สันตุฏฺะฐี จะ มีความสันโดษ
๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
มงคลข้อที่ ๒๔ พระพุทธองค์ทรงสอนถึง “ความสันโดษ” อันหมายถึง ความพึงพอใจในสิ่งที่มี ที่ดี ที่ได้ โดยไม่ทะเยอทะยานมากไป จนกลายเป็นการสร้างความทุกข์ ความเดือดร้อนให้แก่ตนและคนอื่น
ท่านทั้งหลายอย่าเข้าใจไขว้เขวไปว่า ความสันโดษ คือ การไม่ขวนขวาย ไม่เพียรพยายาม และไม่พัฒนา
แท้จริงแล้ว คำว่า สันโดษ หมายถึง การขวนขวาย การเพียรพยายาม การพัฒนาตามสติปัญญา ความรู้ ความสามารถที่ตนมีอย่างเต็มที่ เต็มกำลัง แล้วไม่ว่าจะได้ จะดี จะมี จะเป็นเช่นไรก็ให้พึงพอใจยินดีตามนั้น จะได้ไม่ทุกข์มากจนเกินไป ในขณะที่ขวนขวาย
ผู้มีความสันโดษ จักเป็นผู้มีทุกข์น้อย สุขมาก กว่าผู้ทะเยอทะยานอย่างไม่รู้จักพอ
ซึ่งก็จะตรงหรือคล้ายคลึงกับคำว่า พอเพียง ที่องค์พ่อหลวง ร.๙ ทรงสั่งสอนให้พสกนิกรของพระองค์กระทำ
พุทธะอิสระ
—————————————
Having contentment
November 23, 2021
The Buddha taught about “Contentment” as the 24th most auspicious factor in one’s life. Contentment means satisfaction with one’s possession and blessings and not being too ambitious, which leads to the suffering of oneself and others.
Please do not misunderstand that contentment means not putting effort and not developing.
Contentment means trying one’s best according to one’s wisdom, knowledge, and capability and being satisfied with what one has obtained so that one does not suffer too much while persevering.
Those with contentment shall have little suffering and more happiness than those with lots of desire.
This has a similar meaning to the word “sufficiency” that King Rama IX taught his people.
Buddha Isara