คุณมีสิทธิจะไม่พูด ทุกเรื่องที่คุณพูดจะกลายเป็นหลักฐานพยานในชั้นศาล

0
124

คุณมีสิทธิจะไม่พูด ทุกเรื่องที่คุณพูดจะกลายเป็นหลักฐานพยานในชั้นศาล
๒๙ เมษายน ๒๕๕๙

290459-บทความ-คุณมีสิทธิจะไม่พูด-ทุกเรื่องที่คุณพูดจะกลายเป็นหลักฐานพยานในชั้นศาลมีคนต่อว่าฉันว่า ดูถูกพวกทาสธรรมกาย กล่าวหาว่า เขาเสียหาย ทำให้ฉันเป็นมึน

ไหนบอกว่า ลัทธินี้ ชอบสวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิ ทำแต่ความดี แต่ทำไมไม่รู้ความหมาย ของที่มาของคำว่า ทาส

หากไม่รู้ลองมาดูบททำวัตรเย็นดังนี้

บทพุทธาภิคีติง ที่ว่า “พุทธัสสาหัสมิ ทาโส วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร”

คำแปล “ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า”

บทธัมมาภิคีติง ที่ว่า“ธัมมัสสาหัสมิ ทาโส วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร

คำแปล “ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม พระธรรมเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า”

บทสังฆาภิคีติง ที่ว่า “สังฆัสสาหัสมิ ทาโส วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร”

คำแปล “ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์ พระสงฆ์เป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า”

พอจะเก็ตหรือยังหล่ะ พวกทาส ผู้ซื่อสัตย์ ทั้งหลาย

เมื่อหมายเรียกออกมาถึง ๓ ใบ

แทนที่พวกทาสธรรมกายจะฉุกคิด มีจิตสำนึก

ว่าทำไมดีเอสไอ ถึงได้กล้าที่จะออกหมายเรียก และขอศาลอนุมัติหมายจับ

เพราะการทำงานของดีเอสไอ เท่าที่ฉันได้รับทราบ

มีวิธีทำงานในรูปแบบคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) หรือบอร์ดคดีพิเศษ ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เจ้ากรมพระธรรมนูญ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายกสภาทนายความ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนเก้าคน และในจำนวนนี้ต้องมีบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านเศรษฐศาสตร์ การเงินการธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศหรือกฎหมาย อย่างน้อยด้านละหนึ่งคนเป็นกรรมการ

ให้อธิบดีเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้อธิบดีแต่งตั้งข้าราชการในกรมสอบสวนคดีพิเศษจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

หากคดีใด ที่เข้าข่ายอำนาจหน้าที่ของกฎหมายดีเอสไอ ตามลักษณะความผิด ๓๖ ประเภทคดี อยู่ใน พ.ร.บ. แนบท้ายการสอบสวนคดีพิเศษ

แม้จะไม่มีใครร้องทุกข์กล่าวโทษ เขาก็จะตั้งคณะทำงานเข้าไปสืบสวน สอบสวน เพื่อทำหน้าที่รวบรวมหลักฐาน

แล้วจึงนำพยานหลักฐานเหล่านั้นเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) หรือบอร์ดคดีพิเศษ ว่ามีมูลหรือไม่ ทุกคดีที่จะรับเป็นคดีพิเศษต้องผ่านความเห็นชอบของบอร์ดคดีพิเศษ อธิบดี ไม่มีอำนาจใช้ดุลยพินิจรับคดีพิเศษโดยอัตโนมัติ เพื่อให้คดีต่าง ๆ ผ่านการกลั่นกรองและพิจารณาอย่างรอบคอบว่าเป็นคดีที่สมควรสอบสวนด้วยวิธีพิเศษจริง ๆ

เช่นนี้ ในคดีของ ธัมมชโย และพวกฉ้อโกง ฟอกเงิน จึงเป็นคดีที่มีทั้งพยานเอกสาร พยานบุคคล ที่เป็นผู้เสียหายถึง ๕๐,๐๐๐ กว่าคน และมีสหกรณจำนวนมากที่นำเงินมาฝากแก่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ที่ให้ดอกเบี้ยล่อใจสูงถึง ๗ – ๑๐% ในขณะที่ธนาคารและสถาบันการเงินอื่นๆ ให้ดอกเบี้ยเงินฝากเพียงแค่ ๐.๕๐ – ๑.๗๕๔%

อีกทั้งความผิดของ ธัมมชโย และพวก ก็เข้าข่าย กฎหมายฉ้อโกง และฟอกเงินของดีเอสไอ

กรณีที่พวกทาสธรรมกาย ออกมาโพนทะนา ว่าการดำเนินคดีของดีเอสไอ ไม่เป็นธรรม รวบรัด เร่งรีบ จนเกินไป

จึงอยากให้นึกถึงหัวอกของคนเดือดร้อน ที่สูญเสียเงินก้อนสุดท้ายของชีวิตจำนวน ๕๐,๐๐๐ กว่าคน ว่าเขาคิดยังไง

การที่พวกทาสอลัชชี ออกมาตีไข่ใส่สี วิพากษ์วิจารณ์ การทำงานของดีเอสไอ

อาจจะเข้าข่าย ดูถูกเหยียดหยาม ทำให้เสียชื่อเสียง เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ตาม ป.อาญา มาตรา ๓๒๖

หากเผยแพร่ด้วยการกระจายเสียง กระจายภาพหรือประกาศโฆษณาทางการสื่อสารต่างๆ ผิด ตามป.อาญา มาตรา ๓๒๘

และหากเป็นการกระจายภาพ เสียงหรือโฆษณาให้แพร่หลายทางอินเตอร์เน็ต เฟสบุ๊คหรือยูทูป จะมีความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ พศ. ๒๕๕๐ มาตรา๑๔(๑) คือการนำความเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น อีกส่วนหนึ่ง

ซึ่งการวิจารณ์การทำงานของ ดีเอสไอ หากถึงขนาดมีเจตนาจะให้ประชาชนเข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ไม่มีความรู้หรือตั้งใจใช้อำนาจโดยมิชอบ เช่นนั้นจะเป็นความผิด ตาม ป.อาญา มาตรา ๑๓๖ คือการดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งได้กระทำหรือเพราะกระทำการตามหน้าที่ และหากจะรวมตัวยกขบวนไปกดดันการทำงานด้วยแล้ว อาจเป็นขัดขวางกระบวนการยุติธรรม เป็นความผิด ตามป.อาญา มาตรา ๑๓๘ และ ๑๓๙

ส่วนที่ทาสอลัชชีทั้งหลาย ออกมาโพนทะนาว่า ได้ให้เงินคืนมาแล้ว แก่สหกรณ์ ตั้ง ๖๐๐ กว่าล้านบาท พร้อมทำข้อตกลงกับตัวแทนสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนว่า จะต้องไม่ฟ้องร้องแก่ ธัมมชโย และวัดพระธรรมกาย ทั้งแพ่ง และอาญา

เรื่องนี้ต้องมองสองมุม

มุมแรก แม้ ธัมมชโย วัดพระธรรมกาย จะคืนเงินมาให้สหกรณ์ถึง ๖๘๔ ล้านบาท แล้วก็ตาม

แต่ความสูญเสียจริง ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น มีผลกระทบต่อสหกรณ์ ชมรม และมูลนิธิอื่นๆ มากกว่า ๘๒ แห่ง วงเงินกว่า เก้าพันสองร้อยสี่สิบ ล้านบาท

เจ้าหนี้เงินฝานจำนวน ๕๖,๕๑๙ ราย รวมเจ้าหนี้ฟ้องคดี มูลค่าความเสียหาย กว่า แปดพันล้านบาท

เจ้าหนี้ทุนเรือนหุ้นของสมาชิกจำนวน ๕๓,๐๖๓ ราย มูลค่าความเสียหายกว่า สี่พันหกร้อยยี่สิบแปดล้านบาท

เป็นยอดเงินโดยรวมกว่า สองหมื่นหนึ่งพัน ล้านบาท

ความเสียหายต่อกรณีการโกงสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน บุคคลที่ทำให้เกิดความเสียหายขนาดนี้ ต้องคิดว่าทุกคนเป็นอาชญากรแผ่นดิน เป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๓ (๓) ความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา [มาตรา ๓๔๓ หรือ ๓๔๔] หรือความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

และ (๔) ความผิดเกี่ยวกับการยักยอกหรือฉ้อโกงหรือประทุษร้ายต่อทรัพย์หรือกระทําโดยทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งกระทําโดยกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบหรือมีประโยชน์เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น

ความผิดสำเร็จแล้ว จะยอมความกันมิได้

แม้วัดพระธรรมกาย ธัมมชโย และตัวแทนสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน จะไปทำสัญญา ว่าจะยกเลิกดำเนินคดีทุกกรณี ก็ตาม

เมื่อความผิดปรากฏ เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจ และสังคมโดยตรง จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่รู้เห็นเหตุการณ์ ก็ต้องเข้าไปดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งนอกจากอยู่ในคดีพิเศษของดีเอสไอแล้ว ยังมีทั้ง พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ภายใต้การกำกับของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒ , กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์ ตาม พรบ.สหกรณ์ พ.ศ.๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ หากไม่ดำเนินการ จะต้องมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตาม ป.อาญา มาตรา ๑๕๗

กรณีการทำหนังสือสัญญา ไม่เอาความของ ธัมมชโย และพวก กับตัวแทนสหกรณ์

ดีเอสไอ หาได้ร่วมทำสัญญาด้วยไม่

พวกทาสทั้งหลาย จึงจะนำมาอ้างไม่ได้

ส่วนประเด็น การที่ตัวแทนสหกรณ์ ทำสัญญา ไม่ฟ้องร้อง กับ ธัมมชโย และพวกนั้น

กรณีนี้มีผู้เสียหายเป็นตัวบุคคล และองค์กร จำนวนมาก

เขาเหล่านั้น ที่เป็นผู้เสียหายโดยตรง หาได้ร่วมทำสัญญาด้วยไม่

พวกเขาจึงมีสิทธิฟ้องร้อง กล่าวโทษ ทั้งแพ่งและอาญา

ฉะนั้นพวกทาสทั้งหลาย จะมากล่าวอ้างว่า จ่ายเงินไปแล้ว ทำไมยังมาฟ้องร้องเอาเรื่องอีก

ขอบอกว่า เงิน ๖๐๐ กว่าล้านที่จ่ายมา จนถึงวันนี้

ยังไม่สามารถแบ่งจ่ายให้แก่ผู้เสียหายจริงๆ ได้เลย

อย่าเอาความมัวเมา หลงใหล ศรัทธา ของพวกท่าน ที่มีต่อเจ้าลัทธิอลัชชี จนทำลายบรรทัดฐานของบ้านเมือง

กฎหมายก็ไม่ยอมรับ พระธรรมวินัยก็ไม่รักษา

แล้วจะแสวงหาสวรรค์ลมๆ แล้งๆ มาจากไหน

พุทธะอิสระ

[ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก: สำนักข่าวอิศรา, เดลินิวส์, ไทยพีบีเอส, ไทยโพสต์ – เปลวสีเงิน]