พระโพธิสัตว์เกิดเป็นกระบือ (มหิสชาดก)

0
4

พระโพธิสัตว์เกิดเป็นกระบือ
๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘

มหิสชาดก

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภลิงโลเลตัวหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า กิมตฺถมภิสนฺธาย ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี มีลิงโลเลที่เขาเลี้ยงไว้ตัวหนึ่ง ในตระกูลหนึ่ง ได้ไปยังโรงช้าง นั่งบนหลังช้างผู้มีศีลตัวหนึ่งถ่ายอุจจาระปัสสาวะ และเดินไปเดินมาบนหลัง. ช้างก็ไม่ทำอะไรเพราะตนมีศีล ถึงพร้อมด้วยความอดทน. ครั้นวันหนึ่ง ลูกช้างดุตัวหนึ่งได้ยืนอยู่ในที่ของช้างเชือกนั้น ลิงได้ขึ้นหลังช้างดุด้วยสำคัญว่า ช้างนี้ก็คือช้างนั้นนั่นแหละ ลำดับนั้น ลูกช้างดุนั้นเอางวงจับลิงนั้นไว้ด้วยความรวดเร็วแล้วฟาดลงที่พื้นดิน เอาเท้าเหยียบขยี้ให้แหลกลานไป ประพฤติเหตุนั้นได้ปรากฏแก่หมู่ภิกษุสงฆ์.

ครั้นวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่า ลิงโลเลขึ้นหลังช้างดุ ด้วยสำคัญว่าเป็นช้างผู้มีศีล เมื่อเป็นเช่นนั้น ช้างดุเชือกนั้นก็ทำให้ลิงโลเลตัวนั้นถึงความสิ้นชีวิต.

พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้นที่ลิงโลเลตัวนั้นเป็นผู้มีปกติเป็นอย่างนั้น ตั้งแต่โบราณกาลมาแล้วก็มีปกติเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดกระบืออยู่ในหิมวันตประเทศ พอเจริญวัยก็สมบูรณ์ด้วยกำลังแรง มีร่างกายใหญ่ ท่องเที่ยวไปตามเชิงเขา เงื้อมเขา ซอกเขาและป่าทึบ เห็นโคนไม้อันผาสุกสำราญแห่งหนึ่ง เที่ยวหากินอิ่มแล้ว ในตอนกลางวันได้มายืนพักอยู่ที่โคนไม้นั้น.

ครั้งนั้น มีลิงโลนตัวหนึ่งลงจากต้นไม้ แล้วขึ้นบนหลังของกระบือนั้น ถ่ายอุจจาระปัสสาวะรด จับเขาทั้งสองโหนจับหางแกว่งไปแกว่งมาเล่น. พระโพธิสัตว์มิได้ใส่ใจอนาจารนั้นของลิงโลนตัวนั้น เพราะประกอบด้วยขันติ เมตตาและความเอ็นดู ลิงกระทำอย่างนั้นนั่นแลบ่อยๆ.

ต่อมาวันหนึ่ง เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้นั้นยืนอยู่ที่ลำต้นของต้นไม้นั้น กล่าวกะกระบือโพธิสัตว์นั้นว่า ดูก่อนพระยากระบือ เพราะเหตุไร ท่านจึงอดกลั้นการดูหมิ่นของลิงชั่วตัวนี้ทำไม ท่านไม่จงเกลียดมันเสีย

เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น จึงได้กล่าว ๒ คาถาแรกว่า :-

ท่านอาศัยเหตุอะไร จึงอดกลั้นทุกข์ที่เกิดจากลิงนี้ที่ผู้มีจิตกลับกลอก มักประทุษร้ายท่าน ประหนึ่งว่ามันเป็นเจ้าของชีวิตท่านเป็นผู้ให้ความอนุเคราะห์แก่ท่านมายาวนาน
ท่านจงขวิดมันด้วยเขา จงเหยียบเสียด้วยเท้า ถ้าไม่ห้ามปรามมันเสีย สัตว์ทั้งหลายที่โง่เขลาก็จะเบียดเบียนร่ำไป.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า ท่านรุกขเทวดา ประโยชน์อันใดทั้งที่เราเป็นผู้ยิ่งกว่าลิงตัวนี้ โดยชาติ โคตร และวัสสายุกาลเป็นต้น เราจึงไม่จำเป็นต้องอดกลั้นกล่าวโทษแก่ลิงตัวนี้ หากเรามัวแต่ผูกโกรธแก่ลิงพาลตัวนี้ มันจักทำให้มโนรถความปรารถนาของเราจักถึงความสำเร็จได้อย่างไร ก็เจ้าลิงตัวนี้วันใดหากมันสำคัญว่าผู้อื่นจะใจดีเหมือนดังเรา แล้วไปกระทำเกเรย่ำยีอย่างนี้แก่กระบือดุร้ายเหล่าใด กระบือดุร้ายเหล่านั้นแหละจักฆ่ามันเสีย การที่กระบือตัวอื่นฆ่าลิงตัวนี้นั้นก็มิได้เกี่ยวข้องกับเรา เราก็จักพ้นจากทุกข์ที่มันก่อแก่เราและเราก็มิต้องไปทำปาณาติบาต แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

วันใดเมื่อลิงตัวนี้คิดว่ากระบือตัวอื่นเป็นเหมือนเรา จักกระทำตัวเกเรย่ำยีอย่างนี้แก่กระบือตัวอื่น กระบือเหล่านั้นจักฆ่าลิงพาลตัวนี้เสียในที่นั้น เมื่อนั้นความหลุดพ้นจักมีแก่เรา

ก็ต่อเมื่อล่วงไป ๒-๓ วัน พระโพธิสัตว์ได้ไปอยู่ในที่อื่น กระบือดุตัวหนึ่งได้มายืนอยู่ที่โคนไม้ต้นนั้น ลิงชั่วจึงขึ้นหลังกระบือดุตัวนั้นด้วยสำคัญว่า กระบือตัวนี้ก็คือกระบือผู้ทรงศีลตัวนั้นแหละ แล้วกระทำอนาจารอย่างนั้นนั่นแหละ. ลำดับนั้น กระบือดุตัวนั้นสลัดลิงนั้นให้ตกลงบนพื้นดิน เอาเขาขวิดที่หัวใจเอาเท้าทั้ง ๔ เหยียบให้ละเอียดเป็นจุรณวิจุรณ.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดกว่า

กระบือดุร้ายในครั้งนั้น ได้เป็น ช้างดุร้ายตัวนี้ในบัดนี้
ลิงชั่วช้าในครั้งนั้น ได้เป็น ลิงตัวนี้ ในบัดนี้
ส่วนพระยากระบือในครั้งนั้น คือ เราตถาคต ฉะนี้แล.

พระชาดกเรื่องสอนให้เรารู้ว่า หากเรามีดี และเป็นผู้ดี ที่มีอยู่ในจิตใจ ก็ไม่จำเป็นต้องไปลดตัวลงคลุกคลี ต่อยตี กับคนพาล

พุทธะอิสระ

——————————————–

อ่านย้อนหลัง : https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/pfbid0E9oYaRrQsY9LZQtusvFgWQYYfU5dmRqLLdtLExaUQ3v83b2pwNFVbFsTnfxPSnV9l

——————————————–

The Bodhisatta was born as a buffalo.
February 22, 2025

Mahisa Jataka

While staying at the Jetavana monastery, the Buddha mentioned an impertinent monkey and told this story, starting with the words, “Kimattambhisandhaya”.

In Savatthi City, a family raised an impertinent monkey. The monkey went to the elephant’s stable and sat on the back of a virtuous elephant. It defecated, urinated, and walked back and forth on the elephant’s back. The elephant, both virtuous and patient, did nothing. One day, a fierce young elephant stood in the place of that elephant. The monkey got on the back of the fierce elephant, thinking that this elephant was the same. Then, the fierce elephant quickly grabbed the monkey with its trunk and slammed it on the ground, then stepped on it and crushed it with its feet. This behavior became known to the monks’ assembly.

One day, the monks were discussing this story in the Dhamma hall. “Venerable monks, have you heard how the impertinent monkey mistook a fierce elephant for a good one, climbed on that fierce elephant’s back, and lost its life?”

The Buddha arrived and asked, “Monks, what are you talking about?” Then, the monks told the Buddha about the story. The Buddha said, “Monks, it is not just now that the ill-mannered monkey is like that. Since ancient times, it behaved so.” Then, the Buddha related a story from the past as follows:

In the past, when King Brahmadatta was reigning in Benares City, the Bodhisatta was born as a buffalo in the Himalayas. It grew up strong and big. It wandered along the hillsides, cliffs, crevices, and dense forests. It ate and became full. Seeing a pleasant tree, it stood and rested under that tree.

Then, an impertinent monkey came down from the tree, got on the buffalo’s back, defecated and urinated, took hold of one of the buffalo’s horns, and swung down from it by the buffalo’s tail. With full of patience, kindness, and mercy, the Bodhisatta did not care about the monkey’s indecent behavior. The monkey did it again and again.

One day, the deity living in that tree stood at that tree’s trunk and addressed the buffalo Bodhisatta, O, buffalo king, why do you tolerate the insults of this evil monkey? Why don’t you hate it?

The deity uttered the following two messages:
“On what grounds do you tolerate the suffering caused by this monkey, whose mind is twisted and always harms you, as if it were the owner of your life and had been your benefactor for a long time?

You should gore it with your horns and trample it with your feet. If you do not restrain it, the foolish beings will continue to oppress you.”

Hearing this, the Bodhisatta said: “Oh, tree deity, what is the point? Being superior to this monkey by birth, lineage, and age, I need not tolerate and blame this monkey.

If I keep holding a grudge against this wicked monkey, how can I cultivate meritorious perfections and attain enlightenment to become a Buddha?

If this monkey thinks others are as kind as I am, and acts naughtily and torments any fierce buffalo, those fierce buffaloes will kill it. If other buffaloes kill this monkey, it has nothing to do with me. I will be free from the suffering it has caused and I will not have to commit murder. Then, the buffalo Bodhisatta recited the third verse:

Thinking that other buffaloes are like me, this monkey will act naughtily and torment other buffaloes, those buffaloes will kill this evil monkey right there. At that time, I shall be free.

A few days later, the Bodhisatta went elsewhere. A fierce buffalo came and stood at the foot of that tree. The evil monkey got on the back of the fierce buffalo. The monkey thought that this buffalo was the same and did as before. The fierce buffalo threw the monkey down to the ground, drove its horn into the monkey’s heart, and trampled the monkey to mincemeat under its hoofs.

The Buddha, having delivered this sermon, concluded the Jataka story:

The fierce buffalo at that time has now become this fierce elephant.
The evil monkey at that time has now become this monkey.
As for the buffalo king at that time has become me, the Buddha.

This Jataka story teaches us that if we have good hearts and are good people, there is no need to lower ourselves to neither mingle with nor fight against evil people.

Buddha Isara

——————————————–

Previous article : https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/pfbid0E9oYaRrQsY9LZQtusvFgWQYYfU5dmRqLLdtLExaUQ3v83b2pwNFVbFsTnfxPSnV9l