มีเป็นร้อยเหตุผล ที่คนไทยรักสถาบันพระมหากษัตริย์ (ตอนที่ ๗)

0
46
ตอนที่แล้วจบลงตรงที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๕ ทรงใช้กุศโลบายทางการทูต ถ่วงเวลาการยื่นคำขาดของฝรั่งเศสออกไปอีก ด้วยการเจรจาถามหาหลักฐานการครอบครองว่า ดินแดนฝั่งลาวของฝรั่งเศส มีมาตั้งแต่สมัยใด มีอะไรเป็นหลักฐาน
สุดท้ายเมื่อฝรั่งเศสตอบไม่ได้ ก็พาลสั่งปิดสถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศสยาม พร้อมทั้งสั่งระดมกองเรือรบมาจากอ่าวเวียดนาม มายึดเกาะสีชังของสยามเอาไว้เป็นฐานทัพชั่วคราว
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพยายามประวิงเวลาฝรั่งเศสเอาไว้จนถึงที่สุด เวลาล่วงเลยไปถึง ๒ เดือน ด้วยทรงมุ่งหวังว่าประเทศอังกฤษ ที่มีสัมพันธ์อันดีมาแต่ก่อน จะยอมช่วยผ่อนคลายวิกฤตครั้งนี้ให้ได้
และเมื่อทรงเห็นว่า อังกฤษวางเฉยต่อเรื่องของสยาม ทรงเห็นว่า ไม่มีทางออกอื่นใดแล้ว ที่จะรักษาผืนแผ่นดิน และเอกราชสยามเอาไว้ได้
จะมีก็แต่คอยผ่อนหนักให้เป็นเบา หากจะต้องเสียก็ต้องเสียให้น้อยที่สุด จึงทรงยินยอมลงพระนามในหนังสือสัญญาสงบศึกกับฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๖
โดยสยามจำเป็นต้องยินยอมสละกรรมสิทธิ์ทั้งหมด ที่มีในดินแดนของลาว และบรรดาเกาะแก่งต่างๆ ในลำน้ำโขง ทั้งยังต้องเสียเงินค่าปรับ ค่าแพ้สงครามให้กับฝรั่งเศสเป็นเงิน ๓ ล้านฟรังก์ ซึ่งในท้องพระคลังไม่มีเงินสกุลฝรั่งเศสมากมายขนาดนั้น
หลังจากทรงลงพระนามในหนังสือสงบศึกแล้ว ทรงปริวิตกยิ่งนัก ทรงเสียพระทัยจนถึงขนาดน้ำพระเนตรไหล ทั้งด้วยความอัดอั้นคับแค้นพระราชหฤทัย ที่สยามต้องตกเป็นเบี้ยล่างของฝรั่งต่างด้าว ท้าวต่างแดนอย่างไม่เป็นธรรม
ทั้งยังทรงครุ่นคิดหนักพระทัย ถึงขนาดไม่ยอมเสวยพระกระยาหารอยู่หลายวัน จนทรงพระประชวรหนัก แต่ไม่ทรงเสวยพระโอสถใดๆ ตามที่แพทย์หลวงจัดถวาย
ทรงทอดอาลัยถึงขั้นทรงพระราชนิพนธ์โคลงสี่สุภาพ และอินทรวิเชียรฉันท์ เพื่อลาพระญาติพี่น้องที่ใกล้ชิดสนิทกันไว้ว่า
เจ็บนานหนักอกผู้ บริรักษ์ ปวงเฮย
คิดใคร่ลาลาญหัก ปลดเปลื้อง
ความเหนื่อยแห่งสูจัก พลันสร่าง
ตูจักสู่ภพเบื้อง หน้านั้นพลันเขษม
พร้อมทั้งทรงประพันธ์อินทรวิเชียรฉันท์ ระบายความทุกข์อัดอั้นที่มีอยู่ในพระหฤทัย ให้แก่พระญาติใกล้ชิดได้รับรู้ ความว่า
เจ็บนานนึกหน่ายนิตย์ มะนะเรื่องบำรุงกาย
ส่วนจิตต์มิสบาย ศิระกลุ้มอุราตรึง
แม้หายก็พลันยาก จะลำบากฤทัยพึง
ตริแต่จะถูกรึง อุระรัดและอัตรา
กลัวเป็นทวิราช บตริป้องอยุธยา
เสียเมืองจึงนินทา บละเว้นฤว่างวาย
คิดใดจะเกี่ยงแก้ ก็บพบซึ่งเงื่อนสาย
สบหน้ามนุษย์อาย จึงจะอุดและเลยสูญ ฯ
ทรงประพันธ์คำฉันท์ถวายแก่พระประยูรญาติ ว่าอยากจะขอลาสู่สวรรคต ด้วยทรงเกรงว่า วิกฤตการณ์ครั้งนี้ อาจทำให้สยามต้องเสียแผ่นดินเหมือนเมื่อสมัยทวิราช คือกษัตริย์สองพระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ พระเจ้าอุทุมพร และ พระเจ้าเอกทัศ
โปรดติดตามตอนต่อไป…
พุทธะอิสระ
๑๐ มกราคม ๒๕๖๔
————————————————–
หนึ่งในหลายร้อยเหตุผล ที่คนไทยรักสถาบันพระมหากษัตริย์ (ตอนที่ ๑)
หนึ่งในหลายร้อยเหตุผล ที่คนไทยรักสถาบันพระมหากษัตริย์ (ตอนที่ ๒)
มีหลายร้อยเหตุผล ที่คนไทยจะรักสถาบันพระมหากษัตริย์ (ตอนที่ ๓)
มีหลายร้อยเหตุผล ที่คนไทยรักสถาบันพระมหากษัตริย์ (ตอนที่ ๔)
มีหลายร้อยเหตุผล ที่คนไทยรักสถาบันพระมหากษัตริย์ (ตอนที่ ๕)
มีหลายร้อยเหตุผล ที่คนไทยรักสถาบันพระมหากษัตริย์ (ตอนที่ ๖)
————————————————–
There are hundreds of reasons why Thais adore the monarchy (chapter 7)
January 10, 2021
The previous chapter ended when King Chulalonkorn (King Rama V) used diplomacy to postpone the deadline of the French ultimatum by asking in which era France had ownership over Laos and whether France had any evidence.
Finally, France could not answer and ordered a closure of the French Embassy in Siam. France also called for a naval force from Vietnam and seized the Sichang Island of Siam and made it a temporary military base.
The King tried to put off France as longest as possible. Two months passed by. The King hoped that the United Kingdom with which Siam had a good relationship, would be willing to help ease the crisis.
When the King saw that the United Kingdom took up an indifferent stance towards the issue, he did not see any way else to preserve Siamese land and independence.
What he could do was to minimize the loss. If Siam had to lose, it must lose the least. Consequently, the King was willing to sign the Franco-Siamese Treaty to end war on October 3, 1893.
Siam had to give up its right over Laotian territory and islands along the Mae Kong River and pay three million French francs indemnity. At that time, the treasury of Siam did not have that much of French currency.
After the King had signed on the Treaty, he felt so worried and depressed that he cried with grief that Siam had to unfairly succumb to the Westerners.
The King kept pondering. It was so heavy on his heart that he could not eat anything for days and fell very ill. However, the King did not take any medicine provided by the royal doctor.
The King was in despair that he composed a quatrain and poem as farewell to the royal family and relatives.
The King also composed a poem to express miseries in his mind to his close relatives.
The King composed a poem and said that he wanted to bid farewell to all relatives and die. The King was afraid that Siam would lose its independence the same way it had lost earlier during the reign of two Kings (King Uthumphon and King Ekkathat), the last two kings of the Ayutthaya period.
To be continued…
Buddha Isara
————————————————–
One of hundred reasons why Thais adore the monarchy (chapter 1)
One of hundred reasons why Thais adore the monarchy (chapter 2)
There are hundreds of reasons why Thais adore the monarchy (chapter 3)
There are hundreds of reasons why Thais adore the monarchy (chapter 4)
There are hundreds of reasons why Thais adore the monarchy (chapter 5)
There are hundreds of reasons why Thais adore the monarchy (chapter 6)