ถามมา ตอบไป
๒ ธันวาคม ๒๕๖๗
มีผู้ถามมาว่า ผมสงสัยบทโศลกที่พุทธะอิสระเขียนว่า
ลูกรัก เจ้าจักสำคัญความนี้เป็นไฉน
โลกใบนี้มันเป็นของเล่นสำหรับคนฉลาด
มีแต่คนโง่เท่านั้นที่จักถูกโลกเล่น
ช่วยอธิบายให้กระจ่างหน่อย
ตอบท่านผู้ถามว่า :
คำว่า โลก หมายถึง หมู่สัตว์ที่มีชีวิตทั้งปวง รวมถึงสิ่งที่ไม่มีชีวิตทั้งปวง
คำว่า คนฉลาด หมายถึง ผู้มีสติปัญญาเห็นชัดในความจริงอันประเสริฐ เช่น เห็นอริยสัจทั้ง ๔ คือ
เห็นทุกข์
เห็นเหตุเกิดทุกข์
เห็นความดับทุกข์
เห็นข้อปฏิบัติที่ทำให้ทุกข์นั้นดับ
เห็นการทำงานของกรรมว่าสิ่งที่มีชีวิตทั้งปวง และทั้งที่มีสังขารและไม่มีสังขาร ล้วนตกอยู่ในอำนาจแห่งกรรมที่ตนกระทำ
และเห็นชัดในสามัญลักษณะ ๓ อย่าง อันได้แก่
ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์
ไม่มีอยู่จริง
คำว่า ของเล่น หมายถึง การปรุงแต่งด้วยเหตุปัจจัยให้เป็นสมมุติและให้ทำหน้าที่ แล้วเรียกสมมุตินั้นว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัว เป็นตน เป็นเรา เป็นเขา และเป็นสิ่งของต่างๆ
ซึ่งแท้จริงแล้วผู้มีสติปัญญาท่านจะเห็นเพียงของเล่นชนิดหนึ่งเท่านั้น ดังพระพุทธภาษิตที่ทรงตรัสว่า
เอถะ ปัสสะถิมัง โลกัง จิตตัง ราชะระถูปะมัง
อันธะพาลา วิสีทันติ นัตถิ สังโค วิชานะตัง,
สูทั้งหลาย จงมาดูโลกนี้ อันตระการตาดุจราชรถ
ที่พวกคนเขลาพากันหมกอยู่ แต่ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่
คำว่า คนโง่ หมายถึง ผู้ที่มีสติปัญญาอันอ่อนด้อยหรือไม่มีสติปัญญา ที่จักพิจารณาใคร่ครวญ แยกแยะให้รู้ชัดในความจริงอันประเสริฐ เมื่อไม่รู้ชัดในความจริง ตัณหาความทะยานยาก อุปาทาน ความยึดถือก็บังเกิด นี่คือลักษณะของคนโง่ที่พร้อมจะตกเป็นทาส
คำว่า โลกเล่น หมายถึง การเข้าไปยึดถือในสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา และสิ่งของนั้นๆ ว่าเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ รวมทั้งต้องการให้มันมีอยู่จริง ทั้งที่เป็นเพียงภาพมายา
บัณฑิตผู้ฉลาดจึงไม่ยึดติดในอะไร อะไรอีก อยู่ในโลกอย่างเป็นผู้รู้จักสมมุติ ใช้สมมุติ ได้ประโยชน์จากสมมุติ ให้ประโยชน์แก่สมมุติ ท้ายที่สุด ก็ไม่ยึดติดในสิ่งที่เป็นสมมุติ
เจริญธรรม
พุทธะอิสระ
——————————————–
——————————————–
Question and Answer
December 2, 2024
Someone said I do not understand a Dhamma stanza of Buddha Isara.
My dearest children, would you understand the meaning of this message?
This world is just a toy for the wise.
Only silly people are manipulated by the world.
Please explain its meaning.”
My answer:
The world means all living creatures and non-living objects.
The wise means anybody who perceives noble truths such as the Four Noble Truths.
Perceive suffering
Perceive the cause of suffering
Perceive cessation of suffering
Perceive practices leading to the cessation of suffering
Perceive the mechanism of Karma in which all living creatures, with and without mental formations, are subject to the law of Karma or their deeds.
And perceive the following Common Characteristics.
Impermanence
Being subject to suffering
Non-self
Toy symbolizes a phenomenon in which things are made up of pre-existing causes, resulting in hypothetical statuses and duties. Then, they are named animals, humans, we, them, and various objects.
The wise view them only as toys, similar to the following proverb of the Buddha.
Etha passathiraṃ lokaṃ cittaṃ rājarathūpamaṃ
Yattha bālā visīdanti natthi saṅgo vijānataṃ.
Come! Behold this world, which is like a decorated royal chariot. Here, the fools flounder, but the wise have no attachment to it.
The fools have too limited or no wisdom to review, contemplate, classify, and perceive the noble truths. Owing to their unclear understanding regarding truths, desires, attachments, and clinging occur. These are characteristics of the fools who succumb to slavery.
Being manipulated by the world is when one feels attached to animals, persons, self, us, and them, assuming that they are permanent and wanting them to exist, although these are illusions.
As a result, the wise do not attach themselves to anything. The wise live in this world by perceiving that everything is hypothetical. The wise use and obtain benefits from hypothetical objects. Then, the wise do favorable things towards these hypothetical objects. Finally, the wise are not attached to any hypothetical object.
Buddha Isara
——————————————–
Previous article : https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/pfbid0B8oWLMgaxAqkTpXyyZmCaXvdPwe2XR95riaRbCreZ17CrqGcjRWDTHtzxAvbQf5bl