เพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของความมั่นคง

0
26

เพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของความมั่นคง
๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๗

ว่าจะไม่เขียน ไม่วิจารณ์ เรื่องการเมืองแล้วเชียวนา แต่ก็ยังมีคนไต่ถามเข้ามาในประเด็นแต่งตั้งคนมีคดีทุจริต ให้เข้ามาเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกของรัฐบาลนายเศรษฐา แห่งพรรคเพื่อไทย

วันนี้ก็ขอหยิบยกมาสรุปคราวๆ ให้ทราบกันพอเป็นสังเขปก็แล้วกัน

ก่อนอื่นก็ต้องให้เครดิตแก่บรรดาท่าน ๔๐ สว. ที่นำโดยท่าน สว.สมชาย แสวงการ ที่ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงปกป้องผลประโยชน์ของชาติ ประชาชน

ที่ได้นำเรื่อง เสนอแต่งตั้งรัฐมนตรีโดยมิชอบ จนกลายเป็นคดีความไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญ

ทั้งที่ก่อนหน้าที่จักแต่งตั้ง ประชาชนหลายกลุ่ม หลายสาขาอาชีพก็ส่งเสียงคัดค้าน แต่ตัวนายกฯ ก็ออกมาฟอกขาวให้รัฐมนตรีผู้มีปัญหา จนถึงขนาดเจ้าตัวรัฐมนตรีเอง คือ นายพิชิต ชื่นบาน ก็ออกมาให้สัมภาษณ์แก่นักข่าวว่า ขอโอกาสทำงาน ขอให้ดูที่ผลงาน

เมื่อ สว.ทั้ง ๔๐ ท่าน เขาได้เห็นว่า นี่มันเป็นการละเมิดกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ว่าด้วย คุณสมบัติต้องห้ามของบุคคล ผู้จะมาดำรงตำแหน่งทางการเมือง และองค์กรอิสระ ตามมาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕) ที่บัญญัติว่า

รัฐมนตรีต้อง

(๔) มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์.

(๕) ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

ซี่งก็สอดคล้องกับพฤติกรรมของนายพิชิต ชื่นบาน ที่ต้องคดีติดสินบนศาล คดีถุงขนม กรณีนายพิชิต ชื่นบาน และพวก ขณะที่เป็นทนายความของนายทักษิณ นายพิชิตและพวกได้นำเงินใส่ถุงกระดาษไปติดสินบนเจ้าหน้าที่ศาลฎีกา แผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ด้วยเงินสองล้านบาท โดยคำอ้างที่ว่า เป็นค่าตอบแทนความเหนื่อยยากของเจ้าหน้าที่ศาล

ในขณะที่ศาลกำลังพิจารณาคดีของนายทักษิณและคุณหญิงพจมานในคดีที่ดินย่านรัชดาภิเษก
ด้วยพฤติกรรมทุจริต ติดสินบนของทนายพิชิตและพวกอีก ๓ คน เข้าข่ายละเมิดอำนาจศาล และติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ จึงถูกดำเนินคดี และเป็นตราบาปติดตัวมาจนถึงวันนี้

ทั้งยังเป็นบุคคลต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญในเรื่องความโปร่งใส และขัดหลักประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและองค์กรอิสระ

แต่นายเศรษฐา ทวีสินนายกรัฐมนตรี กลับนำชื่อนายพิชิต ชื่นบาน เสนอขึ้นทูลเกล้าฯเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ทั้งที่มีคุณสมบัติต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญและผิดระเบียบสำนักนายก แม้จะมีการไต่ถามไปทางกฤษฎีกา แต่ก็ใช้วิธีเลี่ยงบาลีและบิดเบือนข้อเท็จจริงในการตั้งคำถามต่อกฤษฎีกา เมื่อได้คำตอบมาแล้วก็มา ให้ข้อมูลแก่สังคมและประชาชนแบบประมาณว่า ถามหมูตอบควาย ทำให้เข้าใจผิดว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจสอบคุณสมบัติของนายพิชิต ชื่นบาน เรียบร้อยแล้วว่าไม่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งสิ่งที่นายกถามไป มันคนละเรื่องกับข้อห้ามตามรัฐธรรมนูญ ประมาณว่า ช่วยกันเต็มที่ จนกลายเป็นบุคคลที่ไม่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 160 (4)และ(5)

ทีนี้เรามาลองตามมาดูไทม์ไลน์คำตอบของคณะกรรมการกฤษฎีกาฉบับลงวันที่ 1 กันยายน 2566 ยังไม่ได้วินิจฉัยคุณสมบัติที่ตามมาตรา 160 (4)และ(5) ซึ่งเป็นลักษณะต้องห้าม แล้วเหตุผลอะไร ที่ทำให้นายกเศรษฐา ถึงได้ใจกล้าที่จักนำนายพิชิต เข้ามาเป็นรัฐมนตรี เหตุก็มาจากนายกได้เข้าพบ นายทักษิณ ชินวัตรซึ่งมี นายพิชิต ชื่นบาน เป็นหัวหน้าทนายความประจำตัวนั่งอยู่ด้วย และนายกได้เข้าพบนายทักษิณไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ก่อนการเสนอทูลเกล้าฯ แต่งตั้งนายพิชิตให้เป็นรัฐมนตรี จึงเชื่อได้ว่า นายกเศรษฐา อาจมีเจตนาไม่สุจริตในกรณีบิดเบือนข้อเท็จจริงในการให้ข้อมูลแก่สังคมและประชาชนและประกอบกับการที่ นายกเศรษฐาได้เข้าพบครั้งที่ 3 ในวันที่ 12 เมษายน 2567 ก่อนวันนำชื่อนายพิชิต ขึ้นทูลเกล้าฯ ในวันที่ 27 เมษายน 2567 จึงอาจทำให้เชื่อได้ว่านายก ต้องการเอื้อประโยชน์ให้แก่นายทักษิณ ชินวัตร

ทั้งที่นายก รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่านายพิชิตเคยมีปัญหาเรื่องความสุจริต ได้กระทำความผิดตามคำสั่งศาลฎีกาที่ ๔๕๙๙/๒๕๕๑ และต่อมาสภาทนายความมีมติลงโทษให้ลบชื่อนายพิชิต ชื่นบาน ออกจากทะเบียนทนายความแสดงว่านายพิชิต ชื่นบาน เป็นบุคคลที่มีการกระทำการอันเป็นการไม่ซื่อสัตย์สุจริตและฝ่าฝืนจริยธรรมอย่างร้ายแรงนายพิชิต จึงเป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามเป็นรัฐมนตรี

การกระทำของนายกรัฐมนตรี ที่เสนอทูลเกล้าแต่งตั้ง นายพิชิต ชื่นบาน เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2567 ให้ได้เป็นรัฐมนตรี จึงเป็นการกระทำด้วยความไม่ซื่อสัตย์สุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่มีพฤติกรรมที่รู้เห็นและยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เป็นการกระทำที่ขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม ทั้งนี้ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย ต่อเกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นการคบค้าสมาคมกับผู้มีความประพฤติหรือผู้มีชื่อเสียงในทางเสื่อมเสียอันอาจกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่อาจทำให้ ขาดคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (4) โดยเหตุขาดความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์และการกระทำของนายก มีลักษณะต้องห้ามความเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 160 (5) ด้วยเหตุนายก ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมที่ใช้บังคับกับคณะรัฐมนตรีดังนี้

ข้อ 7 ต้องถือว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าผลประโยชน์ส่วนตน

ข้อ 8 ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเพื่อตนเองหรือผู้อื่นและมีพฤติการณ์ที่รู้หรือเห็น หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ

ข้อ 11 ไม่กระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

ข้อ 17 ไม่กระทำการใดที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่ง

ข้อ 19 ไม่คบหาสมาคมกับคู่กรณีผู้ประพฤติผิดกฎหมายผู้มีอิทธิพลหรือผู้มีความประพฤติหรือผู้มีชื่อเสียงในทางเสื่อมเสียอันอาจกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่

เวลาต่อมา ท่านสมาชิกวุฒิสภาทั้ง 40 คน จึงร้องขอให้ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องฉบับนี้เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรค 3 ประกอบมาตรา 82 ว่าด้วยความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐาทวีสินนายกรัฐมนตรีผู้ถูกร้องที่ 1 และนายพิชิตชื่นบานและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีผู้ปกครองที่ 2 สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรค 1(4) (5)

ทีนี้เราก็ลองมาดูขอโต้แย้งบางข้อ บางประเด็น ของฝ่ายนายกเศรษฐา ได้โต้แย้งว่า

เหตุการณ์ที่นายพิชิต ได้ถูกศาลฎีกาลงโทษจำคุกในฐานความผิดละเมิดอำนาจศาล และได้ถูกลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ ผ่านมา ๑๕ ปีแล้ว ทั้งยังไม่มีพฤติกรรมหรือการกระทำผิดใหม่เกิดขึ้น

ตัวนายกเองก็ไม่มีภูมิหลัง การศึกษาด้านนิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ มีประสบการณ์ทางการเมือง และการบริหารราชการแผ่นดินจำกัด

ซึ่งมิอาจรู้หรือสมควรรู้ว่า นายพิชิต ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่

ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นอำนาจการวินิจฉัยชี้ขาดของศาลรัฐธรรมนูญตามกฎหมาย

(ความเห็นของพุทธะอิสระ หากนายกเศรษฐา ใช้ตรรกะนี้เพื่อเลี่ยงความผิด ต่อไปคนทั้งประเทศก็คงนำมาอ้างต่อเจ้าหน้าที่รัฐได้บ้างว่า หนูไม่รู้กฎหมาย นายกจะยอมไหม)

พุทธะอิสระ

——————————————–

ลิ้งค์จาก : https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/pfbid0E8ToXDAJm1oXwKHjSv4YaQF8WnZ3nSCSUwAgDEZVstvj9buY9Zy9QRhqoxqJQQuel

——————————————–

For the sake of national security
June 20, 2024

Initially, I thought I would not write about or criticize political issues. Nevertheless, someone asked me about the government under Prime Minister Srettha Thavisin appointing someone formerly sentenced on a bribery case as the new Prime Minister’s Office minister.

Today, I would like to share just a summary with you.

First, we should give credit to the group of 40 senators led by Senator Somchai Sawaengkarn, who served as spokesperson to protect the country’s and people’s benefits. The 40 senators petitioned the Constitutional Court on the Cabinet appointment that they believed had breached the Constitution.

Before the official appointment, people from various occupations had opposed it. Nevertheless, the Prime Minister gave excuses on behalf of the problematic minister, and the minister himself, Pichit Chuenban, told news reporters that he would like to have a chance to work and people should see his performance first.

The 40 senators deem this appointment to be a violation of Section 160 (4) and (5) regarding the qualifications of a minister.

Section 160. A Minister must :

(4) be of evident integrity.

(5) not exhibit behavior that is a serious violation or failure to comply with ethical standards.

Pichit should not be qualified to serve as a minister. As a legal advisor of former Prime Minister Thaksin Shinawatra, Pichit attempted to bribe judges with 2 million baht in cash in a case against former PM Thaksin Shinawatra. Pichit claimed that the money was to reward the hard work of the court officials, during the trial in the Ratchada land case involving former prime minister Thaksin Shinawatra and his former wife, Potjaman Shinawatra.

Due to their bribery behaviors, Pichit and the other two junior lawyers who violated the judicial power and bribed civil servants were legally persecuted and sentenced as malefactors. According to the Constitution, his legal offense contradicts the transparency and ethical standards of political officials or independent organization’s officials.

Even though Pichit was ineligible according to the Constitution and the PM Office’s regulations, Prime Minister Srettha submitted his name for royal endorsement as PM Office minister.

Though the Prime Minister asked the Office of the Council of State, the PM used twisted logic and distorted some facts in his query.  After receiving the reply from the Office of the Council of State, the PM shared the information with society and people.
People asked the PM one thing, but he replied another, which misled people to believe that the Office of the Council of State had already verified the qualifications of Pichit Chuenban and that he qualified according to the Constitution. In other words, the PM supported Pichit so that he would not fail Section 160(4) and (5) of the Constitution.

Let’s have a look at the timeline of the reply from the Office of the Council of State dated September 1, 2023, in which it had not yet scrutinized Pichit’s qualifications according to Section 160(4) and (5) of the Constitution. What was the reason why the PM appointed Pichit as a minister?

The PM visited Thaksin Shinawatra when Pichit Chuenban, his attorney, was there with him. The PM met Thaksin no less than three times before submitting names of new cabinet members for royal endorsement; this might indicate an intention of Prime Minister Srettha to distort some information to the public. The third time that Prime Minister Srettha met Thaksin was on April 12, 2024, before submitting names of new cabinet members for royal endorsement on April 27, 2024; this could be the PM’s intention to do a favor for Thaksin Shinawatra.

The PM knew or should have already known that Pichit had an issue with integrity and committed a legal offense according to the Supreme Court’s verdict number 4599/2551. Later, the Lawyers Council agreed to delete Pichit Chuenban from the Registration of Lawyers; this indicated that Pichit seriously violated the ethical standards and was ineligible to be a minister.

The submission of Pichit’s name for royal endorsement on Apil 27, 2024, was dishonest conduct towards his official duties.
The PM let other people exploit his power in an unethical manner and indicated a conflict of interest, whether directly or indirectly. His conduct has damaged the dignity of the prime minister. His company with notorious people has impacted the faith of the public.  Consequently, his conduct might be deemed unqualified as a minister according to Section 160(4) and (5) of the Constitution because he failed to comply with the following ethical standards of cabinet members.

7. must hold national interest above personal interest

8. must perform duties with honesty, without seeking benefits for oneself or other people, and must not let other people unrighteously seek benefits

11. must not have any conflict of interest, whether directly or indirectly

17. must not have any defamatory action that damages the dignity of the official title

18 must not associate with legal offenders, criminals, or people with notorious behaviors that could damage the faith of the public

Later, the group of 40 senators submitted a petition to the President of the Senate to request for the Constitutional Court’s verdict under the Constitution Section 170, Section 82 that Srettha Thaweesin, the 1 st Plaintiff, and Pichit Chuenban, the 2 nd Plaintiff, ended exclusively under the Constitution Section 170 Paragraph 1 (4) (5), which is under the judicial power of the Constitutional Court.

Let’s look at some of the defenses from the Prime Minister.
Pichit was sentenced by On June 25, 2008, the Supreme Court sentenced Pichit and two of his colleagues to six months in prison for contempt of court in connection with attempted bribery. PM argued that this wrongdoing occurred 15 years ago, and since then, Pichit has not done any new legal offense.
The PM himself does not have any educational background in law or economics. He also has limited experience in politics and national administration. Hence, the PM would not know that Pichit was not qualified and possessed prohibited qualifications according to Section 160 (4) and (5) of the Constitution.

(Buddha Isara’s opinion : If Prime Minister Srettha used this logic to avoid responsibility, will the Prime Minister accept if, in the future, people in this country will use this excuse that they don’t know about the law?)

Buddha Isara

——————————————–

Previous article : https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/pfbid0E8ToXDAJm1oXwKHjSv4YaQF8WnZ3nSCSUwAgDEZVstvj9buY9Zy9QRhqoxqJQQuel