ว่าจะไม่เขียน ไม่โพสต์ ไม่พูด ไม่บ่นถึงพฤติกรรมของพวกนักการเมืองขี้ฉ้อ สันดานขี้โกง แล้วเชียวนา (ตอนที่ ๓)
๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
วันนี้เรามาเรียนรู้ ศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นที่นายทักษิณและรัฐบาลนายกอุ๊งอิ๊ง ร่วมกันมีความเห็นชอบในการทำเอ็มโอยู แบ่งปันผลประโยชน์ทางทะเลในบริเวณเกาะกูดกันต่อ
1. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 90 ตอนที่ 60 ฉบับพิเศษหน้าที่ 1 วันที่ 1 มิถุนายน 2516 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 โดยพระราชอำนาจ ทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าให้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย ให้ ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของ ประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติใน อ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ตามประกาศ ที่ลงไว้ในราชกิจจานุเบกษา
2. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศ ไทยด้านอ่าวไทย ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิ์ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีปซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1958 และยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติ ของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่องซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา วันที่ 29 เมษายนค.ศ 1958
3. พระบรมราชโองการฯดังกล่าวข้างต้น มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระ บรม ราชโองการ ซึ่งปัจจุบันที่รักษาราชการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คือ นางสาว แพทองธาร ชินวัตร
4. คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 33/2543 หน้าที่ 81 บรรทัดที่ 23 ถึงหน้าที่ 82 บรรทัดที่ 17 ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 118 ตอนที่ 68 ก หน้าที่ 71 วันที่ 22 สิงหาคม 2544
ประเด็นนี้มันอยู่ที่ว่า
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า “หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจแห่งรัฐ ซึ่งต้องได้รับความ เห็นชอบของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ (พ.ศ.2540) มาตรา 224 วรรคสอง หรือไม่ รัฐธรรมนูญ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์ ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ” และ วรรคสอง บัญญัติว่า “หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตอำนาจแห่งรัฐหรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไป ตามสัญญาต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา”
พิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ การทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงกระทำทางคณะรัฐมนตรี โดยมีเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในวรรคสองว่า หนังสือสัญญา 3 ประเภท คือ หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หนังสือสัญญาที่มีบท เปลี่ยนแปลงเขตอำนาจแห่งรัฐ และหนังสือสัญญาที่จะต้องออก พระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามสัญญา นั้น ต้องได้รับความ เห็นชอบของรัฐสภา”
ประเด็นที่ต้องหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยก็คือ
ตอนนายทักษิณหรือตัวแทนนายทักษิณไปตกลงทำเอ็มโอยูกับประเทศเขมรนั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาหรือไม่
เอ็มโอยูที่นายทักษิณและลูกสาวสนับสนุนเห็นชอบกันนั้น ถือเป็นการละเมิดอธิปไตยของชาติหรือไม่
เอ็มโอยูที่นายทักษิณได้ลงนามเอาไว้ ทำให้ชาติเสียประโยชน์ให้แก่เขมรหรือไม่
และเอ็มโอยูที่นายทักษิณลงนามเห็นชอบ เข้าข่ายหนังสือสัญญา ๓ ประเภทหรือไม่ คือ
หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย
หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจแห่งรัฐ
และหนังสือสัญญาที่จะต้องออกพระราชบัญญัติ เพื่อให้การเป็นไปตามสัญญานั้น ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
รวมทั้งเอ็มโอยูที่นายทักษิณและลูกสาวเห็นชอบ สนับสนุนอยู่นี้ เป็นการละเมิดพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ที่รัฐธรรมนูญรับรองเอาไว้หรือไม่
ประเด็นเหล่านี้คงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญท่านชี้ขาดแล้วหละ
พุทธะอิสระ
——————————————–
ลิงค์จาก : https://www.facebook.com/photo/?fbid=937275608264709&set=a.107732901218988
พุทธะอิสระ
——————————————–
Initially, I thought I would not write, post, say, or complain about the behaviors of corrupt politicians. (Part 3)
November 7, 2024
Today, we shall learn more about Mr. Thaksin and Prime Minister “Ung Ing” agreeing with the MOU on sharing maritime resources in the Koh Kood Island area.
1. Royal Thai Government Gazette, Volume 90, Chapter 60, Special Volume, Page 1, dated June 1, B.E. 2516 (1973) His Majesty King Bhumibol Adulyadej (King Rama IX), by the royal prerogative, issued a royal command to declare the territory of Thailand’s continental shelf in the Gulf of Thailand. The public announcement is to exercise the Kingdom of Thailand’s sovereignty right to conduct exploration of petroleum resources in the Gulf of Thailand. Hence, the territory of the continental shelf according to the map and geographic coordinate system was declared in the Royal Thai Government Gazette.
2. The royal command to declare Thailand’s continental shelf in the Gulf of Thailand was grounded upon a legitimate basis according to well-recognized international law and the Convention on the Continental Shelf, adopted at Geneva on April 29, 1958, by the United Nations Conference on the Law of the Sea, which was the basis of the Convention on the Territorial Sea and the Contiguous Zone, signed in Geneva on April 29, 1958.
3. The stated royal command was acknowledged and complied with by the prime minister of the Kingdom of Thailand.
The prime minister on duty is Ms. Paetongtarn Shinawatra.
4. Verdict of the Constitutional Court No.33/2543, from 23rd line of Page 81 to 17th line of page 82, Royal Thai Government Gazette, Volume 118, Chapter 68 Kor, Page 71, dated August 22, B.E. 2544 (2001)
The issue is with the Constitutional Court’s ruling that “Any contract that changes territory of a kingdom must receive parliamentary approval according to the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2540 (1997) Section 224 Paragraph 2.”
The Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2540 (1997), Section 1, Paragraph 1 states that the King has the prerogative to conclude a peace treaty, armistice, and other treaties with other countries or international organizations.
Paragraph 2 states that a treaty that changes the territories or jurisdiction of the State or requires the enactment of an Act for its implementation must be approved by the National Assembly.
The Court considered and viewed that the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2540 (1997), Section 224, Paragraph 1 specifies that any treaty with foreign countries or international organizations is the King’s prerogative conducted via the cabinet. Paragraph 2 states that a treaty that changes the territories or jurisdiction of the State or requires the enactment of an Act for its implementation must be approved by the National Assembly.”
We must scrutinize whether Mr. Thaksin or the nominee of Mr. Thaksin received any approval from the parliament before signing the MOU with Cambodia.
And whether the MOU that Mr. Thaksin and his daughter supported has violated the country’s sovereignty.
Whether the MOU signed by Mr. Thaksin caused any national loss to Cambodia
Whether the MOU Mr. Thaksin approved falls under the following three types of treaty.
A treaty that changes the territories
A treaty that changes the jurisdiction of the State
A treaty that requires the enactment of an Act for its implementation
And whether the MOU that Mr. Thaksin and his daughter supported violated the King’s prerogative stated in the Constitution.
This shall be the Constitutional Court to determine.
Buddha Issara
——————————————–
Previous article : https://www.facebook.com/photo/?fbid=937275608264709&set=a.107732901218988