Facebook : พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ
ไม่มีปัญหาเลยนะโยมสุวิทย์ ให้มหาเถรสมาคมออกมติมาเลยว่า นิตยภัต (เงินเดือน) ตั้งแต่ระดับพระสังฆราชลงมาถึงผู้ช่วยเจ้าอาวาสนั้นขัดพระธรรมวินัย ให้ยกเลิกถวายเสีย และนับตั้งแต่นี้ไป ห้ามมิให้พระเณรรับธนบัตร (รวมไปถึงใบปวารณา ที่มักแอบไปขึ้นเงินกันทีหลัง) อีก
อนึ่ง ในสมัยที่โยมสุวิทย์เป็นพระ กล้าพูดด้วยคำสัตย์ไหมว่าไม่เคยรับปัจจัยเงินทองเลยแม้แต่แดงเดียว ไม่ว่าจะเพื่อตัวเองหรือเพื่อคนอื่น
จะเล่นลิ้นเล่นคำ อาตมาไม่มีปัญหานะ แต่ช่วยส่องกระจกดูตัวเองด้วย จะดีมาก #ขายขำเก่งนะเรา
***************************************************
อ้าวไหงงั้นล่ะท่านมหา ทีตอนมหาเถรมีคำสั่ง ห้ามมหายุ่งเกี่ยวกับการเมือง มหายังออกมาโวยวายใส่มหาเถรอยู่เลย แต่พอมีคนท้วงเรื่องมหาสะสมเงินทอง มหากลับให้ไปถามมหาเถร
เมื่อ พุทธะอิสระ ถามเรื่อง อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ในสิกขาบทที่ว่าภิกษุเดียรถีย์ให้รับก็ดีซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้เพื่อตน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์
วินัยปิฏกเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ ไม่ใช่มหาเถรบัญญัติ ทำไมต้องให้มหาเถรออกเป็นมติ หรือมหาเถรไม่ได้เรียนรู้วินัย
โทษทางวินัยมันเกิดขึ้นเฉพาะตน ไม่ใช่ไปแถกแถโยนขี้ให้มหาเถร
หรือนี่คือสันดานดั้งเดิมของมหา เมื่อมีผู้จับผิดได้ ก็จะแถกแถ โวยวาย ไปว่าให้ไปจับผิดผู้นั้นผู้นี้ก่อน
แล้วที่แถกแถว่า พุทธะอิสระ ตอนบวชกล้าพูดด้วยคำสัตย์ไหมว่าไม่เคยรับปัจจัยเงินทองเลย แม้แต่แดงเดียว
พุทธะอิสระ ยอมรับว่า เคยรับปัจจัยผ่านมือมาเป็นพันๆ ล้าน แต่ไม่เคยยินดี หรือเก็บเอาไว้เพื่อตน ทุกบาททุกสตางค์ มีแต่ส่งให้วัดและมูลนิธิ ไม่ได้มีสันดานมักมากอยากได้
แม้ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นพระสังฆาธิการ ก็มิได้เคยเปิดบัญชีธนาคารรับเงินนิตยภัต จากภาครัฐ ไม่เคยรู้ด้วยว่า ตำแหน่งเจ้าอาวาสเขารับเงินเดือนละเท่าไร
ไม่เคยรู้เลยว่า ตนเป็นเจ้าคณะตำบล จะต้องรับนิตยภัตเดือนละเท่าไร เพราะไม่เคยไปเปิดบัญชีธนาคารใดๆ เพื่อสะสมเงิน และไม่เคยมีชื่ออยู่ในสมุดบัญชีธนาคารเล่มใด ตั้งแต่บวชเข้ามา เพราะไม่ชอบเป็นภิกษุสันดานกา
และขอแนะนำให้มหาไปหาศึกษาอ่านมูลบัญญัติ โกสิยวรรค นิสสัคคิยปาจิตตีย์กันดูเสียใหม่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติพระวินัยสิกขาบทนี้เพื่อวัตถุประสงค์อะไร
เหตุผลในการบัญญัติพระวินัย ก็คือการ อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ ดังนี้
๑. เพื่อความดีแห่งหมู่
๒. เพื่อความสำราญ (ไม่เดือดร้อน) แห่งหมู่
๓. เพื่อกำจัดบุคคลเก้อยาก (หน้าด้าน, ไม่ละอาย)
๔. เพื่อความอยู่เย็นผาสุกแห่งผู้มีศีลเป็นที่รัก
๕. เพื่อระวังอาสวะในปัจจุบัน
๖. เพื่อระวังอาสวะที่จะมีต่อไปวันข้างหน้า
๗. เพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเจริญยิ่งๆ ของผู้เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม (ธรรมอันดี)
๑๐. เพื่อถือตามพระวินัย
ไม่ใช่ตนเองผิด แต่แถกแถไปว่าให้ผู้อื่นเลิกทำผิดเสียก่อน
นี่มันนักบวชพันธุ์ไหนกันเนี่ย
และในโกสิยวรรค นิสสัคคิยปาจิตตีย์ สิกขาบทที่ ๘ ท่านบัญญัติเอาไว้ชัดว่า “ยินดีในเงินทอง และเก็บไว้หรือให้ผู้อื่นเก็บไว้เพื่อตน” ไม่ใช่ความหมายที่ท่านมหาพยายามบิดเบือน ไม่เช่นนั้นหากพระพุทธเจ้าทรงห้ามไม่ให้รับเลย จะมีบทบัญญัติให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ภัณฑาคาริก มาไว้ดูแลคลังสงฆ์ทำไม
คนเรียนวินัย แต่มิเคยนำมาปฏิบัติ แม้จะเป็นตัวมหา ก็คงจะไม่เข้าใจดอกว่า การทำหน้าที่บริหารวัด บริหารคนในวัด พระพุทธเจ้าทรงมีพระพุทธานุญาตเป็นกรณีนี้ไว้อย่างไร
ภิกษุผู้ทำหน้าที่ภัณฑาคาริก จะต้องมีคุณสมบัติ ๕ อย่าง คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง
๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักจีวรที่เก็บไว้และจีวรที่ยังมิได้เก็บไว้
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร เป็นกุลุปกะของสกุลหนึ่ง รับภัตตาหารอยู่เป็นประจำ ของเคี้ยวของฉันอันใดที่เกิดขึ้นในสกุลนั้น เขาย่อมแบ่งส่วนไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร
เย็นวันหนึ่งในสกุลนั้นมีเนื้อเกิดขึ้น เขาจึงแบ่งส่วนเนื้อนั้นไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร เด็กของสกุลนั้นตื่นขึ้นในเวลาเช้ามืด ร้องอ้อนวอนว่า จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า บุรุษสามีจึงสั่งภรรยาว่า จงให้ส่วนของพระแก่เด็ก เราจักซื้อของอื่นถวายท่าน
ครั้นแล้วเวลาเช้า ท่านอุปนันทศากยบุตร นุ่งอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่สกุลนั้น แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย
ทันใด บุรุษนั้นเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร กราบแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบเรียนว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อเย็นวานนี้มีเนื้อเกิดขึ้น ผมได้เก็บไว้ถวายพระคุณเจ้าส่วนหนึ่ง
จากนั้น เด็กคนนี้ตื่นขึ้นแต่เช้ามืด ร้องอ้อนวอนว่า จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า ผมจึงได้ให้เนื้อส่วนของพระคุณเจ้าแก่เด็ก พระคุณเจ้าจะให้ผมจัดหาอะไรมาถวายด้วยทรัพย์กหาปณะหนึ่ง ขอรับ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถามว่า เธอบริจาคทรัพย์กหาปณะหนึ่งแก่เรา แล้วหรือ?
บุ. ขอรับ ผมบริจาคแล้ว
อุ. เธอจงให้กหาปณะนั้นแหละแก่เรา
บุรุษนั้นได้ถวายกหาปณะแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรในทันใดนั้นเอง แล้วเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ รับรูปิยะเหมือนพวกเรา
ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินบุรุษนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงได้รับรูปิยะเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่าเธอรับรูปิยะจริงหรือ?
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้รับรูปิยะเล่า? การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาค ทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุมีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้
พระบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใดรับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงินอันเขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์
ส่วนที่มหาพยายามนำรูปที่ พุทธะอิสระ รับเงินจากผู้จัดการโรงแรมเอสซีปาร์ค มาด้อยค่า พุทธะอิสระ นั้น
มันแสดงถึงกมลสันดานและวิธีคิดของผู้มีแค่ผ้าเหลืองคลุมกาย แต่จิตใจไม่ต่างอะไรกับชาวบ้าน
เมื่ออยากรู้ว่า พุทธะอิสระ ทำไมต้องไปยืนนับเงินอยู่หน้าโรงแรมเอสซีปาร์ค
หากไม่รู้ก็จักบอกให้ จะได้ไม่ต้องขึ้นศาลไปรับฟังความจริง
ที่โรงแรมเอสซีปาร์ค พุทธะอิสระ ไปใช้สิทธิ์แทนแกนนำผู้จ่ายเงินจองโรงแรมให้แก่แกนนำชาวนา ที่จะเข้าไปพักเพื่อรอพบรัฐมนตรีของนายกปู ที่หนีคดีจำนำข้าวมาอยู่ในโรงแรมแห่งนี้ (ตามข่าว)
แต่พอแกนนำจะเข้าไปใช้ห้องพักและห้องประชุม เจ้าหน้าที่โรงแรมกลับไม่อนุญาตให้เข้าไปใช้ตามสิทธิ์ที่จอง ทั้งที่จ่ายเงินจองไปแล้ว ซึ่งตามกฎหมายแพ่ง ถือว่าการทำสัญญาเช่าสำเร็จแล้ว
และเงินที่ได้มา ก็มิได้นำมาเพื่อตน เอาไปบริจาคให้ธนาคารสหกรณ์เพื่อการเกษตร เพื่อสมทบทุนจ่ายเงินค่าข้าวให้ชาวนา ทุกบาท ทุกสตางค์
หากคิดจะเป็นภิกษุสันดานกา หารูปภาพมาบูลลี่ พุทธะอิสระ ก็ควรจะหาข้อมูลให้ชัดเจนก่อนนะมหา ไม่เช่นนั้นอาจต้องไปพบกันที่ศาล
บอกแล้วว่า มหาเป็นผู้โชคดี ที่ได้สิทธิ์ล็อคเป้าของ พุทธะอิสระ ขอรับ
พุทธะอิสระ
๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔
————————————————–
Is this rhetoric of “Maha” (a way to call a scholar monk)?
May 6, 2021
***************************************************
Facebook : Phra Maha Praiwan Worawano
No problem, Mr. Suwit. Please have the Sangha Supreme Council of Thailand issue a resolution that monthly food allowance of monks, ranging from the Supreme Patriach to Assistant Abbot violates the code of monastic rules. From now on, it will be prohibited for monks and novices to receive bank notes (including a note handed to a priest informing him of the amount of money given to his agent for his use).
When Mr. Suwit was a monk, do you honestly dare to say that you never accepted any money even a dime, whether yourself or for others?
You want to play with words. I don’t have any problem, but it would be best if you please also look at yourself in the mirror. You are good at making joke, aren’t you?
***************************************************
Venerable Maha, how come? When the Sangha Supreme Council issued a resolution to prohibit you from involving in politics, you came out to complain about the Sangha Supreme Council. But when people blamed you on collecting money, you told them to ask the Sangha Supreme Council.
When Buddha Isara asked about an ecclesiastical offence entailing expiation with forfeiture, occurring when a shameless monk accepts gold or money or is pleased with gold or money which someone has kept for him.
The Book of Discipline was prescribed by Lord Buddha, not the Sangha Supreme Council. Why you ask for the Sangha Supreme Council to issue a resolution or has the Sangha Supreme Council not learned about the monastic discipline?
Disciplinary punishment is specific for yourself. You should not push the matter to the Sangha Supreme Council.
Or is this Maha’s true color? When someone has caught your faults, you will distort it and blame on other people.
You have distorted and asked while Buddha Isara was a monk, could I honestly say that I never accepted a dime.
I accept that I used to accept money in billion Baht, but I was not pleased with it or kept it for myself. I gave every Baht to the temple and the foundation. I never had a greed for money.
Even when I was an ecclesiastical official, I never had a bank account for receiving monthly food allowance from the government. And I never knew how much my monthly salary as an abbot was.
When I was the Ecclesiastical Commune-Chief, I did not know how much my monthly food allowance was. I never opened a bank account to collect money and never had my name on any bank account since my ordainment. Because I don’t want to be a shameless monk.
So, I would recommend Maha study about an ecclesiastical offence entailing expiation with forfeiture to know for which purpose Lord Buddha prescribed this monastic discipline?
Lord Buddha prescribed the Book of Discipline because of following benefits.
1. For the goodness of monastic community
2. For no trouble of monastic community
3. To get rid of shameless people
4. For peaceful living of people who observe precepts
5. To prevent present mental intoxication or defilements
6. To prevent future mental intoxication or defilements
7. For faith of those who do not yet believe in
8. For prosperity of faithful people
9. For stability of Buddhist core and practice
10. For compliance with the Book of Doctrine
It is not right that when you are guilty but try to distort the issue by telling other people not to make mistake. What kind of priest are you?
In the Book of Discipline, it clearly states the offence that a monk “is pleased with gold or money and kept it or have someone keep it for him”. It was not the meaning that Venerable Maha tried to distort. If Lord Buddha prohibited monk from receiving money, why there is a prescription of appointing a treasurer to look after monastic treasury?
Those who studied the Book of Discipline, but neve practiced it. Despite being Maha, would not be able to understand the Lord Buddha’s permission of temple management and temple personnel management.
A monk serving as a treasurer must possess following qualifications.
1. He is not biased due to favor.
2. He is not biased due to hatred.
3. He is not biased due to delusion.
4. He is not biased due to fear.
5. He knows monk robes which have been kept and those which have not.
Story of Phra Upanuntasakayabutr Monk
At the time when Lord Buddha stayed at Veluwan Garden in Rajgaha City.
Phra Upanuntasakayabutr Monk was familiar with a family and he always went to that family to receive food offering. That family normally kept some food for offering to him.
In an evening, that family got meat, so they kept a piece of meat for offering to Phra Upanuntasakayabutr Monk. A child of that family woke up early in the morning and requested for that meat. Therefore, the husband told his wife to give it to the child. Then, he would buy something else to offer to the monk.
In the morning, Phra Upanuntasakayabutr Monk carried an alms bowl walking into that family and sat on a prepared seat.
Then, the man prostrated himself before Phra Upanuntasakayabutr Monk and informed that, “Sir, yesterday, we got meat and I kept a piece of meat for you. Later, this child woke up early in the morning and requested for that meat. So, I gave that piece of meat to him. Sir, what should I buy for you with this one Kahapana (a unit of ancient currency)?
Phra Upanuntasakayabutr Monk asked, “Have you given money of one Kahapana to me?”
That man replied, “Yes, sir, I have given you.”
So, Phra Upanuntasakayabutr Monk told the man, “Please give the money to me.”
That man offered that money to Phra Upanuntasakayabutr Monk and criticized that the priest accepted money like ordinary people.
Other monks heard that man’s criticism. Those ungreedy, modest monks felt shameful and criticized why Phra Upanuntasakayabutr Monk received money. Then, they told the story to the Lord Buddha.
Then, Lord Buddha called for a meeting of monks and asked Phra Upanuntasakayabutr Monk, “Upanunta, I have heard that you have received money. Is it true?”
Phra Upanuntasakayabutr Monk replied, “Yes, sir.”
Then, Lord Buddha criticized Phra Upanuntasakayabutr Monk that, “Your deed was inappropriate, and it was not monastic duty. You should not do that. Why did you receive money? Your deed would not make people feel faithful or increase faith among people. In fact, your deed decreased people’s faith or made people lose their faith.
After that, Lord Buddha told about disadvantages of being hard to maintain and take care of, being greedy, being immoderate, and being lazy. Then, Lord Buddha told about advantages of being easy to maintain, being modest, being ungreedy, and being diligent.
Then, Lord Buddha told the monks that, Bhikkus, I prescribed the the Book of Discipline because of following ten benefits: 1) goodness of monastic community, 2) absence of trouble in monastic community 3) getting rid of shameless people 4) peaceful living of people who observe precepts 5) prevention of present mental intoxication or defilements 6) prevention of future mental intoxication or defilements 7) faith of those who do not yet believe in 8 ) prosperity of faithful people 9) stability of Buddhist core and practice 10) compliance with the Book of Doctrine.
As such, a monk receives or have someone receive gold or money, or he is pleased with gold or money that someone has kept for him, is regarded as an ecclesiastical offence entailing expiation with forfeiture.
As for Maha’s brought up the picture of Buddha Isara’s receiving money from SC Park Hotel Manager to defame Buddha Isara, it showed the mindset of a person who wears monk robe but thinks similarly to laymen.
If you want to know why Buddha Isara was standing in front of SC Park Hotel to count money and if you don’t know, I will tell you so that you won’t have to listen to the truth in court.
At SC Park Hotel, Buddha Isara used right on behalf of a leader of farmers group who had earlier paid deposit to the hotel because they wanted to stay at the hotel to wait for the Prime Minister Yingluck who fled the rice pledging scheme corruption.
When farmer leaders went to the meeting room, hotel staff did not let them use it according to their booking, thought they had already paid the deposit. According to civil law, the lease contract was completed.
I did not use the compensation received from the Hotel for myself, but I donated to the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives to pay to farmers in every Baht.
If you wish to be a shameless monk and look for pictures to bully Buddha Isara, you should check the information first. Otherwise, we may have to meet at the court.
Sir, As I have told, you are lucky person to be my next target of Buddha Isara.
Buddha Isara