เรามาช่วยกันวิสัชนากรรมทั้ง 12 อาการ ให้แจ่มชัดกันดูซักหน่อย (ตอนที่ 10) 31มี.ค.2565

0
43
เรามาช่วยกันวิสัชนากรรมทั้ง ๑๒ อาการ ให้แจ่มชัดกันดูซักหน่อย (ตอนที่ ๑๐)
๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕
 

คราวที่แล้วได้หยิบยกเอากรรม ๑๒ มาวิสัชนาแก่ผู้สงสัยไปในระดับหนึ่งไปแล้ว

แต่ดู ดู เหมือนผู้รับรู้รับฟัง ยังจะไม่แจ่มชัดถึงรากเหง้าของกรรมทั้งปวง

วันนี้จึงขอนำกรรมทั้ง ๑๒ อาการ มาอธิบายขยายความให้ท่านทั้งหลายได้เข้าใจ ให้แจ่มชัดมากยิ่งขึ้น หรือไม่ บางคนมีสติปัญญากล้าแข็ง อาจรู้สึกสว่าง กระจ่างแจ้งขึ้นมาบ้างก็เป็นได้

********************************************************

วันนี้ขอนำอาสันนกรรม กรรมที่ให้ผลแบบเฉียดฉิว ถากๆ จวนเจียน

อาสันนกรรม
ส่วนใหญ่เกิดจากผลแห่งการกระทำที่ไม่มีเจตนา

ถ้าเทียบกับสมัยนี้ ก็ต้องใช้คำว่า ไม่มีเจตนา รู้เท่าไม่ถึงการณ์ และบางครั้งแม้มีเจตนา แต่มีอุปฆาตกรรมก็เข้ามาแทรกแซง ตัดตอนก่อน เจตนานั้นจึงไม่สำเร็จประโยชน์

ผลที่จะได้รับต่อมาก็คือ อาสันนกรรม กรรมที่ให้ผลแบบจวนเจียน เฉียดฉิวนั้นเอง

การให้ผลของอาสันนกรรม มีทั้งฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศล รวมทั้งอัพยากตกรรม เช่น ผู้ประพฤติองค์ฌาน แต่ไม่ถึงองค์ฌานขั้นสูงเสียที ทุกครั้งก็จะมีอาการจวนเจียน เฉียดฉิวจะได้แหล่ไม้ได้แหล่

เช่นนี้ เรียกว่า อาสันนกรรม การที่กรรมให้ผลเช่นนี้อาจเป็นเพราะ เป็นผู้มีอุปนิสัยทำอะไรจับจดไม่จริงจัง จนกลายเป็นผลกรรมติดตามตัวมา

เหล่านี้ คือ อาสันนกรรมฝ่ายกุศล

อีกตัวอย่าง อาสันนกรรมฝ่ายอกุศล นั้นมี ๒ ประเภท คือ

อาสันนกรรมที่เกิดโดยไม่เจตนา
เช่น ไม่มีเจตนาจะเดินชนผู้อื่น สิ่งอื่น หรือไม่มีเจตนาจะขับรถชนคนอื่น แต่มันเกิดขึ้นเพราะเป็นอุบัติเหตุ

ซึ่งอันที่จริงก็เกิดจากความประมาท ขาดสติ และอาจเกิดจากทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในปัจจุบันนั้นเอง

ผลของการขาดสติ ไม่มีเจตนาเช่นนี้เรียกว่า อาสันนกรรม กรรมที่ให้ผลแบบจวนเจียน เฉียดฉิว

ส่วนอาสันนกรรมฝ่ายอกุศลที่มีเจตนา แต่การกระทำนั้นไม่สำเร็จประโยชน์ดังที่มุ่งหวัง เช่น

ตั้งใจจะยิงสัตว์แต่ไม่โดน หรือสัตว์นั้นหลบหนีไปได้ เช่นนี้ผลที่จะได้รับ คือ อาสันนกรรม กรรมที่ทำให้ จวนเจียน เฉียดฉิว

หรือไม่ก็ยิงโดนสัตว์แบบเฉียดฉิว

เหล่านี้ คือ อาสันนกรรมฝ่ายอกุศลที่ต้องได้รับ

ส่วนอาสันนกรรมฝ่ายอัพยากตกรรม คือ กรรมที่วางเฉย เมื่อใดที่อาสันนกรรมเข้าแทรกแซงให้ผล การวางเฉยนั้นก็เลยเฉยไม่จริง เฉยไม่แนบแน่น เฉยอย่างไม่ตั้งมั่น

ฉะนั้น อาสันนกรรม กรรมที่ให้ผลอย่างจวนเจียน เฉียดฉิว เช่นนี้ ล้วนเกิดมาจากความประมาท ขาดสติ ซึ่งก็มีทั้งตั้งใจและไม่เจตนา

พุทธะอิสระ

——————————————–

Let us clarify the twelve types of Karma (deeds) (Part 10)
March 31, 2022

I previously somewhat explained the twelve types of Karma.

However, the listeners are not yet clear about the origins of all Karma.

Today, I will elaborate more on the twelve types of Karma. Some people with sharp wisdom may understand them better.

********************************************************

Today, I would like to explain the Proximate Karma that brings about incidents one encounters and experiences things by the skin of one’s teeth.
Proximate Karma primarily results from unintentional actions.
Nowadays, it is called unintentional ignorance. Sometimes, one intentionally commits a deed, but it is interrupted and terminated by the Destructive Karma, and such intention is not successful.
The outcome of the Proximate Karma makes one encounter and experience things by the skin of one’s teeth.

The Proximate Karma yields meritorious, evil, and mediocre outcomes. For example, someone practices meditation but has not attained the highest level of the state of serene contemplation. Every time he meditated, he almost got there.
Karma yields such an outcome, probably because that person has had a habit of not taking things seriously, and that habit produces such subsequent results.
These are meritorious Karma.

The Proximate Karma has two types of evil deeds.
The first type is unintentional. For example, one unintentionally bumped into a person or an object or unintentionally crashed their car into somebody.

This accident resulted from negligence, lack of consciousness, or the Karma ripening during one’s lifetime.
A person obtains the outcome of such Karma by encountering and experiencing things by the skin of one’s teeth.

There is also an intentional, evil Karma, but such action was not successful. For instance, one intended to shoot an animal, but the shooting missed the target, or that animal could escape. That person would receive Karma’s outcome by experiencing a similar incident by the skin of one’s teeth.
Or that person almost missed the target but successfully shot the animal.
These are evil Karma that one shall receive the outcome.

As for the mediocre deed, when this type of Karma interferes and yields an outcome, such equanimity is not genuine, established, and focused.

In conclusion, the Proximate Karma is caused by a lack of caution and consciousness, both intentional and unintentional.

Buddha Isara