เราท่านทั้งหลายมาดูลีลาของฆราวาสสอนธรรมในครั้งพุทธกาล

0
17

เราท่านทั้งหลายมาดูลีลาของฆราวาสสอนธรรมในครั้งพุทธกาล
๘ มกราคม ๒๕๖๘

************************

จิตตคหบดี เอตทัคคะ ผู้เป็นเลิศธรรมกถึก(แสดงธรรม)

จิตตคหบดี เป็นชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑะ แคว้นมคธ วันที่เกิดมีปรากฎการณ์ประหลาด คือมีดอกไม้หลากสีตกลงทั้งเมือง เป็นนิมิตหมายแห่งความวิจิตรสวยงาม จึงได้นามว่า “จิตตกุมาร” แปลว่า กุมารผู้น่าพิศวง หรือ กุมารผู้ก่อให้เกิดความวิจิตรสวยงาม

เมื่อบิดาล่วงลับไปแล้ว เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีในเมืองนั้นแทนบิดา

สมัยนั้นพระมหานามเถระผู้เป็นพระภิกษุองค์หนึ่งในกลุ่มพระปัญจวัคคีย์ ได้ไปที่เมืองมัจฉกิสัณฑะ จิตตคฤหบดี เห็นปฏิปทาอิริยาบถของท่านสงบเสงี่ยมเรียบร้อยจึงเกิดศรัทธาเลื่อมใสรับบาตรของพระเถระแล้วนิมนต์มายังเรือนของตน ถวายภัตตาหารให้ท่านฉันเสร็จแล้ว นิมนต์ท่านไปยังสวนของตนชื่ออัมพาตกะ ได้ถวายสวนนั้นสร้างกุฏีถวายเป็นสังฆารามชื่อว่า “อัมพาตการาม” นิมนต์ให้ท่านอยู่จำพรรษา ณ ที่นั้น และอาราธนาให้ท่านไปรับอาหารบิณฑบาตที่เรือนของตนทุกวัน พระเถระได้แสดงธรรมโปรด ตามสมควรแก่อุปนิสัยของท่านจิตตคฤหบดี และในไม่ช้าท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอนาคามี

เนื่องจากท่านจิตตคฤหบดี มิได้เฝ้ากราบถวายบังคมพระบรมศาสดาเป็นเวลานานแล้วจึงคิดที่จะไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ได้ป่าวประกาศแก่ชนชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑะว่า “ผู้ประสงค์จะร่วมเดินทางไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากับเรา ก็จงเตรียมเภสัชทั้งหลาย มีน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และของเคี้ยวของฉันเป็นต้น ให้พร้อมแล้วร่วมไปด้วยกัน” ได้มีประชาชนเป็นจำนวนมากประมาณ ๒,๐๐๐ คน ร่วมเดินทางไปกับท่านจิตตคฤหบดี

จิตตคฤหบดี เมื่อเดินทางมาถึงพระอารามแล้วพาบริษัทบริวารที่ติดตามมาด้วยเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ถวายทานแด่พระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์ตลอดระยะเวลาครึ่งเดือน วัตถุทานทั้งหลายที่นำมาจากบ้านเรือนของตนและของประชาชนที่ติดตามมาก็หมดไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ยังคงเหลืออีกมากกว่าครึ่ง ก่อนที่ท่านจิตตคฤหบดีพร้อมคณะ จะกราบทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อกลับสู่บ้านเมืองของตนได้น้อมถวายวัตถุทานเหล่านั้นทั้งหมดแก่พระภิกษุสงฆ์เพื่อประโยชน์แก่การบริโภคใช้สอย

จิตตคฤหบดี เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง ถึงพร้อมด้วยศีลและโภคะ มีอัธยาศัยเอื้อเฟื้อแก่คนทั่ว ๆ ไป สงเคราะห์บริษัทด้วยวัตถุและธรรมะ เป็นผู้ฉลาดในการแสดงธรรมด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์ยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสกทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้เป็นธรรมกถึก

************************

วันนี้จบเอาไว้แค่นี้ก่อนนะจ๊ะ โปรดติดตามตอนต่อไป ว่าวันข้างหน้าจะนำเอาความมหัศจรรย์ของฆราวาสแสดงธรรมมาให้ท่านทั้งหลายได้ซึบซับ รับรู้ในโอกาสต่อไป

พุทธะอิสระ

——————————————–

อ่านย้อนหลัง : https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/pfbid0DAzJrAefaqH6dmBXKbwgm4Q7dHXg6cpYGNhv7fsrWjEWKTKmoW9mRFu4QX2bNzpwl

——————————————–

Let us see the style of the laity teaching the Dhamma during the Buddha’s time
January 8, 2025

************************

Citta Gahapati was excellent at teaching the Dhamma.

Citta Gahapati was a resident of Macchikasanda, Magadha.  On the day of his birth, a strange phenomenon occurred: flowers of various colors fell all over the city.  This was a sign of exquisite beauty, and so he was given the name “Citta Kumara,” which means “the astonishing child” or “the child who creates exquisite beauty.”

When his father passed away, he was appointed to the position of a wealthy man in that city.

At that time, Venerable Mahānāma, one of the five ascetics who heard the Buddha’s first sermon and became his first converts, went to Macchikasanda.  Citta Gahapati, seeing the monk’s behavior and demeanor, was filled with faith.  After receiving the monk’s alms bowl, Citta Gahapati invited Venerable Mahānāma to his house.  After offering him food, he asked the monk to his garden called Ambataka.  He donated that garden to build a hut and offered it as the Ambatakaaram Monastery. He invited him to stay there during the rain retreat and receive alms at his house every day.  The monk taught him the Dhamma according to Citta Gahapati ’s disposition.  Soon, Citta Gahapati attained the state of an Anagami.

Since Citta Gahapati had not paid homage to the Buddha for a long time, he wanted to see the Buddha.  He announced to the people of Macchikasanda, “Those who wish to travel with me to see the Buddha, should prepare medicines such as oil, honey, molasses, etc., and go along with me.”  A large number of about 2000 people traveled with Citta Gahapati.

When Citta Gahapati arrived at the monastery, he took his entourage to pay homage to the Lord Buddha.  He offered alms to the Lord Buddha and the monks for half a month.  Only a small amount of the offerings, brought from his home and the people accompanying him were used up.  More than half remained. Before Citta Gahapati and his entourage left the Lord Buddha to return to their home, they offered all of the offerings to the monks for their consumption.

Citta Gahapati had firm faith in the Triple Gems, endowed with morality and wealth, had a generous disposition towards people in general, helped the community with material things and Dhamma, and was skillful in preaching the Dhamma.  For this reason, the Buddha praised him as the foremost in preaching the Dhamma, among laymen.

************************

That is all for today.  Please stay tuned for the next episode. In the future, I will share the wonders of laypeople preaching Dhamma for you all to learn about on the next occasion.

Buddha Isara

——————————————–

Previous article : https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/pfbid0DAzJrAefaqH6dmBXKbwgm4Q7dHXg6cpYGNhv7fsrWjEWKTKmoW9mRFu4QX2bNzpwl