มาดูความวิปริตบิดเบือนของเจ้าลัทธิอลัชชีธัมมชโย และพุทธะอิสระจะหาทางแก้อย่างไร (ตอนที่ ๒)

0
196

มาดูความวิปริตบิดเบือนของเจ้าลัทธิอลัชชีธัมมชโย และพุทธะอิสระจะหาทางแก้อย่างไร (ตอนที่ ๒)
๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙

100759-บทความ-มาดูความวิปริตบิดเบือนของเจ้าลัทธิอลัชชีธัมมชโย

ธัมมชโย:
คำว่าการนำภัตตาหารอันประณีตและดอกไม้ธูปเทียนมาถวายบูชาประดุจดังพระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่
การบูชาข้าวพระน้อมถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งถือเป็นบุญใหญ่ที่มีอานิสงห์จะนับจะประมาณมิได้
——————————————————-
พุทธะอิสระ:
แก้ว่า นี่เป็นคำโฆษณาเชิญชวนให้ผู้คนหลงเชื่อ ทั้งที่พระพุทธเจ้าได้นิพพานไปแล้ว
แต่เหตุที่โฆษณาเชิญชวนทำกันเป็นเรื่องใหญ่โตเพราะมีการเรี่ยไรให้คนเข้ามาบริจาคเป็นเจ้าภาพรายละไม่ต่ำกว่าหมื่นขึ้นจนถึงหลักล้าน (เรื่องนี้ขอพยานบุคคลคือนายแพทย์หมอมโน ผู้เคยบวชอยู่ในวัดพระธรรมกาย) มีการทำพิธีบูชากันทุกวันอาทิตย์ต้นเดือนและมีภาพที่เผยแพร่ในสื่อไอทีอินเตอร์เน็ท
——————————————————-
ธัมมชโย:
คำว่า อานิสงห์จะนับจะประมาณมิได้ มีการพูดเปรียบเทียบให้เห็นถึงความสำคัญของการบูชาข้าวแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือกันว่าเป็นการสร้างบุญใหญ่
เพราะฉะนั้นการที่จะมีโอกาสได้ถวายทาน ตักบาตร ทำบุญ แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นโอกาสที่บังเกิดขึ้นได้อยากใครได้มีโอกาสอย่างนี้ถือว่าเป็นบุญมหาศาล บุญนี้จะติดตัวไปนับภพนับชาติทีเดียว
——————————————————-
พุทธะอิสระ:
ดูความวิปริตที่เจ้าลัทธิธรรมกายพยายามพูดเทียบเคียงให้สาวกของตนได้เห็นว่า การถวายข้าวพระพุทธเทียบได้กับการใส่บาตรทำบุญองค์พระพุทธเจ้าโดยตรง
แก้ว่า พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญทานที่ถวายแก่หมู่สงฆ์ว่าเป็นทานอันเลิศมีอานิสงห์มากกว่าถวายแก่บุคคล
มีเนื้อความโดยย่อว่า
ในสมัยหนึ่งพระนางมหาปชาบดีโคตรมี ผู้เป็นพระน้านางและพระมารดาบุญธรรมผู้ให้นมเลี้ยงดูพระพุทธเจ้า (ราชกุมารสิทธัตถะ) มาแต่ทรงพระเยาว์ ทรงมีศรัทธปลูกฝ้าย กรอฝ้าย ปั่นฝายทอผ้าจีวรและทรงย้อมทรงทำทุกอย่างด้วยพระองค์เองเพื่อมุ่งหวังที่จะทรงถวายเป็นผ้าจีวรแด่พระพุทธเจ้าด้วยความศรัทธายิ่ง
พระพุทธเจ้าทรงต้องการให้ผ้านั้นเกิดอานิสงห์แด่พระน้านางมหาปชาบดีมากมหาศาล
จึงทรงปฏิเสธที่จะทรงรับ แต่ให้ถวายแด่หมู่สงฆ์จักมีอานิสงห์มากกว่า
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ทักขิณาวิภังคสูตร
[๗๐๗] เมื่อพระนางกราบทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
ดูกรโคตมี พระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนาง
ได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้าย ทอเอง ตั้งใจ
อุทิศพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ โปรดรับผ้า
ใหม่ทั้งคู่นี้ของหม่อมฉันเถิด แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ในครั้งที่ ๓ แล พระผู้มี-
*พระภาคก็ตรัสกะพระนาง แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ในครั้งที่ ๓ ดังนี้ว่า ดูกรโคตมี
พระนางถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตม-
*ภาพและสงฆ์ ฯ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาตร
[๒๘๐] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในโลกมีทักขิไณยบุคคลกี่
จำพวก และควรให้ทานในเขตไหน พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรคฤหบดี
ในโลกมีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวก คือ พระเสขะ ๑ พระอเสขะ ๑ ดูกร
คฤหบดี ในโลกนี้มีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวกนี้แล และควรให้ทานในเขตนี้
“ในโลกนี้ พระเสขะกับพระอเสขะเป็นผู้ควรแก่ทักษิณา
ของทายกผู้บูชาอยู่ พระเสขะและอเสขะเหล่านั้นเป็นผู้ตรง
ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ นี้เป็นเขตบุญของทายก
ผู้บูชาอยู่ ทานที่ให้แล้วในเขตนี้มีผลมาก” ฯ
——————————————————-
ฉะนั้นที่เจ้าลัทธิธรรมกายกล่าวว่า:
คำว่า การบูชาข้าวแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราถือกันว่าเป็นการสร้างบุญใหญ่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ตรัสไว้ถึงอานิสงห์ของการให้ทาน
——————————————————-
พุทธะอิสระ:
แก้ว่า ถือเป็นการกล่าวตู่แอบอ้างเอาพระพุทธเจ้ามาแสวงหาผลประโยชน์อย่างแท้จริง
อีกทั้งยังพร่ำพรรณนาถึงอานิสงส์ของการถวายข้าวพระพุทธจนเกินเลยจากความจริง ถือว่าบัญญัติในสิ่งที่พระพุทธเจ้ามิได้บัญญัติ เช่น
——————————————————-
ธัมมชโย:
คำว่าอานิสงส์ของการบูชาข้าวพระ
๑. จะเข้าถึงฐานะ ๕ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ
๒. จะได้รับโภชนะอันวิจิตร ประณีต อลังการ รสชาติเลิศ ทั้งในภพนี้และภพสวรรค์
๓. จะเกิดในตระกูลสูง เป็นที่เคารพรักของมนุษย์และเทวดา มีบุตรและบริวารอยู่ในโอวาท
๔. ทำให้ได้รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ บริวารสมบัติ ทิพยสมบัติ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
๕. จะทำให้ได้บารมี ๓๐ ทัศน์ เต็มเปี่ยมบริบูรณ์
๖. สามารถเข้าถึงธรรมได้โดยง่าย โดยเร็วพลันทุกภพทุกชาติ ตราบกระทั่งถึงที่สุดแห่งกรรม
——————————————————-
พุทธะอิสระ:
แก้ว่า ถือว่าเป็นการกล่าวอ้างเอาเองเพื่อให้คนหลงเชื่อ จะได้บริจาคมากๆ และเป็นการกล่าวบิดเบือนพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเลวร้ายที่สุด
เป็นการพูดให้คนหลงเชื่ออย่างผิดๆ ชนิดที่มันคนละเรื่องเลย ตัวอย่างเช่นข้อ ๕ ที่ธรรมกายสอนว่า จะทำให้ได้บารมีทั้ง ๓๐ ทัศน์เต็มเปี่ยมบริบูรณ์
หากเป็นเช่นนี้การบำเพ็ญตนเพื่อเป็นพระพุทธเจ้าคงไม่ต้องใช้เวลาถึง ๔ อสงไขยกับแสนมหากัปแล้ว
แค่บูชาข้าวพระพุทธเจ้าอย่างเดียวตลอดชีวิตก็คงได้เป็นพระพุทธเจ้าผู้มีบารมีเต็มเปี่ยมบริบูรณ์แล้ว
นี่จึงเป็นคำพูดที่ถือว่านำความเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และเผยแพร่คำโกหกมดเท็จอย่างแท้จริง
อีกทั้งอานิสงห์ของการบูชาข้าวพระในแต่ละข้อ ล้วนเป็นการบิดเบือนหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อทั้งนั้น
ซึ่งพิสูจน์ได้จาก
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
ทานานิสังสสูตร
[๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน คือ ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนหมู่มาก ๑
สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน ๑ กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อมขจร
ทั่วไป ๑ ผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์ ๑ ผู้ให้ทานเมื่อตายไป
แล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน
๕ ประการนี้แล ฯ
ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชื่อว่าดำเนินตาม
ธรรมของสัปบุรุษ สัปบุรุษผู้สงบผู้สำรวมอินทรีย์ ประกอบ
พรหมจรรย์ ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ สัปบุรุษเหล่านั้น
ย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา เขาได้ทราบ
ชัดแล้ว ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ปรินิพพานในโลกนี้ ฯ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
ว. พระเจ้าข้า จำเดิมแต่กาลนานมาแล้ว ข้าพระองค์ประสงค์จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาค แต่ว่าในร่างกายของข้าพระองค์ ไม่มีกำลังพอที่จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้.
พ. อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์อะไร? ดูกรวักกลิ
ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม. วักกลิ
เป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม. วักกลิ เธอจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
[๑๙๘] ดูกรคฤหบดีบุตร ก็อริยสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศทั้ง ๖ อย่างไร ท่าน
พึงทราบทิศ ๖ เหล่านี้ คือ พึงทราบมารดาบิดาว่าเป็นทิศเบื้องหน้า อาจารย์เป็น
ทิศเบื้องขวา บุตรและภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง มิตรและอำมาตย์เป็นทิศเบื้องซ้าย
ทาสและกรรมกรเป็นทิศเบื้องต่ำ สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน ฯ
ที่ทรงชี้ให้สิงคามานพได้เห็นว่า การเซ่นสรวงบูชาต่างๆ หาได้เกิดประโยชน์ใดๆ ไม่
หากจะให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงแล้ว ต้องลงมือปฏิบัติ
รวมความว่าพระพุทธเจ้ามิได้ทรงสรรเสริญการเซ่นสรวงบูชา แต่ทรงสรรเสริญการปฏิบัติบูชาดังพระพุทธพจน์ที่ว่า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต
มีข้อสังเกตและวิเคราะห์ว่า
ว่ากันตามศักดิ์แล้ว หากข้อธรรมเป็นเรื่องเดียวกันแต่กลับมีการอธิบายขยายความออกไปแตกต่างกัน
ท่านก็ให้ดูว่าใครเป็นผู้อธิบาย
หากเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอธิบายก็ให้ถือว่าอรรถธรรมนั้นถึงที่สุด ถูกต้อง
แต่ถ้าเป็นคำอธิบายของพระมหาเถระหรือพระมหาเถรี แล้วพระพุทธเจ้าทรงรับรอง ถือว่าคำอธิบายนั้นถูกต้อง
แม้หากคำอธิบายนั้นพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงรับรอง แต่มีความสอดคล้องกับพระพุทธพจน์ก็ให้ถือว่าเป็นเถรคาถา
แต่ถ้าพระพุทธเจ้ามิได้อธิบายพระเถระมิได้อธิบาย แต่มีการอธิบายขึ้นมาในภายหลังซึ่งหากไม่สอดคล้องหรือขัดแย้งหรือจาบจ้วงหรือเกินเลยจากที่พระพุทธเจ้าพระเถระอธิบายแสดงไว้แล้ว ก็ถือว่าคำอธิบายนั้นเป็นโมฆะ ธรรมเป็นอธรรม
วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะจ๊ะ เหนื่อยแล้ว
วันหน้าจะนำความวิปริตของอลัชชีธัมมชโยมาเล่าสู่กันฟังใหม่
พุทธะอิสระ