ปลาทองปากเหม็น (ตอนที่ ๒)

0
64
เมื่อปลาทองทูลตอบคำถามต่อองค์พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็บังเกิดกลิ่นเหมือนซากศพออกจากปากของปลาสีทอง ตลบอบอวลไปทั่วทั้งเชตะวัน
พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทูลถามองค์พระผู้มีพระภาคเจ้าขึ้นว่า ข้าแต่พระองค์พระผู้มีพระภาคเจ้า เหตุไฉนไยเล่า ปลาทองที่มีสีสันสวยสดงดงามถึงได้มีกลิ่นปากเหม็นเน่าดังซากอสุภะเช่นนี้พระพุทธเจ้าข้า
องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงยกปลาทองปากเหม็นให้เป็นเหตุแล้วทรงตรัสพระเทศนาความว่า ปลาทองปากเหม็นตัวนี้ในอดีตเป็นภิกษุนามว่า กปิละภิกษุ บวชอยู่ในพระศาสนาของพระบรมศาสดา ทรงพระนามว่า กัสสป
เมื่อทรงเข้านิพพานแล้ว ได้มีชายหนุ่มสองคนพี่น้องมีจิตศรัทธาเลื่อมใส เข้ามาบวชปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระมหากัสสปศาสดา อย่างเคร่งครัดลุถึง ๕ พรรษา ภิกษุทั้งสองพี่น้อง คือ พระโสธนะ ผู้พี่ กปิละ ผู้น้อง ได้พากันเข้าไปกราบพระอุปัชฌาย์เพื่อสอบถามว่า ท่านขอรับ กิจอันใดที่ลูกศิษย์พึงกระทำการอุปัฏฐาก แก่พระอุปัชฌาย์ พวกข้าพเจ้าทั้งสองก็ได้กระทำจนครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ยังเหลือแต่กิจในพระศาสนาที่พวกข้าพเจ้าทั้งสองยังมิได้กระทำ
ข้าแต่ท่านอาจารย์ พระธรรมวินัยนี้มีธุระอันใดที่พวกข้าพเจ้ามิได้กระทำอยู่หรือไม่หนอ
พระอุปัชฌาย์จึงแจ้งแก่ภิกษุทั้งสองไปว่า ธุระในพระธรรมวินัยนี้มีสองอย่างคือ คันถธุระ อันได้แก่การศึกษาเล่าเรียน ท่องบ่น ท่องจำ หลักพระธรรมวินัยจนเชียวชาญชำนาญ เช่นนี้เรียกว่า พหูสูต คือ ผู้ทรงจำได้มาก
ธุระที่สองคือ วิปัสสนาธุระ อันได้แก่ การประพฤติปฏิบัติกาย วาจา ใจ ให้ตั้งมั่นอยู่ในความสงบกาย สงบวาจา สงบใจ พร้อมทั้งมีสติปัญญาพิจารณาในหลักของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนจิตหลุดพ้นจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง เช่นนี้เรียกว่า ผู้เจริญวิปัสสนา
ขณะที่ภิกษุทั้งสองพี่น้องได้ฟังการอธิบายธุระที่ภิกษุพึงกระทำ พระโสธนะผู้พี่จึงได้ใคร่ครวญเห็นภัยในสังขารว่า ตนอายุมาก เริ่มแก่ชรา ร่างกาย พลังวังชา ก็เริ่มจะถดถอย หากจะเลือกศึกษาคันถธุระ เห็นว่าจะเสียโอกาส เสียเวลา อาจจะตายวันตายพรุ่งเสียเมื่อไหร่ก็ได้ เช่นนี้เรามิควรตั้งตนอยู่ในความประมาท
พระโสธนะคิดได้ดังนั้นแล้ว จึงขอเรียนวิปัสสนาธุระจากพระอุปัชฌาย์
ส่วนพระกปิละผู้น้องเห็นว่า ตนยังหนุ่มยังแน่น ควรจะหมั่นท่องบ่น ท่องจำพระธรรมวินัยให้คล่องแคล่ว เชี่ยวชาญ ชำนาญก่อน
เอาไว้วันข้างหน้าหากเราอายุมากขึ้น ค่อยไปเรียนวิปัสสนาธุระ
กปิละผู้น้องจึงแยกตัวออกไปยังสำนักเรียน โดยใช้เวลาไม่นานนัก กปิละภิกษุผู้น้องก็เรียนจบวิชาชั้นสูงทั้งหลักธรรม หลักวินัย ทั้งยังทรงจำได้แม่นยำ คล่องแคล่ว ถึงขนาดได้รับขนานนามให้เป็น พหูสูต ผู้รอบรู้
เมื่อมีผู้คนทั้งพระ เณร ชี ฆราวาส สรรเสริญยกย่องมากมายเห็นปานนี้ ลาภสักการะก็ได้เพิ่มพูน ทวีคูณตามมาด้วย
เมื่อลาภ ยศ บริวาร บังเกิดขึ้นแก่มหากปิละภิกษุ
มหากปิละก็ยิ่งทะนง เย่อหยิ่ง จองหอง อวดดี (ตามวิถีของผู้มีตัวกูใหญ่)
กาลต่อๆ มา มหากปิละ หลงติดในลาภ ยศ สรรเสริญ เหิมเกริมมากขึ้น ถึงขนาดกล่าววาจาทุพภาษิต คือชี้ถูกให้เป็นผิด ชี้ดำให้เป็นขาว พระภิกษุผู้มีศีลสังวรเมื่อได้รู้ได้เห็นเช่นนั้น ก็ช่วยกันตักเตือนให้มหากปิละเลิกพฤติกรรมทุจริตดังกล่าวนั้นเสีย
แต่มหากปิละกลับไม่ยอมเชื่อฟัง ขณะนั้นพระโสธนะภิกษุผู้พี่ ที่เรียนกรรมฐานแล้วหลีกหนีไปอยู่ป่า จนบรรลุพระอรหันต์ พร้อมปฏิสัมภิทาญาณ ได้เล็งทิพยเนตรเห็นความวิปริตผิดธรรม ผิดวินัยของมหากปิละผู้น้อง
พระโสธนะจึงได้สู้อุตสาห์ออกจากป่า มาสู่อาวาสเพื่อพูดจาตักเตือนให้สติ แก่มหากปิละผู้น้องชาย…

โปรดติดตามตอนต่อไปนะจ๊ะ

พุทธะอิสระ
๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔
***************************************************
ที่มาของปลาทอง ปากเหม็น (ตอนที่๑)
————————————————–
The golden fish with bad breath (Part II)
May 4, 2021
That fish answered question of Lord Buddha, its mouth stank like corpse all over the temple.
Consequently, King Pasentikosol asked Lord Buddha, “Lord Buddha, why such a beautiful golden fish has such a bad breath, sir?”
Therefore, Lord Buddha told the story that that fish in its past life was a priest named Kapila who was ordained as monk in the era of former Buddha named Kassapa.
After Buddha Kasssapa’s nivarna, there were two faithful brothers ordained to strictly practice monastic rules of the Buddha Kassapa for five years. The elderly brother monk was Phra Sothana and the younger brother monk was Phra Kapila. They went to see their Preceptor (a senior respected monk who is a Preceptor would be invited to perform the ordination) and said that they completed all appropriate deeds for their Preceptor. They asked their Preceptor whether were there any other monastic duty that they had not yet achieved.
Therefore, the Preceptor told them of two monastic duties. First duty is to study, memorize code of monastic rules until one specializes. This is called a scholar or someone who remembers a lot of information.
Second duty is to practice one’s action, speech, and mind in peace as well as wisdom. One must consider the three characteristics of existence: impermanence, incompleteness, and non-self, till one’s mind is freed from all attachments. This is called a person who prospers in vipassana meditation or contemplation.
While the two monks were listening to their Preceptor’s explanation of monk duties, the elderly monk, Phra Sothana, carefully thought about peril in his own age, that he was quite old then. He started to get old. His energy and strength started to fall. If he chose to study code of monastic rules, it could be a waste of opportunity and time. He could possibly die on any next coming days. So, he thought that he could not be that careless.
So, Phra Sothana monk requested to learn practicing vipassana meditation from his Preceptor.
The younger Phra Kapila monk thought that he was still young, and he should first study and memorize code of monastic rules until he was fluent. In the future, when he got older, he will then practice vipassana meditation.
So, the younger Kapila monk separated from his elder brother to study code of monastic rules. Just a while, he could complete the study of Dhamma principles and monastic rules. He could precisely and fluently remember a lot of knowledge. So, he was regarded as a well-versed scholar.
Since a lot of people including monks, novices, nuns, and laymen admired him so much, lots of fortune kept increasing.
When fortune, rank, and followers happened to the scholar Kapila monk, he became more arrogant and prouder of himself (as someone with big ego).
Later, the scholar Kapila monk was more and more attached to fortune, rank, and praises. He even said false speech. Namely, he indicated the right thing to be wrong, and black to white. Monks of virtues witnessed his behaviors and warned him to give up such misconduct.
However, the scholar Kapila monk did not obey. At that time, the elder monk, Phra Sothana, practiced vipassana meditation in the woods until he became enlightened as an Arhat with analytic insights and discriminating knowledge. Via his divine eyes, he saw misconduct of his younger brother, Kapila monk.
So, Phra Sothana monk came out of the woods to warn and remind his younger brother, the scholar Kapila monk.
To be continued.
Buddha Isara
***************************************************
Origin of the golden fish with bad breath (Part I)