เรามาช่วยกันวิสัชนากรรมทั้ง ๑๒ อาการ ให้แจ่มชัดกันดูซักหน่อย (ตอนที่ ๑๑)
๑ เมษายน ๒๕๖๕
คราวที่แล้วได้หยิบยกเอากรรม ๑๒ มาวิสัชนาแก่ผู้สงสัยไปในระดับหนึ่งไปแล้ว
แต่ดู ดู เหมือนผู้รับรู้รับฟัง ยังจะไม่แจ่มชัดถึงรากเหง้าของกรรมทั้งปวง
วันนี้จึงขอนำกรรมทั้ง ๑๒ อาการ มาอธิบายขยายความให้ท่านทั้งหลายได้เข้าใจ ให้แจ่มชัดมากยิ่งขึ้น หรือไม่ บางคนมีสติปัญญากล้าแข็ง อาจรู้สึกสว่าง กระจ่างแจ้งขึ้นมาบ้างก็เป็นได้
*********************************************
กรรมหมวดที่ ๑๒ กตัตตากรรม กรรมที่กระทำโดยมิได้ตั้งใจ หรือทำด้วยเจตนาอันอ่อน
กตัตตากรรม เมื่อเข้าแทรกแซงให้ผล คนโบร่ำโบราณท่านจะเรียกว่า ลมเพลมพัด หรืออาจจะเรียกว่า ถูกคุณไสย ถูกของ (ที่จริงก็คือ ของที่ชอบๆ กันทั้งนั้น) ถูกกระทำของใส่อะไรประมาณนี้
แต่ผลแห่งกตัตตากรรมจะให้ผลได้ ก็ต่อเมื่อไม่มีกรรมใดๆ เข้าแทรกแซงให้ผลแล้วเท่านั้น
ลักษณะอาการที่กตัตตากรรมนี้ให้ผล คือ
– ที่ผ่านมาก็ดีต่อกันมาตลอด แต่ทำไมวันนี้เรากลับหมางเมิน ห่างเหิน กันไปได้อย่างไร
– ชีวิตดีมาตลอด การงานก็ดี การเงินก็ดี ครอบครัวก็ดี อยู่ๆ ก็เกิดคนในครอบครัวสุขภาพไม่ดีหรือไม่ตนเองก็สร้างปัญหาให้กับครอบครัวเสียเอง เช่นนี้เป็นต้น
– แม้ในฝ่ายกุศล กตัตตากรรมก็อาจเข้าให้ผลให้ได้รับสิ่งที่ไม่เคยได้รับ จนกลายเป็นความเจริญรุ่งเรือง เช่น พวกลาภลอย มีโชค ได้วาสนา เจริญทรัพย์
หรือ ปฏิบัติธรรมแบบพื้นๆ ธรรมดาๆ ยังไม่รู้ว่าจะเจริญก้าวหน้าในธรรมนั้นอย่างไร
แต่อยู่ๆ ก็มีเสียงหรือผู้ที่ไม่รู้จักมาแนะนำชี้ทาง ให้เจริญก้าวหน้าในธรรมนั้นๆ
กตัตตากรรม กรรมที่เกิดจากความไม่มีเจตนา หรือ เจตนาอ่อนมากๆ แต่ก็ยังสามารถรอโอกาสให้ผลได้อยู่ เมื่อใดที่ไม่มีกรรมอื่นใดมาให้ผลแล้ว
อีกทั้งกตัตตากรรม มิได้ให้ผลอยู่นาน หากมีผลแห่งกรรมอื่นที่มากกว่า หนักกว่า เข้าแทรกแซง กตัตตากรรมก็จะหยุดยั้งการให้ผลทันที
กรรมทั้ง ๑๒ ที่หยิบยกมาอธิบาย ขยายความ แม้จะไม่ละเอียดถี่ถ้วน ดังที่องค์พระบรมศาสดาทรงแสดงไว้
แต่ท่านทั้งหลายก็น่าที่จะพอทำความเข้าใจในขั้นต้น อันจะนำมาบริหารจัดการ เลือกสรรกระทำกรรมที่เป็นคุณเป็นประโยชน์ที่ดีที่สุด จักได้รับผลในทางดีงาม รุ่งเรืองเจริญ
แต่หากปล่อยชีวิตให้มันเป็นไปตามยถากรรม ตามความเชื่อเรื่องกรรมของลัทธินอกพุทธศาสนา มันจะเหมือนกับมนุษย์หรือสัตว์ที่ตกลงน้ำแล้วไม่ขวนขวายแหวกว่ายเข้าฝั่ง รอให้น้ำพัดพาเข้าฝั่งเอง สุดท้ายก็หมดแรงจมน้ำตายในที่สุด
ฉะนั้นการเชื่อกรรมในทางผิดๆ มันจะทำให้ผู้เชื่อกลายเป็นคนไร้สาระ ไร้ประโยชน์ ไร้เหตุ ไร้ผล เป็นโมฆบุรุษ โมฆสตรีหาประโยชน์มิได้
วิสัจฉนาเรื่องกรรมก็ขอจบลงไว้แต่เพียงเท่านี้
และจงตระหนัก สำนึก ระลึกรู้อยู่เสมอๆ ว่า
ทุกเรื่องที่คิดเป็นกรรม
ทุกคำที่พูดเป็นกรรม
ทุกสิ่งที่ทำก็เป็นกรรมทั้งนั้น
ขึ้นอยู่ที่ว่า ผู้กระทำกรรมนั้นๆ จะโง่หรือฉลาด และจะเลือกคิด พูด ทำ กรรมดีหรือกรรมเลวหรือเฉยๆ
ผลแห่งการกระทำนั้นๆ ย่อมออกมาแตกต่างกันจนสุดจะคาดเดา
จบแล้วนะจ๊ะ
พุทธะอิสระ
——————————————–
Let us clarify the twelve characteristics of Karma (deeds) (Part 11)
April 1, 2022
Last time, I somewhat explained the twelve characteristics of Karma.
However, the listeners are not yet clear about the origins of all Karma.
Today, I will elaborate more on the twelve types of Karma. Some people with sharp wisdom may understand them better.
*********************************************
The twelfth group of Karma is casual acts which include unintentional deeds or deeds committed with weak intention.
When this type of Karma yields outcomes, ancient people called it “illness believed to be due to black magic” (In fact, people are usually captivated with what they are fond of.)
However, the Casual Karma may impact people when there is no other type of Karma to influence.
Characteristics of the impact of the Casual Karma
– In the past, we always had a cordial relationship. How come we have become distant and at odds with one another today?
– Some people always had a good life, a good job, a lot of money, and a good family. Suddenly, their family members have become sick, or they may have caused problems for their family.
– The Casual Karma can also give positive outcomes some people have never received. For example, some people have become prosperous, received unexpected fortune, and become rich.
– Or, some people were practicing just the fundamental Dharma, and they did not know how to progress in their Dharma practice, but suddenly they heard a voice, or an unknown person came to guide them to prosper in their Dharma practice.
The Casual Karma result from unintentional deeds or deeds committed with weak intentions. Nevertheless, it waits to yield results when no other Karma yields result.
Moreover, the Casual Karma’s outcome is just transient. When a stronger Karma with a more severe effect interferes, the Casual Karma will stop yielding results.
Though I did not explain the twelve characteristics of Karma, as much as the Buddha had explained, all of you should have some basic understanding of managing and selecting Karma that yields the best and most beneficial outcomes.
However, if we let fate control our lives, it is a belief about Karma as a doctrine outside Buddhism. It is like when a human or animal falls into the water and does not swim to river bank, but leaves it to river flow to take them to the bank.
Finally, they lose all energy and drown in death.
Consequently, false belief in Karma will make a person a nonsensical, useless, irrational man and woman.
I want to end my explanation about Karma here.
If we would like to clarify Karma more, we must know that
Every thought is Karma.
Every word we say is Karma.
Every action is Karma.
It depends on whether that person is wise or foolish in selecting to think, say, and do good, evil, or mediocre deeds.
As a result, each person’s outcomes of their deeds are unpredictably various.
It is now the end.
Buddha Isara