กโปตกชาดก
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ปรารภภิกษุผู้มีนิสัยโลเลรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ด้วยพระคาถาว่า โย อตฺถกามสฺส ดังนี้.
ในเวลาต่อมา ภิกษุทั้งหลายนำภิกษุนั้นมา กราบทูลพระศาสดาว่า พระเจ้าข้า ภิกษุนี้ มีนิสัยโลเล.
ลำดับนั้น พระบรมศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า จริงหรือภิกษุ ที่เขาว่า เธอมีนิสัยโลเล.
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริง พระเจ้าข้า.
พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอหาใช่เป็นผู้มีนิสัยโลเลแต่ชาตินี้ก็หาไม่แม้ในครั้งก่อน เธอก็เป็นคนมีนิสัยโลเล สิ้นชีวิตเพราะความโลเลของตน แม้บัณฑิตผู้อาศัยเธอ ก็ต้องพลัดพรากจากที่อยู่ไปด้วย.
แล้วทรงนำเอาเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีตมาสาธกว่า
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ อยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกพิราบ. ในครั้งนั้น ชาวเมืองพาราณสีพากันแขวนกระเช้าหญ้าไว้ในที่นั้นๆ เพื่อให้ฝูงนกอาศัยอยู่อย่างสบาย เพราะความเป็นผู้มีจิตกรุณา ปรารถนาจักอนุเคราะห์แก่สรรพสัตว์
ในครั้งนั้น แม้พ่อครัวของท่านเศรษฐี แห่งกรุงพาราณสี ก็แขวนกระเช้าหญ้าไว้ ภายในโรงครัวกระเช้าหนึ่งเหมือนกัน.
นกพิราบผู้โพธิสัตว์ได้เข้าอยู่ในกระเช้านั้น. รุ่งเช้า ก็บินออกเที่ยวหากิน เวลาเย็น จึงบินกลับมาหลับนอนในโรงครัวนั้น เป็นดังนี้ ตลอดกาล.
อยู่มาวันหนึ่ง กาตัวหนึ่งบินข้ามโรงครัวไป สูดกลิ่นตลบอบอวนของรสเปรี้ยว รสเค็ม กลิ่นของปลาและเนื้อ จึงเกิดความโลภขึ้น คิดว่า จักอาศัยใครหนอ เราจึงจักได้ปลาและเนื้อนี้มา
คิดแล้ว ก็เกาะอยู่ ณ ที่ไม่ไกล คอยสอดส่ายหาลู่ทาง พอเย็น จึงเห็นนกพระโพธิสัตว์บินมา แล้วเข้าไปสู่โรงครัว จึงได้คิดว่า ต้องอาศัยนกพิราบนี้ ถึงจักได้กินเนื้อ.
ครั้นรุ่งขึ้นกาตัวนั้นจึงบินมาแต่เช้า ในเวลาที่พระโพธิสัตว์บินออกไปหากิน ก็บินตามไปข้างหลังๆ.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงกล่าวกะกาว่า สหาย เหตุไร ท่านจึงเอาแต่บินตามเรา.
กาตอบว่า นาย ข้าพเจ้าชอบใจกิริยาของท่าน ตั้งแต่บัดนี้ไป ข้าพเจ้าขอปรนนิบัติท่าน.
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พวกท่านมีอาหารอย่างหนึ่ง พวกเรามีอาหารอีกอย่างหนึ่ง กินไม่เหมือนกัน การปรนนิบัติของพวกท่าน ท่านกระทำได้ยาก.
กาตอบว่า “นาย เวลาท่านบิน ไปหากิน ข้าพเจ้าก็บินไปหากิน บินไปกับท่าน”.
พระโพธิสัตว์กล่าว ดีแล้ว ขอท่านพึงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด
พระโพธิสัตว์กล่าวสอนกาอย่างนี้แล้ว จึงเที่ยวแสวงหาอาหาร กินอาหารมีพืชพรรณติณชาติ เป็นต้น ในเวลาที่พระโพธิสัตว์กำลังหากิน กาก็บินไปพบกองขี้วัวจึงคุ้ย แล้วจิกกินตัวหนอน พอเต็มกระเพาะ ก็มาสู่สำนักพระโพธิสัตว์ พลางกล่าวว่า “นี่แน่ะนาย ท่านเที่ยวเกินเวลา การทำตนให้ได้นามว่า เป็นผู้ตะกละตะกลาม หาควรไม่”. ดังนี้แล้ว เข้าไปสู่โรงครัว พร้อมกับพระโพธิสัตว์
พ่อครัวกล่าวว่า นกพิราบของเราพานกตัวอื่นมาอยู่ด้วยหละหรือ ดังนี้แล้ว ก็แขวนกระเช้าให้กาอยู่ นับแต่นั้นนกพิราบพระโพธิสัตว์อยู่ด้วยกันกับกาสองตัวภายในโรงครัวนั้น
อยู่มาวันหนึ่ง คนทั้งหลายนำปลาและเนื้อ มาให้ท่านเศรษฐีเป็นจำนวนมาก. พ่อครัวก็รับมาแขวนไว้ในโรงครัว กาเห็นแล้ว ก็เกิดความโลภ คิดในใจว่า พรุ่งนี้ เราจักไม่ออกไปหากินละ เราจะกินปลาและเนื้ออยู่ที่นี่แหละ แล้วก็นอนรอเวลาอยู่ตลอดทั้งคืน.
รุ่งเช้า พระโพธิสัตว์จะไปหากิน จึงเรียกกาว่า มาเถิด กาผู้เป็นสหาย.
กาตอบว่า “นาย ท่านไปเถิด ข้าพเจ้ากำลังปวดท้อง”.
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า สหายเอ๋ย ธรรมดา โรคปวดท้องไม่เคยเป็นแก่พวกกาเลย แต่ไหนแต่ไรมา ในยามทั้ง ๓ ตลอดราตรี กาย่อมหิวทุกๆ ยาม ถึงจะกลืนกินใส้ประทีปเข้าไป กาก็จะอิ่มอยู่ชั่วครู่หนึ่ง ชะรอย ท่านจักอยากกินปลาและเนื้อที่มีอยู่ในที่นี้ มาเถิดกาขึ้นชื่อว่า ของกินของมนุษย์ เป็นของที่พวกท่านไม่ควรกิน อย่าทำเช่นนี้เลย ไปหากินด้วยกันกับเราเถิด.
กาตอบว่า นาย ข้าพเจ้าไม่สามารถจะไปได้.
พระโพธิสัตว์จึงเตือนว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจักต้องรับผลแห่งกรรมของตน ท่านอย่าตกอยู่ในความโลภ จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ดังนี้แล้ว ก็บินไปหากิน.
เช้าวันนั้นพ่อครัวก็เข้ามาปรุงอาหารต่างๆ หลากหลายชนิดด้วยปลาและเนื้อ เสร็จแล้ว ก็เปิดภาชนะไว้หน่อยหนึ่ง เพื่อให้ความร้อนระเหยไปให้หมด วางกระชอนไว้บนภาชนะอีกทีหนึ่ง แล้วก็ออกไปข้างนอก ยืนเช็ดเหงื่ออยู่.
ขณะนั้น กาก็โผล่ศีรษะขึ้นมาจากกระเช้า มองดูโรงครัวทั่วไป รู้ว่า พ่อครัวออกไปข้างนอก จึงคิดว่า บัดนี้ ความปรารถนาของเราสมประสงค์แล้ว เราอยากจะกินเนื้อ จะกินเนื้อชิ้นใหญ่ หรือเนื้อชิ้นเล็กดีหนอ. ครั้นแล้ว ก็เล็งเห็นว่า ธรรมดา เนื้อชิ้นเล็กๆ เราไม่อาจกินให้เต็มกระเพาะได้รวดเร็ว เราจะต้องคว้าก้อนใหญ่ๆ มาทิ้งไว้ในกระเช้า เอาไว้นอนจิกกินจึงจะดี. แล้วก็โผออกจากกระเช้า ลงไปแอบอยู่ ใกล้กระชอน. เสียงกระชอนดังกริ๊กๆ.
พ่อครัวฟังเสียงนั้นแล้วนึกว่า นั่นเสียงอะไรหนอ? กลับเข้าไปดู เห็นกา แล้วก็ดำริว่า การะยำตัวนี้มุ่งจะกินเนื้อทอดของมหาเศรษฐี ก็ตัวเราต้องอาศัยท่านเศรษฐีเลี้ยงชีวิต มิใช่อาศัยกาพาลตัวนี้ จะเอามันไว้ใย? แล้วปิดประตู ต้อนจับกาได้ ถอนขนเสียหมดตัว เอาขิงสดโขลกเคล้ากับเกลือป่น คลุกกับเนยเปรี้ยว ทาจนทั่วตัวกานั้น แล้วเหวี่ยงลงไปในกระเช้าของมัน. กาเจ็บแสบแสนสาหัส นอนหายใจรวยรินอยู่.
ครั้นเวลาเย็น พระโพธิสัตว์บินกลับมา เห็นกาประสพความฉิบหาย จึงพูดว่า ดูก่อนเจ้ากาโลเล เจ้าไม่เชื่อฟังคำของเรา อาศัยความโลภของเจ้าเป็นเหตุ จึงต้องประสพทุกข์อย่างใหญ่หลวง ดังนี้.
แล้วกล่าวคาถาขึ้น ความว่า :-
บุคคลใด เมื่อท่านผู้หวังดีมีความเอ็นดู ให้การเกื้อกูล กล่าวสอนอยู่ แต่กลับมิได้กระทำตามคำสอน บุคคลนั้นจะต้องนอนระทม เหมือนกาไม่กระทำตามถ้อยคำของนกพิราบ ตกไปในเงื้อมมือของอมิตร นอนหายใจรวยรินอยู่ ฉะนั้น. ดังนี้.
พระโพธิสัตว์กล่าวคาถานี้แล้ว คิดว่า บัดนี้ เราก็ไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้ จึงบินไปอยู่ที่อื่น แม้กาก็สิ้นชีวิตอยู่ในกระเช้านั้นเอง พ่อครัวจึงเอามันไปทั้งกระเช้า ทิ้งเสียที่กองขยะ.
พระบรมศาสดาจึงทรงตรัสย้ำว่า ดูก่อนภิกษุ มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่เธอเป็นคนโลเล แม้ในปางก่อน ก็เป็นผู้โลเลเหมือนกัน ก็ถึงแม้ผู้ที่เป็นบัณฑิต (หมายถึง นกพิราบพระโพธิสัตว์) ด้วยความโลเลของเธอนั้น ทำให้นกพิราบต้องออกจากที่อยู่ของตนไปด้วย.
ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศอริยสัจ.
ในเวลาจบการประกาศอริยสัจ ภิกษุนั้นบรรลุอนาคามิผล.
พระบรมศาสดาทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดก ว่า
กาในครั้งนั้น เป็นภิกษุผู้โลเล ในครั้งนี้
นกพิราบในครั้งนั้น คือ เราตถาคต ฉะนี้แล.
ผู้คนสมัยนี้บางคนก็มีนิสัยโลเลอยู่มิใช่น้อย
เจริญธรรม
พุทธะอิสระ
——————————————–
อ่านย้อนหลัง : https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/pfbid0MSYZY5SUbmvPyY19rYCWFqvqihFZj3kc871RfFhSj13a4waCBozErTNPt94n4HABl
——————————————–
Kapota-jātaka (a story of the former birth of the Gautama Buddha)
February 3, 2568
The Buddha, residing at the Jetavana monastery, preached a sermon concerning a fickle monk, using the following prayer: Yo atthakamassa.
Monks later took that monk in and reported to the Buddha: “Lord, this monk is fickle.” The Buddha asked that monk: “Monk, is it true as they say that you are fickle?” The monk replied: “Yes, sir.”
The Buddha then said: “So too in bygone days, Monk, you were fickle, and because of your fickleness, you lost your life and also caused the pundit to lose his home.”
Then the Buddha told a story that had happened in the past.
In the past, when King Brahmadatta was ruling the city of Benares, the Bodhisatta was born as a pigeon. In those days, the people of Benares hung up straw baskets for the shelter and comfort of the birds, out of compassion and the desire to have compassion for all living beings.
At that time, even the chef of a wealthy merchant of Benares hung a basket of grass in the kitchen. The Bodhisatta pigeon took up his abode. In the morning, it flew out to look for food. In the evening, it flew back to sleep in the kitchen. It did so all the time.
One day, a crow flew across the kitchen and smelled the strong smell of sour and salty fish and meat. It became greedy, thinking, “Who can I rely on to get this fish and meat?”
The crow stayed not far away and kept looking for a way. In the evening, it saw the Bodhisatta pigeon fly into the kitchen. It thought, “I must rely on this pigeon to get this fish and meat.”
The next morning, the crow flew in. When the Bodhisatta flew out to look for food, it flew behind him. Then the Bodhisatta said to the crow, “Friend, why do you keep flying after me?” The crow replied, “Master, I am pleased with your behavior. From now on, I will serve you.”
The Bodhisatta said, “You have one kind of food, and I have another. We eat different kinds of food. It is difficult for you to serve me.”
The crow replied, “Master, when you fly to find food, I also fly to find food with you.”
The Bodhisatta said, “Good. You should be cautious.”
The Bodhisatta taught the crow and went out looking for food such as plants and flowers. While the Bodhisatta was looking for food, the crow flew to a pile of cow dung, dug it up, and ate worms. When its stomach was full, it came to the Bodhisatta, saying, “Master, you are wandering beyond your time. It is not proper to be called a glutton.” Then, the crow flew into the kitchen together with the Bodhisatta.
The cook said, “Has my pigeon brought another bird to live with it?” So, he hung a basket for the crow to stay in.
From then on, the Bodhisatta pigeon lived with the crow in the kitchen.
One day, people brought a lot of fish and meat to the rich man. The cook hung them in the kitchen. Seeing them, the crow became greedy and thought, “I will not go out to find food tomorrow. I will eat fish and meat here.” Then it lay down and waited for the right time all night.
The next morning, the Bodhisatta went to find food and called the crow, “Come, my friend.”
The crow replied, “Go without me, my lord; for I have a stomachache.”
The Bodhisatta said, “Friend, I never heard of crows having stomachaches before. True, crows feel faint in each of the three night watches. If they eat a lamp-wick, their hunger is appeased for the moment. Perhaps you want to eat the fish and meat here. Come, crow, you should not eat human food. Do not do that. Come and find food with me.”
The crows replied, “Sir, I cannot go.”
The Bodhisatta warned the crow, “As such, you have to accept the consequences of your actions. Do not fall into greed. Be careful. ” Then, the Bodhisatta flew to find food.
That morning, the chef cooked various foods with fish and meat. After finishing cooking, he opened the container a little to let the heat evaporate. He placed the strainer on the container again and went outside wiping his sweat.
At that moment, the crow poked its head out of the basket and looked at the kitchen. It knew that the chef had gone out. It thought, “Now my wish has become true. I want to eat meat. Should I eat a big piece or a small piece?” Then, it thought that normally it cannot quickly fill its stomach with small pieces of meat. Thus, it grabbed a big piece and left it in the basket for pecking at the meat later. Then it flew out of the basket and hid near the strainer. The strainer made a clicking sound.
The chef heard the sound and thought, “What is that sound?” He went back and saw the crow. He thought, “This crow is trying to eat the rich man’s fried meat. I depend on the rich man for my livelihood, not this evil crow. Why should I keep it?” He closed the door and caught the crow. He plucked out all its feathers. He ground fresh ginger, mixed it with salt and sour butter, spread it all over the crow, and threw it into the basket. The crow was in great pain, lying there breathing faintly.
When evening came, the Bodhisatta returned, seeing the crow in misery, and said, “Fickle crow, you have not listened to my words. Because of your greed, you have suffered greatly.” Then he uttered a verse, which read:
“A person taught by a kind and compassionate well-wisher who supports him, but does not act according to his teaching, will lie in misery. Like a crow who does not act according to the words of a dove, falling into the clutches of an enemy, and lies there breathing faintly. “
The Bodhisatta, having uttered this stanza, thought that “I too can no longer dwell here.” So, the Bodhisatta pigeon flew away to live somewhere else. The crow died in that basket, and the cook took it all away and threw it in the garbage heap.
The Buddha then emphasized, “Monk, you are not only fickle now, in the past, you were also fickle. Even the wise (meaning the Bodhisatta pigeon) had to leave its dwelling place because of your fickleness.
Having delivered this sermon, the Buddha announced the Noble Truths.
At the end of the announcement of the Noble Truths, the monk attained the Anagami stage (one who has attained the fruit or result of a Non-Returner).
Then, the Buddha showed the connection and identified the Birth as follows:
“The fickle monk was the crow of those times and I was the pigeon.”
Some people nowadays have fickle natures.
Wishing you progress in practicing the Dhamma.
Buddha Isara
——————————————–
Previous article : https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/pfbid0MSYZY5SUbmvPyY19rYCWFqvqihFZj3kc871RfFhSj13a4waCBozErTNPt94n4HABl