ว่าจะไม่พูด ไม่บอก ไม่เขียนแล้วเชียวนา (ตอนที่ ๑)
๑๘ กันยายน ๒๕๖๗
แต่ก็มีผู้เข้ามาถามถึงประเด็นของพระพุทธศาสนาที่กำลังถกกันอยู่ในสังคมเวลานี้
กรณีคำสอนที่ผู้สอนก็ไม่รู้ว่าผิดหรือถูก แต่ก็พูด ก็บอก ก็สอนออกมาโดยใช้อัตโนมัติของตนเองเป็นประมาณ ซึ่งก็มีคำสอนที่ค่อนข้างอ่อนไหว สุ่มเสี่ยงต่อศรัทธา ความเชื่อดั้งเดิมที่บรรพบุรุษเขาทำเขาเชื่อกันมาเป็นร้อยเป็นพันปี เช่นคำสอนที่เขาสอนว่า
๑. พระไตรปิฎกบกพร่อง (คล้ายๆ กับคำสอนของพวกลัทธิเพ่งลูกแก้วและลัทธิพุทธวจน)
๒. พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ยังมีความโกรธอยู่ (ซึ่งคนทั้งโลกที่นับถือพุทธหากสนใจศึกษา เขาก็จะรู้กันโดยทีอยู่แล้วว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้ห่างไกลจากกิเลสทั้งปวง สาอะไรกับกิเลสอย่างหยาบ เช่น ความโกรธ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะยังไม่สามารถละได้เชียวหรือ คำสอนนี้ถือว่า เป็นการจาบจ้วง ดูถูก ตบหน้าคนพุทธทั้งโลก ว่าทำไมยังมาหลงงมงายกราบไหว้อยู่กับผู้มีกิเลส แม้กิเลสที่หยาบที่สุด พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวกก็ยังละไม่ได้)
๓. ไหว้พระพุทธรูป ก็เหมือนกับไหว้อิฐปูนทองเหลือง ประมาณนี้ ทั้งที่คนทั้งโลกเขาไหว้พระพุทธรูปเป็นประดุจดังตัวแทนของพระพุทธเจ้า แล้วทำการบูชากราบไหว้เพื่อระลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์ อีกทั้งเป็นการเจริญพุทธานุสติกรรมฐาน โดยเอาพระพุทธรูปเป็นนิมิต เป็นเครื่องผูกจิตให้ตั้งมั่น
๔. เรื่องการบูชาถวายน้ำแก่พระพุทธรูปไม่ได้บุญ สู้เอาน้ำไปให้หมากินจะได้บุญมากกว่า
ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้ว การบูชาคุณของพระพุทธเจ้ามี ๒ แบบ คือ อามิสบูชา และปฏิบัติบูชา พุทธบริษัททั้งโลกเขาก็ทำกันมา ๒ พันกว่าปีแล้ว แม้ในสมัยที่พระพุทธเจ้าจักทรงเข้าปรินิพพาน พวกเทวดา มาร พรหม และหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ก็น้อมถวายเครื่องบูชาสารพัดจะพรรณนามากมาย จนสถานที่ปรินิพพานมีแต่เครื่องบูชาสูงเท่าเข่า เขาก็ทำกันมาแล้ว
ทั้ง ๔ ประเด็นนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ทำลายความเชื่อ ความศรัทธาของคนพุทธทั้งโลกที่มีมาอย่างช้านาน สังคมจึงมีการหยิบยกขึ้นมาถกถามกันเพื่อหาข้อยุติ
ผู้ที่ถกกันก็มิได้มีเจตนาที่จักไปทำลายใคร เพียงแค่ต้องการรู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด แล้วคนที่พูดที่สอนที่บอกใน ๔ ประเด็นนี้รู้จริงแค่ไหน
เรื่องมันก็มีเท่านี้
หากผู้พูดและบริวารจะมาโกรธ ไม่ชอบใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น ก็ถือว่าจิตใจคับแคบเกินไป ยังไม่สามารถที่จะละตัวกู อาจารย์กู ของกูลงไปได้ เช่นนี้จะไม่เป็นการลบล้าง หักล้างสิ่งที่ตนเองพร่ำสอนมาตลอดกระนั้นหรือ
นี่คือคำถามของพุทธะอิสระ
การกระทำดี พูดดี คิดดี แต่ก็ไม่ได้หมายถึงต้องมีตัวกูดีนี่นา หากยังมีตัวกูดีอยู่แล้ว นั้นมันอวดดีต่างหากเล่า
นี่คือหลักการแท้จริงของพระพุทธศาสนา
หลักการแท้จริงของพระพุทธศาสนาท่านสอนว่า ให้ทำดีเพื่อทำลายตัวกูมิใช่หรือ
คิดจะสอนคนรุ่นใหม่ แต่ก็ไม่ควรมาเหยียบย่ำ หักล้างความเชื่อ ความศรัทธาของคนรุ่นเก่า
การบูชาไม่ว่าจะเป็นอามิสบูชา หรือ ปฏิบัติบูชา ล้วนมีอานิสงส์ผลดีทั้ง ๒ อย่าง แม้จะแตกต่างกันอยู่บ้าง ก็เป็นไปตามความเชื่อ ความชอบ ตามกำลังสติปัญญา แม้แต่ในราชสำนักก็มีการบูชาด้วยอามิสบูชา แล้วพุทธะอิสระชาวบ้านธรรมดาอย่างเราๆ ทำจะเป็นอะไร
วันนี้พอแค่นี้ก่อน แล้วกัน จะทำงานแล้ว วันหน้าค่อยตอบคำถามของผู้มาถามต่อ
เจริญธรรม
พุทธะอิสระ
——————————————–
ลิงค์จาก : https://www.facebook.com/photo/?fbid=902155821776688&set=a.107732901218988
——————————————–
Initially, I had intended not to say, tell, or write about this. (Part 1)
September 18, 2024
Nevertheless, some people asked me about the issue currently debated among Buddhists regarding someone who has taught Buddhism based on his assumptions. Some of his teachings are sensitive and detrimental to the faith and beliefs inherited from our ancestors of hundreds and thousands of years. Examples of his teachings are as follows.
1. The Tripitaka has some flaws.
(This is similar to the teachings of the Doctrine that visualizes a crystal ball and the Buddha Wajana Doctrine.)
2. The Buddha possessed anger. The Arhats still possess anger.
(Buddhists worldwide know well that the Buddha was free from defilements. How could the Buddha not liberate himself from externally active defilements like anger? Is this teaching an insult for Buddhists worldwide for worshipping someone who cannot liberate themselves from even the roughest type of defilements?)
3. Paying respect to a Buddha statue is like paying respect to clay, mortar, and brass.
(Buddhists worldwide pay respect to Buddha images because they symbolize the Buddha. They do so in commemoration of the Buddha’s greatest benevolence. Having a Buddha image as an object of meditation is also a means of practicing contemplation on the virtues of the Buddha (Buddhanussati Bhavana.)
4. Feeding water to dogs is more worthy than giving water to a Buddha image.
(There are two ways to worship the great virtues of the Buddha: worship with material things and worship by Dharma practice. Buddhists worldwide have worshipped the Buddha for over two thousand years. At the death of the Buddha (Parinirvana), the deities, the Mara, the Brahma, and human beings even paid respect with a vast number of objects till they piled up at knee height at the site of the Buddha’s death.)
These four issues have destroyed the long-lasting beliefs and faith of Buddhists worldwide. Thus, people in society have brought up these topics for discussion to seek a conclusion. People discussed this with no intention to destroy anybody. They just want to know what is right or wrong and how much the speaker knows.
If the speaker and his disciples feel upset, they are too narrow-minded. They still cannot abandon their egos, their teacher, and what belongs to them. Does this not conflict with what he has been teaching?
This is Buddha Isara’s (my) question.
Doing good, speaking well, and thinking well do not mean having a big ego. With overbearing egos, they are conceited.
It is the true principle of Buddhism.
Does the principle of Buddhism aim to destroy one’s ego?
Wishing to teach the new generation, one should not disparage or refute the beliefs and faith of ancestors.
Worship with material things or worship by Dharma practice may yield positive outcomes, varying based on people’s beliefs, preferences, and wisdom. Even within the royal court, worship with material things prevails, so why cannot Buddha Isara and the commoners?
This shall be enough for today. It is time for me to work. I will answer more questions later.
Wishing you progress in practicing the Dharma.
Buddha Issara
——————————————–
Previous article : https://www.facebook.com/photo/?fbid=902155821776688&set=a.107732901218988