into the heap of coal, like a swan king jumping into a lotus pod. But the fire could not heat even a pore of the Bodhisatta. It felt like entering a snowy room.
Then, the Bodhisatta asked the Sakka, “Brahmin, the fire you have made is very chilly. It cannot heat even the pores of my body. What is this?”
The Sakka said, “I am not a Brahmin. I am the Sakka. I have come to test you.”
The Bodhisatta then roared and said, “Oh, Sakka, please stop. If all the worlds test me with alms, how would they see my wish to give alms?”
Then, the Sakka told the Bodhisatta, “Oh, wise man, may your qualities be revealed throughout the whole eon. Then, he pinched the mountain, took the liquid, and drew the shape of a rabbit on the moon. After leaving the Bodhisatta on the soft grass in the bushes of the forest, the Sakka went back to heaven.
Afterward, the four wise animals lived happily in the forest, advocating the precepts and observing the Uposatha.
The Buddha, having delivered this sermon, concluded the Jataka tale.
In the end, the householders who had given all the requisites to the Buddha and the monks attained the Sotapanna stage.
The otter at that time became Ananda.
The fox became Moggallana.
The monkey became Sariputta.
The Sakka became Anuruddha.
The Sasa Pundit hare became me, the Buddha.
This Jataka story is the origin of the hare residing on the moon.
Wishing you progress in the Dhamma practice.
Buddha Isara
——————————————–
Previous article : https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/pfbid02Y3BoCAyvprkBnv7Exc41nSShfcEg7wHjnooM1gwFDrWFfkgYAkJ8JrpFxvMUc1cel