สัมโมทมานชาดก
๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘
พระศาสดา เมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยพระนครสาวัตถี ประทับอยู่ในนิโครธาราม ทรงปรารภการทะเลาะกันแห่งพระญาติ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีพระคาถาว่า สมฺโมทมานา ดังนี้.
ในกาลนั้น พระศาสดาตรัสเรียกพระญาติทั้งหลายมา แล้วตรัสว่า มหาบพิตรทั้งหลาย ชื่อว่า การทะเลาะกันและกันในหมู่พระญาติทั้งหลาย ไม่สมควรยิ่ง. จริงอยู่ ในกาลก่อน ในเวลาสามัคคีกัน แม้สัตว์เดียรัจฉานทั้งหลายก็ครอบงำปัจจามิตร ถึงความสวัสดี ในกาลใด ถึงการวิวาทกัน ในกาลนั้น จักถึงความพินาศใหญ่หลวง ผู้เป็นราชตระกูลแห่งพระญาติทั้งหลายไม่ควรกระทำ
จึงทรงนำเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีตมาทรงแสดงว่า
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี. พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดเป็นพญานกกระจาบ มีนกกระจาบหลายพันเป็นบริวาร อยู่ในป่า.
ในกาลนั้น พรานล่านกกระจาบคนหนึ่ง ไปยังที่อยู่ของนกกระจาบเหล่านั้น ทำเสียงร้องเหมือนนกกระจาบ รู้ว่า นกกระจาบเหล่านั้นประชุมกันแล้ว จึงทอดตาข่ายไปข้างบนนกกระจาบเหล่านั้น แล้วกดที่ชายรอบๆ กระทำให้นกกระจาบทั้งหมดมารวมกัน แล้วจับนกกระจาบบรรจุลงในกระเช้าจนเต็มแล้วนำไปเรือน ขายนกกระจาบเหล่านั้นเลี้ยงชีพ
อยู่มาวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์กล่าวกับนกกระจาบเหล่านั้นว่า นายพรานนกนี้ทำพวกญาติของเราทั้งหลายให้ถึงความพินาศ เรารู้อุบายอย่างหนึ่ง อันเป็นเหตุให้นายพรานนกนั้นไม่อาจจับพวกเรา.
จำเดิมแต่บัดนี้ไป เมื่อนายพรานนกนี้มาทอดข่ายลงเบื้องบนหัวพวกเรา ท่านทั้งหลายแต่ละตัว จงสอดหัวเข้าในตาของตาข่ายตาหนึ่งๆ แล้วพากันยกตาข่ายขึ้น ออกแรงพาตาข่ายบินไปยังที่ที่ต้องการพร้อมๆ กัน แล้วพาดลงบนพุ่มไม้มีหนาม เช่นนี้พวกเราก็จักหนีไปทางส่วนเบื้องล่างได้ทุกตัว
นกกระจาบเหล่านั้นทั้งหมดพากันรับคำแล้ว ในวันที่ ๒ เมื่อพรานนกกลับมาทอดข่ายลงเบื้องบน นกกระจาบฝูงนั้นก็ทำตามที่พญานกสั่งสอนพากันยกข่ายบินขึ้น แล้วไปพาดลงบนพุ่มไม้มีหนามแห่งหนึ่ง
เมื่อข่ายพาดคลุมยอดไม้และกิ่งไม้แล้ว ฝูงนกก็ทิ้งตัวลงบินหนีไปยังถิ่นที่อยู่ของมันโดยสวัสดี
กาลต่อมา พรานนกจึงออกเดินตามหาข่าย จนพบว่า ติดค้างอยู่บนยอดไม้ที่มีหนามจึงปลดข่ายจากพุ่มไม้นั่น
เวลาพลบคํ่า นายพรานนกซึ่งบัดนี้ทั่วทั้งตัวมีบาดแผลที่เกิดจากรอยขีดข่วนของไม้หนามต้นที่นกพาข่ายมาติด และต้องกลับบ้านด้วยเลือดโทรมกาย
พอถึงวันรุ่งขึ้น นกกระจาบเหล่านั้นก็กระทำอย่างนั้นนั่นแหละ. ฝ่ายนายพรานนกนั้น มัวแต่ปลดเฉพาะข่ายอยู่ จนกระทั่งพระอาทิตย์อัสดง ไม่ได้อะไรๆ เป็นผู้มีมือเปล่าไปบ้านอีกเช่นเคย
ลำดับนั้น ภรรยาของเขาโกรธจึงพูดขึ้นว่า ท่านกลับมามือเปล่า ทุกวันๆ เห็นว่าจะมีที่ที่ท่านจะต้องนำเอาเนื้อของนกไปเลี้ยงดูคนอื่นๆ อยู่ข้างนอกเป็นแน่
นายพรานนกกล่าวว่า นางผู้เจริญ เรามิได้นำเนื้อนกไปเลี้ยงดูคนอื่น ด้วยเพราะเรามิอาจจับนกกระจาบเหล่านั้นได้ เหตุเพราะนกกระจาบเหล่านั้น มันพร้อมเพรียงกันบินเที่ยวไป ทั้งมันยังพากันบินยกเอาข่ายหนีไป พาดบนพุ่มไม้มีหนาม ทำให้เราต้องตามไปเก็บข่ายจนร่างกายถูกหนามทิ่ม เลือดโทรมกายดังนี้ แต่น้องหญิงไม่ต้องกังวลไปพวกมันจะไม่ร่าเริงอยู่ได้ตลอดกาลดอก เมื่อใดที่พวกมันถึงการวิวาทกัน เมื่อนั้น เราจักพาเอาพวกมันมาให้น้องหญิงทั้งฝูงเลย
แล้วกล่าวคาถานี้แก่ภรรยาว่า
นกกระจาบทั้งหลายร่าเริงบันเทิงใจพาเอาข่ายไป เมื่อใด พวกมันทะเลาะกัน เมื่อนั้น พวกมันจักตกอยู่ในอำนาจของเรา.
กาลล่วงไป ๒-๓ วัน นกกระจาบตัวหนึ่ง เมื่อจะลงยังภาคพื้นที่หากินไม่ได้กำหนด จึงได้เหยียบหัวของนกกระจาบตัวอื่น. นกกระจาบตัวที่ถูกเหยียบหัวโกรธว่า ใครเหยียบหัวเรา.
เมื่อนกกระจาบตัวนั้น แม้จะพูดว่า เราไม่ได้กำหนดจึงได้เหยียบ ท่านอย่าโกรธเลย แต่นกตัวที่ถูกเหยียบหัวก็ยังโกรธอยู่นั่นแหละ.
นกกระจาบเหล่านั้น เมื่อพากันกล่าวอยู่ซํ้าๆ ซากๆ จึงทะเลาะ แล้วพากันรำลึกบุญคุณว่า เห็นจะแต่ท่านเท่านั้นกระมังที่ช่วยยกข่ายขึ้นทำให้พวกเรารอดตาย
เมื่อนกกระจาบเหล่านั้นทะเลาะกัน พระโพธิสัตว์คิดว่า ขึ้นชื่อว่า การทะเลาะกัน ย่อมไม่มีความปลอดภัย บัดนี้แหละ นกกระจาบเหล่านั้นจักไม่ยกข่าย แต่นั้น จักพากันถึงความพินาศใหญ่หลวง นายพรานนกจักได้โอกาส เราไม่อาจอยู่ในที่นี้. พระโพธิสัตว์นั้นจึงพาบริษัทของตนไปอยู่ที่อื่น.
ฝ่ายนายพรานนก พอล่วงไป ๒-๓ วัน ก็มาแล้วส่งเสียงร้องเหมือนเสียงนกกระจาบดังเดิม ซัดข่ายไปเบื้องบนของนกกระจาบเหล่านั้นที่มารวมฝูงกัน.
ลำดับนั้น นกกระจาบตัวหนึ่งพูดว่า ได้ยินมาในครั้งก่อนท่านยกข่ายขึ้นได้ตัวเดียวเท่านั้น จนขนบนหัวร่วง วันนี้ ท่านจงยกขึ้นเอาเองก็แล้วกัน.
นกกระจาบอีกตัวหนึ่งพูดว่า ข้าก็ได้ยินมาครั้งก่อนท่านมัวแต่ยกข่ายขึ้น (จน) ขนปีกทั้งสองข้างร่วงไป บัดนี้ ท่านจงยกข่ายขึ้นเองเถิด
ดังนั้น เมื่อนกกระจาบเหล่านั้นมัวแต่พูด เอาแต่เถียงทะเลาะ เกี่ยงงอนกันว่า ท่านจงยกขึ้น ท่านจงขึ้น จนสิ้นเปลืองเวลาไปเปล่าๆ นายพรานนกจึงได้โอกาสเข้ามารวบเอาข่าย จับนกกระจาบเหล่านั้นทั้งหมดเอาไว้ได้ แล้วจับใส่ลงในกระเช้านำไปเรือน ทำให้ภรรยาร่าเริงดีใจ.
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตรทั้งหลาย ชื่อว่า ความทะเลาะแห่งพระญาติทั้งหลายไม่ควรอย่างนี้ เพราะความทะเลาะกันเป็นมูลเหตุแห่งความพินาศถ่ายเดียว.
แล้วทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิกันแล้ว ทรงสรุปพระชาดก ว่า
นกกระจาบตัวที่ไม่เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระเทวทัต ในกาลนี้
ส่วนนกกระจาบตัวที่เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้มาเป็น เราตถาคต บัดนี้
พระชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การวิวาท บาดหมางกัน ไม่เป็นผลดีแก่ผู้ใดเลย แม้แต่สัตว์เดรัจฉาน
เจริญธรรม
พุทธะอิสระ
——————————————–
อ่านย้อนหลัง : https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/pfbid0nJ823B4Mo7N9UqQHRSt2nYY1PrC3puNL2TKg1ieTVishswYfyXBeoMFcH6p6Zjwxl
——————————————–
Sammodhamana Jataka
February 10, 2025 (a story of the former birth of the Gautama Buddha)
When the Lord Buddha went to the Savatthi City and stayed at the Nigrodharama Monastery, the Buddha preached this sermon with the following Sammodhamana verses:
At that time, the Buddha called his relatives and said, “Great Kings, it is not proper for relatives to quarrel. In the past, animals living together in concords could defeat their enemies. Whenever there was a conflict, there would be catastrophe. My royal relatives should not quarrel.”
The Buddha, therefore, related an incident of the past to his royal kinsfolk:
In the past, when King Brahmadatta ruled the city of Benares, the Bodhisatta was born as a king of weavers with thousands of followers in the forest.
At that time, a weaver hunter went to their habitat. Making a chirping sound like a weaver bird, knowing that the weaver birds had gathered, he threw his net over the weaver birds and pressed the edge around, causing all the weaver birds to gather. Then, he caught and put the weavers into the baskets, took them home, and sold them to make a living.
One day, the Bodhisatta said to the weaver birds: “This bird hunter has brought ruin to our relatives. I know a trick by which he cannot catch us.
From now on, when this bird hunter comes to throw his net over our heads, you should put your head into one of the eyelets of the net and lift the net, exerting force to fly the net to the desired place and place it on a thorn bush. By doing so, all of us can escape.
All the weaver birds agreed. On the second day, when the bird hunter came back to throw his net over, the flock of weaver birds did, as instructed by the bird king. They lifted their nets, flew up, and placed them on a thorn bush.
When the net covered the treetops and branches, the birds dropped down and safely flew away to their habitats.
Afterward, the hunter went out to look for the net. He found it stuck on a thorny treetop, so he removed the net from the bush.
At dusk, the hunter, whose body was full of scratches from the thorns, had to return home in blood.
The next day, the weavers did the same. The hunter kept removing the net until sunset and did not get anything. He went home empty-handed, as usual.
Then, his wife became angry and said, “You always come back empty-handed. I see that you must have taken the meat of the birds to feed other people.”
The hunter said, “My lady, I did not take bird meat to feed other people. I could not catch them because they were flying around together. They also flew away with the net and hung it on the thorny bushes. Thus, I had to go collect the net until my body was pierced by thorns and covered in blood. But do not worry my dear, they will not be forever happy. Whenever they quarrel, I will bring them all to you.”
Then he recited this stanza to his wife:
While concord reigns, the birds bear off the net.
When quarrels arise, they will fall prey to me.
A few days passed by. A weaver, about to go down to the feeding ground, stepped on the head of another weaver by accident. The weaver whose head had been stepped on was angry, saying, “Who stepped on my head?”
When that weaver said, “I did not mean to step on your head. Don’t be mad at me.” The weaver that had its head stepped on remained angry.
The weavers kept arguing about this. They taunted by saying, “I suppose it is you who lift up the net single-handed.”
When those weavers fought, the Bodhisatta thought, quarreling brings danger. These weavers will not lift the net, and they will face catastrophe. The hunter will have the opportunity to catch us. We cannot stay here. The Bodhisatta thus led his followers to another place.
A few days later, the hunter came back and screeched like weavers. He threw the net above the gathering weavers.
Then, a weaver said, “I heard that last time you lifted the net on your own till the feathers on your head fell off. Today, please lift it yourself.”
Another weaver said, “I also heard that last time you were so busy lifting the net that both wings fell off. Now, lift the net yourself.”
Since those weavers were talking, arguing, and quarreling, telling the other to lift the net, “You lift it, you lift it,” the hunter came to lift the net and catch all the weavers. Then, he put them in a basket and brought them to his house, which delighted his wife.
The Buddha said, “Great Kings, it is not proper for relatives to quarrel like this because quarreling brings only disaster.”
Then, the Buddha concluded the sermon as follows:
The foolish weaver bird at that time has become Devadatta.
The wise weaver bird at that time has become me.
This story teaches us that quarreling and conflict do not benefit anyone, even animals.
Wishing you progress in the Dhamma practice.
Buddha Isara
——————————————–
Previous article : https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/pfbid0nJ823B4Mo7N9UqQHRSt2nYY1PrC3puNL2TKg1ieTVishswYfyXBeoMFcH6p6Zjwxl