ในหลักสูตรนักธรรมตรี ท่านมีคำสอนอยู่ในหมวด ๖ เรื่องคารวะ ๖ มีรายละเอียด ๖ ข้อ คือ
๑. พุทธคารวตา เคารพในพระพุทธเจ้าในฐานะที่พระองค์ท่านทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง
คุณของพระพุทธเจ้ามี ๙ ประการคือ
๑. อรหํ เป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ ไกลจากกิเลส ทำลายกำแพงสังสารวัฏได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น
๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ เป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง
๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติที่งดงาม
๔. สุคโต เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ ทรงดำเนินพระพุทธจริยาให้เป็นไปโดยสำเร็จผลด้วยดี พระองค์เองก็ได้ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจก็สำเร็จประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ชนทั้งหลายในที่ที่เสด็จไป และแม้ปรินิพพานแล้ว ก็ได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้เป็นประโยชน์แก่มหาชนสืบมา
๕. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก คือ ทรงรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลกคือสังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตวโลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมดาโดยถ่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดานั้น และทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้ยังจมอยู่ในกระแสโลกได้
๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งกว่า คือ ทรงเป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเทียมเท่า
๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
๘. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นเองจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ถือกันมาผิด ๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใด ๆ มีการคำนึงประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น จึงมีพระทัยเบิกบาน บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์ โดยถือธรรมเป็นประมาณ
การที่ทรงพระคุณสมบูรณ์เช่นนี้ และทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้เรียบร้อยบริบูรณ์เช่นนี้ ย่อมอาศัยเหตุคือความเป็นผู้ตื่นและย่อมให้เกิดผลคือทำให้ทรงเบิกบานด้วย
๙. ภควา ทรงเป็นผู้มีโชค คือ จะทรงทำการใด ก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ หรือ เป็นผู้จำแนกแจกธรรม
เมื่อจิตรู้ถึงพระปัญญาคุณ พระมหากรุณาคุณ และพระบริสุทธิคุณ เห็นปานนี้ก็จักมิอาจแสดงพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ ลบหลู่ ดูแคลนในพระคุณท่าน
ทั้งมีจิตน้อมไปในความเสื่อมใส เทิดทูน บูชา ในพระคุณอันอเนกอนันต์สุดหาประมาณมิได้ ในพระพุทธคุณนั้น
๒. ธัมมคารวตา เคารพบูชาในพระธรรมคำที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนซึ่งพระธรรม มีคุณ ๖ ประการ คือ
๑. สวากขาโต ภควตา ธัมโม หมายถึง ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วท่ามกลาง อันได้แก่ สมาธิและงามในที่สุด อันได้แก่ ปัญญา พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์หรือหลักการครองชีวิตอันประเสริฐ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
๒. สันทิฏฐิโก หมายถึง ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ผู้ใดปฏิบัติ ผู้ใดบรรลุ ผู้นั้นย่อมเห็นประจักษ์ด้วยตนเอง ไม่ต้องเชื่อตามคำบอกเล่าของผู้อื่น ผู้ใดไม่ปฏิบัติ ไม่บรรลุ ผู้อื่นจะบอกก็เห็นไม่ได้
๓. อกาลิโก หมายถึง ไม่ประกอบด้วยการ ผู้ปฏิบัติไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา พร้อมเมื่อใดบรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใดเห็นผลได้ทันที นั่นคือ ให้ผลในลำดับแห่งการบรรลุไม่เหมือนผลไม้อันให้ผลตามฤดูกาล
๔. เอหิปัสสิโก หมายถึง ควรเรียกให้มาดู พระธรรมเป็นคุณอัศจรรย์ดุจของประหลาดที่ควรเชิญชวนให้มาชมและพิสูจน์หรือท้าทายต่อการตรวจสอบ เพราะเป็นของจริงและให้พอแก่ผู้ปฏิบัติตามได้ดีจริง
๕. โอปนยิโก หมายถึง ควรน้อมเข้ามา ผู้ปฏิบัติควรน้อมนำเอาพระธรรมนั้นเข้ามาไว้ในใจของตนหรือน้อมใจเข้าไปให้ถึงด้วยการปฏิบัติให้เกิดในทุกขณะของใจ
๖. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ หมายถึง อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ผลอันเกิดจากการปฏิบัติธรรมนั้น ทุกคนที่น้อมนำมาปฏิบัติ จะรู้ซึ้งถึงผลแห่งพระธรรมนั้นด้วยตนเอง ทำให้กันไม่ได้ เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ประจักษ์แจ้งในใจของตนเองเท่านั้น
พร้อมทั้งต้องประพฤติปฏิบัติตามพระพุทธธรรมคำสอนนั้นด้วยกาย วาจา ใจ อย่างซื่อตรง ถูกต้อง ตามพุทธประสงค์ในการที่ทรงตรัสสอนพระธรรมนั้นๆ
๓. สังฆคารวตา เคารพบูชาในพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามพระพุทธธรรมนั้นๆ อย่างเหมาะสมถูกต้องสอดคล้องตามหลักพระธรรมวินัย ซึ่งพระสงฆ์ผู้ควรแก่การเคารพบูชา ต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้
๑. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว หมายถึง พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติตามทางสายกลาง (มัชฌิมปฏิปทา) ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ปฏิบัติไม่ถอยหลัง ปฏิบัติกลมเกลียวกับพระศาสนดา ไม่ปฏิบัติเป็นปฏิปักษ์ต่อพระบรมศาสดา
๒. อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเข้าเป็นผู้ปฏิบัติตรง หมายถึง ไม่ปฏิบัติเป็นคนลวงโลก ไม่มีมายาสาไถย ปฏิบัติมุ่งตรงต่อข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน ปฏิบัติตรงต่อพระศาสดา และเพื่อนพระสาวกด้วยกัน ไม่มีข้อลี้ลับที่จะปิดบังอำพรางไว้ในใจ
๓. ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง หมายถึง ปฏิบัติไม่ผิดเพี้ยนไปจากหลักคำสอนของพระศาสดา ไม่ผิดไปจากธรรมเนียมอันดีงาม ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบแบบแผน
๔. สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติสมควร หมายถึง สมควรที่จะได้รับความเคารพนับถือ เป็นผู้ปฏิบัติตั้งอยู่ในสังวร ปฏิบัติเป็นผู้ตื่นอยู่ คือรู้ถึงเหตุการณ์อันเป็นไปอยู่ ไม่งมงาย รู้จักประพฤติกิริยาทางกาย และวาจาต่อผู้อื่นโดยไม่ทะนงตนมีใจหนักแน่นเผื่อแผ่ มีใจกว้างไม่คับแคบ
๕. อาหุเนยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย หรือผู้ควรแก่ของคำนับ หมายถึง เป็นผู้ที่สมควรได้รับของถวายและได้รับการแสดงความเคารพด้วยเครื่องสักการะเนื่องในเทศกาลต่างๆ
๖. ปาหุเนยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ หมายถึง พระสงฆ์สาวกเป็นผู้ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง และเป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ไม่ว่าท่านจะโคจรไปสู่ที่ใด ย่อมยังประโยชน์สุขและประโยชน์เกื้อกูลให้เกิด ณ ที่นั้น ผู้เลื่อมใสจึงเปิดประตูบ้านต้อนรับด้วยความปีติ ที่ได้พบเห็นอันถือเป็นมงคลในชีวิตอย่างหนึ่ง
๗. ทกฺขิเณยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาทาน หมายถึง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้บริสุทธิ์ สมควรที่จะได้รับของบริจาคทาน (ทักษิณาทาน) และจะต้องได้รับผลดีอย่างแน่นอน
๘. อญฺชลิกรณีโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ หมายถึงพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ เป็นผู้บริสุทธิ์ ย่อมตั้งอยู่ในฐานะที่ควรแก่กระทำอัญชลีคือการกราบไหว้ให้ความเคารพ ยกย่อง
๙. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส แปลว่า เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า หมายถึง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร และเป็นผู้บริสุทธิ สมควรได้รับการกราบไหว้บูชาแล้วการบริจาคทานแก่ท่านย่อมมีอานิสงส์มาก ดุจผืนนาที่มีดินดีสมบูรณ์ด้วยปุ๋ยอันเป็นธาติอินทรีย์ เมล็ดพืชที่หว่านหรือปลูกลงบนผืนดินนี้ย่อมผลิตผลอย่างสมบูรณ์เต็มเม็ดเต็มหน่วย พระสงฆ์สาวกเหล่านี้จึงเป็นปฏิคาหก (ผู้รับ) ที่ยอดเยี่ยม เป็นที่ปลูกฝังความดีงามและเป็นที่รักษาไว้ซึ่งความดีงามทั้งปวง
๔. สิกขาคารวตา เคารพในกระบวนการการศึกษา ทั้งครูอาจารย์ผู้ถ่ายทอดสรรพวิทยา และวิชาการที่ครูอาจารย์นั้นๆ ถ่ายทอดให้การอบรมสั่งสอนแก่เรา ด้วยความมุ่งมั่น ขยันหมั่นเพียร มีสติปัญญาไตร่ตรอง ทดสอบ ทดลอง ฝึกฝน ประพฤติปฏิบัติ ตามคำสั่งสอนนั้นๆ ดูว่า มีผลเป็นประการใด
๕. อัปปมาทคารวตา เคารพตั้งมั่นอยู่ในความไม่ประมาท ไม่เผลอสติจนเป็นเหตุให้กิจกรรมการงาน และชีวิตต้องผิดพลาด
ผู้ที่มีความเคารพตั้งมั่นอยู่ในความไม่มัวเมาประมาท ทำ พูด คิด จักไม่ผิดพลาด จะถูกต้อง ถูกตรงต่อความต้องการทุกขณะ
๖. ปฏิสันถารคารวตา เคารพในการต้อนรับ ปฏิสันถารแก่ผู้มาและผู้จากไป ด้วยจิตที่หวังดี เอ็นดู จริงใจ ให้เกียรติ์ ยอมรับในหลักการ และเหตุผล ด้วยสติปัญญา ที่พิจารณาใคร่ครวญดีแล้ว
มนุษย์ผู้ใดที่กระทำคารวะทั้ง ๖ ที่มีอยู่ในกาย วาจา จิตใจ จะไม่กระทำการสิ่งใด ที่แสดงออกถึงความไม่เหมาะสม ไม่แสดงออกซึ่งความเหยียดหยาม ดูแคลนต่อคารวะธรรมทั้ง ๖ ทั้งทางกาย วาจา ใจ
ทั้งยังเป็นผู้มีอัธยาศัยที่นอบน้อม ถ่อมตน ละเมียดละไม ไม่หยาบกระด้าง ไม่ยกตนข่มท่าน ดังที่เป็นอยู่กันมากมายในเวลานี้
มนุษย์ผู้มีคารวะนั้นๆ ย่อมเป็นผู้เจริญไพบูลย์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
พุทธะอิสระ
๒๙ เมษายน ๒๕๖๔
————————————————–
Humans…please do not mistake wrong for right.
April 29, 2021
Curriculum of the first of the three grades of Dhamma study includes reverence or appreciative and respectful actions in six aspects.
1. Respect Lord Buddha who achieved enlightenment by himself.
There are 9 aspects of Lord Buddha’s benevolence.
1. He was an Arahant/Arahat who was pure and free from defilements. He destroyed the wheel of rebirth. He was suitable to teach and guide other people. Therefore, he deserves respect and worship.
2. He attained enlightenment by himself.
3. He was equipped with knowledge and gracious behaviors.
4. He completely fulfilled the Buddha’s course of conduct. After the Lord Buddha’s enlightenment, the Buddha’s daily routine was magnificently beneficial to people wherever he went to. Even after the Great Decease of the Buddha, Buddhism has been well established for the sake of a huge number of people.
5. He thoroughly knew about everything in the world. He deeply understood truths of everything which had been made up by pre-existing causes. He deeply understood natures of all worldly creatures, destined by power of their own deeds. This enabled Lord Buddha to liberalize himself from domination of such power. He has been the shelter for all creatures which still succumb to the current of worldly matters.
6. He was peerless trainer of people who were teachable. Namely, his mastery of teaching and training is incomparable.
7. He is prophet for all angels and human beings.
8. He is awakened and blessed. Namely, he woke up from false beliefs and conducts and he also woke other people up from delusion. He was free from attachment, delusion, and obsession with personal interest. Therefore, he had a cheerful mind and completely fulfilled the Buddha’s course of conduct because of his compliance with Dhamma.
9. He was fortunate. Whatever mission he conducted, it was successfully and safely accomplished. He has mastery of classifying and teaching Dhamma.
When one realizes of Lord Buddha’s magnificent wisdom, benevolence, and purity, one will not be able to behave whether by action, speech, or thought to look down on his benevolence. In addition, one will highly admire, respect, and worship his immeasurable benevolence of the Lord Buddha.
2. Respect for Lord Buddha’s Dhamma teaching in which Dhamma has following six benevolence.
1. Lord Buddha taught Dhamma, obtained from meditation and wisdom. The beauty of teaching’s essence and content was about how to live a noble and pure life.
2. One who practices Dhamma will realize by himself. One who practices and achieves it will realize by oneself. There is no need to follow what other people said. One who does not practice and has not achieved it, will not understand what other people said.
3. It is not subject to timing. Dhamma doers are not subject to time. Whenever one is ready, one immediately attains enlightenment. When one becomes enlightened, one immediately knows the results. Timing of enlightenment is not like fruits that have their own seasonal time to yields.
4. One should call others to see miracle of Dhamma so that people can view and prove by themselves. That is because Dhamma is truth that give real results to those who follow Dhamma practice.
5. One should accept Dhamma into one’s mind and practice Dhamma in every moment of one’s mind.
6. A reasonable person shall realize outcomes from practicing Dhamma. One should realize by one’s own practice. Results of practicing Dhamma is non-transferrable and non-givable. One shall realize by one’s own mind only.
In addition, one should honestly follow Lord Buddha’s teaching by action, speech, and thought, according to Buddha’s purpose in teaching that particular Dhamma.
3. Pay respect to monks who behave well and appropriately according to the code of monastic rules. Monks who are worthwhile for respect and worship must have following characteristics.
1. Good conduct of monks means monks follow the Middle Path which is not too lose and not too strict. Their conduct progresses in harmony with the Lord Buddha, not against the Buddha.
2. Monks, as followers of Lord Buddha, are straightforward and honest. They are not deceivers and have no wile. They honestly follow practice that leads to nirvana, honestly behave towards Lord Buddha and fellow disciples. They do not have any hidden agenda in their minds.
3. Monks, as followers of Lord Buddha, behave according to Lord Buddha’s teaching. They do not distort Lord Buddha’s teaching and appropriate conduct of practice and monastic rules.
4. Monks, as followers of Lord Buddha, behave and practice appropriately that deserve respect. They are awakened and alert of happenings. They are not superstitious. They behave well both in action and speech towards others. They are not proud. They maintain a firm, generous, and open-minded perspective.
5. They deserve offerings and respect in various Buddhist occasions.
6. They deserve welcome. Wherever a monk who practices well, honestly, and correctly, goes, he brings happiness and benefit to that place. Faithful people, therefore, welcome him with joy. Meeting such monk would be an auspicious happening in one’s life.
7. Monks, as followers of Lord Buddha, are pure. Therefore, they deserve offerings which shall bring higher merits to givers.
8. Monks deserve respect and worship. Monks, as followers of Lord Buddha, who appropriately behave and practice, are pure and deserve high respect and worship.
9. Monks are the world’s best “field of merit” for this world. There is no superior field of merit. This means monks, as followers of Lord Buddha, behave well, correctly, and appropriately, are pure. As a result, they deserve respect and worship. Making merit to monks who possess a higher virtue yields a higher degree of merit. It is like farming on a fertile field, the yield of your crop will be bountiful. These monks are excellent receivers. They are regarded as fields of virtues in which all kinds of virtues are preserved.
4. Respect learning procedure and teachers who transfer knowledge and sciences. One should diligently consider, test, experiment, practice, and follow those teachings to see the results.
5. Respect and concentrate on precaution and mindfulness not to let mistake happen in one’s work and life.
Those who respect caution will do, speak, and think correctly at every moment, without error.
6. Respect and welcome those who come and leave, with good, sincere, respectful mind. Accept principles and reasons with well-thought wisdom.
Human who has these six aspects of respect in their action, speech, and thought, will not do things inappropriately. They will not insult or look down on six people of respect, both in their action, speech, and mind.
They also have courteous, humble, and gentle manner. They will not have any rough and overbearing behaviors like we have seen a lot nowadays.
Such human will prosper in both this and next lives.
Buddha Isara