ถามมา ตอบไป 5ม.ค.2565

0
12
ถามมา ตอบไป
๕ มกราคม ๒๕๖๕
 
สืบเนื่อง เรื่องเกิดจากคลับเฮ้าส์
 
มีผู้ถามเข้ามาเรื่องศรัทธาและตัณหา เมื่อวานได้ตอบอธิบายความเรื่องศรัทธาไปแล้ว
 
วันนี้ขออธิบายความเรื่องตัณหาที่ท่านถามเข้ามาว่า ตัณหาเป็นต้นเหตุของสิ่งทั้งหลายหรือไม่
 
ตอบ :
 
ก่อนที่จะรู้ว่าตัณหาเป็นต้นเหตุของสิ่งทั้งหลายหรือไม่
 
เราควรมาทำความรู้จักความหมายของคำว่าตัณหาให้แจ่มชัดกันเสียก่อน
 
ในพระพุทธธรรมคำสอนทรงแยกตัณหาเอาไว้ ๓ อย่าง ได้แก่
 
๑. กามตัณหา คือ ความทะยานอยากในกามคุณทั้ง ๕ อันมี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ซึ่งเป็นอารมณ์ที่น่าพึงพอใจเรียกว่า อิฏฐารมณ์
 
๒. ภวตัณหา หมายถึง ความทะยานอยากในสิ่งที่อยู่ในภพภูมิที่ตนเกิด และทะยานยากในภพภูมิอื่นๆ เช่น อยากไปเกิดในสุคติภพ เป็นต้น
 
๓. วิภวตัณหา หมายถึง ความไม่อยากที่จะเกิด จะเป็น จะมี จะดี จะได้ ในภพภูมิที่ตนอยู่ และในภพอื่นๆ
 
เมื่อท่านทั้งหลายได้รู้ชัดถึงกระบวนการของตัณหาทั้ง ๓ แล้ว ทีนี้ก็มาถึงคำถามที่ว่า ตัณหาเป็นต้นเหตุของสิ่งทั้งหลายหรือไม่
 
ตอบว่า
 
เป็นต้นเหตุของสิ่งทั้งหลายก็ได้ และมิได้เป็นต้นเหตุของสิ่งทั้งหลายก็ได้ เช่น วิภวตัณหา เป็นต้น
 
เช่นเดียวกัน ศรัทธาก็เป็นต้นเหตุของสิ่งทั้งหลายก็ได้ และเป็นต้นเหตุแห่งการทำลายสิ่งทั้งหลายก็ได้
 
เช่น เพราะศรัทธาในพุทธธรรม จึงเพียรพยายามปฏิบัติ ฝึกหัดตนจนสามารถหลุดพ้นจากปลักแห่งความทุกข์ทั้งปวง
 
พุทธะอิสระ
 
——————————————–
 
Question and Answer
January 5, 2022
 
A story from Clubhouse
 
Someone has asked about faith and desire. Yesterday, I explained about faith.
 
Today, I will answer the question of whether desire is the cause of all things.
 
Answer :
 
Before knowing whether the desire is the cause of all things, we should first clearly understand the meaning of the word “desire”.
 
Buddhism has classified desire into the following three categories.
 
1. Craving for sensual pleasures is the desire for the five objects of sensual enjoyment consisting of visible objects, tastes, smell, sound, and touch. These are
pleasant objects.
 
2. Craving for existence is the desire for objects in the world in which one is born and the desire for other states of existence. For example, one wants to be born in blissful states of existence.
 
3. Craving for non-existence is the desire not to be born, to be, to have, to prosper, and to obtain anything in the world one is born and in other states of existence.
 
Now that we clearly understand the procedure of the three categories of desire, then comes the question of whether the desire is the cause of all things.
 
My answer is that desire can be both the cause of everything, and is also not the cause of everything such as the craving for non-existence. Likewise, faith can be the cause of everything as well as the destruction of everything.
 
For example, due to the faith in Buddhism, one tries to practice oneself until one can liberate oneself from the cause of all suffering.
 
Buddha Isara