สืบเนื่องเรื่องเกิดจากคลับเฮาส์ : ถ้าน้ำนิ่งแล้วมันจะละลายสสารได้อย่างไร ถ้าไม่ปฏิบัติเลย แล้วจะปฏิบัติไปทำไม ถ้ามีเรื่องให้ยึด มันก็ต้องมีเรื่องปล่อย

0
73

สืบเนื่องเรื่องเกิดจากคลับเฮาส์
๑๒ มกราคม ๒๕๖๗

มีผู้ยกบทโศลกที่เคยได้เขียนเอาไว้หลายปีมาแล้วว่า

ลูกรัก

มีอยู่ครั้งหนึ่งพระภิกษุชาวเยอรมันมาเยี่ยมพ่อ ขณะพักอยู่ในถ้ำไก่หล่น ท่านได้เขียนบทโศลกเอาไว้ในสมุดเยี่ยม

(พระภิกษุชาวเยอรมันรูปนี้มาอยู่เมืองไทยหลายปี จนสามารถสอบนักธรรมตรีได้ ท่านจึงมีความสามารถใช้ภาษาไทยคล่องแคล่ว ต่อมาได้ตามมาขออยู่ด้วยที่วัดอ้อน้อยหลายปีจนสามารถเรียนรู้วิธีปั้นลายไทยด้วยปูนปั้นได้ ท่านเขียนเอาไว้ว่า)

จงทำจิตให้นิ่งเหมือนน้ำที่ปราศจากลมพัด

(อธิบายว่า คือ ขบวนการข่มจิต บังคับใจ กดดันจิตให้นิ่ง ด้วยความเข้าใจของท่านว่า จิตนี้มีอยู่แค่ดวงเดียว ท่านจึงเชื่อว่า สามารถข่มจิต บังคับใจให้นิ่งสงบลงได้อย่างมั่นคง ดุจดังน้ำที่สงบราบเรียบ ปราศจากลมพัดที่ทำให้เกิดคลื่นลม ซึ่งแท้จริงแล้วโดยธรรมชาติของจิตนี้ล้วนเกิดดับอยู่ตลอดเวลาในแต่ละขณะจิตหนึ่งๆ ซึ่งพ่อเกิดแม่เกิดของจิตในแต่ละดาว ล้วนเกิดจากกรรมทั้งทางฝ่ายกุศล ฝ่ายอกุศล และอัพยากตกรรม แม้จักทำให้จิตดวงแรกสงบนิ่งอยู่ได้ แต่ดวงต่อๆ ไป ก็ใช่ว่าจะสงบนิ่งตามไปด้วยไม่

ฉะนั้นการที่จะทำให้จิตทุกดวงที่เกิดดับสงบนิ่งได้ทั้งหมด ก็มิใช่เป็นไปไม่ได้ แต่ก็ต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างยิ่ง ความทุ่มเทอย่างยิ่ง อีกทั้งต้องใช้เวลาเกือบทั้งชีวิตและหลายๆ ชีวิตในการฝึกหัดปฏิบัติจนคุ้นเคยกับการข่มจิต บังคับจิต กดดันจิตให้สงบนิ่งลงได้ ด้วยอำนาจแห่งความเพียร และกรรมฐานที่กระทำ แต่ก็มีวันเสื่อมถอย หากไม่ระมัดระวัง ประคองจิต ข่มจิต บังคับจิต ให้คงที่ตลอดเวลา

อีกทั้งยังมีอีกวิธีที่จะทำให้จิตนี้สงบนิ่งอยู่ได้ด้วยการมีกายรวมใจ ใจรวมอยู่พร้อมเฉพาะภายในกาย ด้วยอำนาจพลังแห่งสติปัญญา จนเพิ่มพูน

จึงนำมาพิจารณาตามหลักของความจริงอันประเสริฐทั้ง ๓ ประการ คือ

– สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ดี ชั่ว เลว หยาบ

– เห็นในความไม่เที่ยง ไม่คงที่ เป็นทุกข์ ไม่มีอยู่จริง

– รวมทั้งเห็นทุกข์ เห็นเหตุที่ทำให้ทุกข์เกิด เห็นทางดับทุกข์ เห็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์นั้นดับลง
เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงได้เช่นนี้ จิตที่เกิดดับในแต่ละดวง ก็จักไปปรุงแต่ง และไม่ยึดถือใดๆ ในอะไรๆ ความสงบระงับ ดับ เย็น ก็บังเกิดขึ้น โดยไม่เสื่อมคลาย)

การปฏิบัติ คือ การไม่ปฏิบัติอะไรเลย

(อธิบายว่า ต่อมาท่านก็เข้าใจว่า การปฏิบัติที่เคร่งเครียด เข้มแข็งของท่านที่ผ่านมา มันยิ่งทำให้ท่านห่างไกลจากความสำเร็จ ท่านจึงวางทุกอย่างด้วยความอ่อนล้า จึงทำให้ท่านเข้าถึง สภาวะความผ่อนคลาย ท่านจึงเข้าใจเอาเองว่า นี่คือความหลุดพ้นแล้ว ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นสภาวธรรมที่เกิดหลังจากวางของหนักลงได้ชั่วขณะหนึ่งๆ แต่สุดท้ายด้วยอำนาจของอวิชชา ตัณหา อุปาทาน จิตแต่ละดวงก็กลับเข้าไป หยิบฉวย แบกหาม ยึดถือเอาไว้อีกจนได้ตามที่มันคุ้นเคย และเคยทำมาหลายภพ หลายชาติ หลายกัปหลายกัลป์)

จงปล่อยธรรมชาติให้เป็นธรรมชาติอย่างที่เขามีเขาเป็น

(อธิบายว่า กาลต่อมา ท่านก็เข้าใจเอาเองอีกว่า เมื่อทุกอย่างผ่อนคลายแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปบริหารจัดการใดๆ ประมาณว่า ปล่อยมันไปตามเวรตามกรรม)

พ่อได้อ่านดูแล้ว และพ่อได้เขียนต่อท้ายไปว่า

ถ้าน้ำนิ่งแล้วมันจะละลายสสารได้อย่างไร

(อธิบายว่า แม้สรรพสิ่ง สรรพสัตว์ สรรพวัตถุ สรรพธรรมชาติ และสรรพธาตุ มันจะมีข้อจำกัดอยู่ในแต่ละสิ่ง แต่ละชีวิต แต่ละวัตถุ แต่ละธรรมชาติ และแต่ละธาตุ ได้ทุกๆ สรรพสิ่งดังกล่าว ก็ล้วนต่างมีหน้าที่ของตนๆ มาแต่กำเนิด หาได้เกิดดำรงอยู่ได้อย่างว่างเปล่าจากหน้าที่ใดๆ ไม่

อีกทั้งหากสรรพสิ่ง สรรพสัตว์ สรรพวัตถุ สรรพธรรมชาติ และสรรพธาตุ ได้เพียรพยายามที่จักพัฒนาตนอยู่อย่างต่อเนื่องเนืองๆ เช่น ถ่านหรือธาตุคาร์บอน ก็ยังสามารถพัฒนาตนด้วยเหตุปัจจัยจนกลายเป็นเพชรอันเลอค่าได้ในที่สุด

เช่นนี้พ่อจึงเขียนตอบไปว่า ถ้าน้ำนิ่งแล้วมันจะละลายสสารได้อย่างไร

ฉะนั้น คติของสรรพสิ่ง สรรพสัตว์ สรรพวัตถุ สรรพธรรมชาติ และสรรพธาตุ ล้วนมีที่ไปอยู่สองอย่าง คือ ดีกว่าเก่า หรือ เลวกว่าเก่า

เรื่องมันก็มีเพียงเท่านี้แหละโยม)

ถ้าไม่ปฏิบัติเลย แล้วจะปฏิบัติไปทำไม

(อธิบายว่า การพัฒนาตนหากไม่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน และไม่เข้าใจธรรมชาติของขันธ์ทั้ง ๕ ธาตุทั้ง ๔ และอินทรีย์ทั้ง ๕ แล้วหละก็ ต่อให้ปฏิบัติตั้งแต่เกิดจนวันตาย ก็จักไม่ได้ ไม่ถึงสิ่งที่เป็นคุณอันสูงสุด

ถ้ามีเรื่องให้ยึด มันก็ต้องมีเรื่องปล่อย

(อธิบายว่า ขอแค่เข้าใจถึงหลักแห่งสัมมาทิฐิทั้ง ๓ คือ

เชื่อกรรม

เห็นอนิจจัง ทุกขัง และความไม่มีอยู่จริง

เห็นทุกข์ เห็นเหตุเกิดทุกข์ เห็นทางดับทุกข์ เห็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์นั้นดับลง

เท่านี้มันก็ไม่มีเรื่องอะไรต้องยึด และไม่มีเรื่องอะไรต้องปล่อยแล้วหละ)

เจริญธรรม

พุทธะอิสระ

——————————————–

ลิ้งค์จาก : https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/pfbid062fFGbDdVQBeAd6wFYsPZRRomoz1c2D6CoKvVhbHuYPgtjEUHpdjQ7AAEJARP44dl

——————————————–

A Story from Clubhouse
January 12, 2023

         During the Clubhouse broadcast, someone brought up a
shloka (a Sanskrit sacred verse) I wrote several years ago.

         My dearest children…
         A German monk visited me while I was staying at the
Kailon Cave. He wrote me a message in a visitor’s book. (This
German monk lived in Thailand for several years, and he
passed the first grade of the Buddhist monk’s Dhamma
examination. He was fluent in Thai. Later, he followed me to
stay at the Onoi Temple for several years till he could make
traditional Thai-style stucco. He wrote the following message.)

         Keep your mind still like water without any wind blow.

         [My explanation: It is a procedure to control and keep the
mind still. The German monk might have misunderstood that
there was only one mind. Thus, he believed one’s mind can be
firmly still, like water without any wave. In fact, each mind
arises and then falls away all the time. Each mind originates
from meritorious Karma, evil Karma, or neutral Karma. Though
one can keep the first mind still, the subsequent minds may not.

Making every mind remain still is possible, but one must
have tremendous perseverance and effort. One must spend a
lifetime or multiple lives practicing till one gets used to
controlling one’s mind. In that case, the mind can remain still
owing to perseverance and meditation exercises. However, this
kind of mental stillness can still diminish if one does not always
cautiously control the mind.

Another way to maintain the stillness of the mind is to
combine the body and the mind, with the mind focusing
internally on the body only. Then, the power of wisdom
accumulates. By wisdom, one can contemplate the following
three noble truths.

– Living things in this world are subject to their own Karma.
Karma classifies them into virtuous, evil, wicked, or rough.

– Perceiving impermanence, transiency, the state of being
subject to suffering, and non-self

– Including perceiving suffering, the cause of suffering, the
means to cease the suffering, and the practice leading to
the cessation of suffering

         After perceiving these truths, each arising and falling mind
will not have any mental formation. The mind will not be
attached to anything. Peace of mind, extinction of defilements
and desires, and tranquility will occur and remain perpetually.]

         Practicing Dhamma means practicing nothing.

         [My explanation: Later, he understood that his previous stern
and rigorous practice had made him even further from success.
Thus, he wearily let go of things. Then, it made him realize the
state of relaxation. Then, he assumed that he had attained
enlightenment. In fact, it was just a natural phenomenon as a
result of momentarily letting go of one’s mental burdens. At last,
due to the power of ignorance, craving, and clinging, each mind
turned back to grasp and cling to things as it had been doing for
numerous past lives.]

         Let the nature be as it is.

         [My explanation: Later, he assumed that with mental
relaxation, he did not have to do anything. Just let things be as
they are.]

         After reading this sentence, I wrote another sentence after
his: 
“If the water is still, how can it dissolve substances?”

         [My explanation: Although everything, every living thing,
every subject, every nature, and every element has limitations,
they all have their duties from birth. They may not exist without
duties.

         If everything, every living thing, every subject, every
nature, and every element tries to develop itself continuously,
such as how carbon can develop itself with various factors to
become an invaluable diamond.

         As such, I wrote him back, “If the water is still, how can it
dissolve substances?”

         Therefore, every living thing, every subject, every nature,
and every element has only two destinations, either better or
worse. That is all about it.]

         Without the practice, why should one continue practicing
the Dhamma?

         [My explanation: Without a clear purpose for self-
development and without understanding the nature of the Five
Groups of Existence (corporeality, feeling, perception, mental
formations, and consciousness), the Four Elements (soil, water,
wind, and fire), and the Five Controlling Faculties (faith,
diligence, mindfulness, concentration, and wisdom), one will not
attain the noblest state despite practicing from birth till death.

         If there is something to seize, there will still be something
to let go.

         [My explanation: Once one understands the following
three principles of the Right View.

– Believing in Karma

– Perceiving impermanence, the state of being subject to
suffering, and non-self

– Perceiving suffering, the cause of suffering, the means to
cease the suffering, and the practice leading to the
cessation of suffering

Then, there is nothing to seize and to let go.]

Wishing you prosperity in the Dhamma practice.

Buddha Isara

——————————————–

Previous article : https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/pfbid062fFGbDdVQBeAd6wFYsPZRRomoz1c2D6CoKvVhbHuYPgtjEUHpdjQ7AAEJARP44dl