เรามาตามชำแหละนโยบายของพรรคก้าวไกลกันต่อ (ตอนที่ ๔)
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๖
160. คืนชีวิตให้ประมงพื้นบ้าน
พูดเสียดูดี ทุกวันนี้เขาก็มีชีวิตดีกันอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องหยุดพักการจับสัตว์น้ำในฤดูวางไข่เท่านั้น ซึ่งมันก็เป็นหลักสากล เพื่อความยั่งยืนของอาชีพ ถ้าไม่มีพวกนักการเมืองเฮงซวยที่ชอบอ้างสิทธิ์ ไปปลุกปั่นยุแหย่ให้เขาละเมิดกฎ ก็ไม่มีใครมีปัญหา กุ้ง หอย ปู ปลา ก็อุดมสมบูรณ์ในทะเล
161. เปลี่ยนบทลงโทษที่ไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบอาชีพประมง
ยังไง ก็ปล่อยฟรีสไตล์ไปเสียเลยซิพ่อส้ม ไหนๆ จะทำให้แผ่นดินนี้อ่อนแอ แบบไร้รอยต่อแล้ว ก็ไม่ต้องมีระเบียบข้อบังคับใดๆ
162. รักษาสัญญา ซื้อเรือประมงที่ยังไม่ซื้อคืนทั้งหมด (เหลืออีก 3,000 ลำ)
เรื่องพวกนี้คือ เรื่องที่ผิดกฎหมายและไม่มีทะเบียน เพราะผู้ประกอบการบางคนมีเรือเป็นสิบลำ แต่มีทะเบียนเรือแค่แผ่นเดียวหรือไม่ก็ไม่ยอมรับระเบียบที่จะกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ทำประมง เลยประชดด้วยการเลิกทำประมง
หากรัฐบาลคุณพ่อส้มจะยอมจ่ายเงินซื้อทั้ง ๓,๐๐๐ ลำ จะเอาเงินมาจากไหน หรือคิดจะนำมาทำเป็นเรือรบอย่างที่พูดเอาไว้ เจริญหละมึง
163. คืนชีวิตเรือประมงนอกน่านน้ำ ภายใต้กติกาสากล
ยังไง งง พูดให้ดูสวย แต่ไม่อธิบายใครจะไปมีส่วนร่วมกับพ่อส้มได้ ไหนว่าเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม
หรือประมาณว่า นอกน่านน้ำไทยต้องทำตามกติกา
แต่ภายในน่านน้ำไทย ลุยใช้อุปกรณ์ทุกชนิดจับมันทั้งวันทั้งคืน ให้ทรัพยากรทางทะเลมันย่อยยับไปในยุคนี้เลยงั้นสิ
เห็นนโยบายทำประมงมา ๔-๕ ข้อ ไม่มีข้อไหนที่บอกว่า จะทำประมงอย่างไรให้ยั่งยืนเลย เช่นนี้อาชีพประมงคงอายุสั้นแค่นี้หละ
164. เปิดตลาดซื้อ-ขายไฟฟ้าเสรี รัฐดูแลระบบสายส่ง
จะขายรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และส่วนภูมิภาคแล้วหรือ ดูอย่างญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศที่เอกชนเป็นเจ้าของ จ่ายไฟให้ประชาชนสุดแพง โดยที่รัฐไม่สามารถเข้าไปแทรกแซง กำกับควบคุมได้เลย
ประเทศนี้จะเอางั้นหรือ
165. “ค่าไฟแฟร์” ถูกและเป็นธรรมสำหรับประชาชน
พูดให้ดูดี ทำให้ได้หละกัน
เห็นชอบพูดกันจังว่าจะทำอย่างนั้น อย่างนี้ ให้ค่าไฟถูกลง แต่พอเข้าไปมีอำนาจเข้าจริง เงียบกริบ แล้วก็ออกมาอ้างว่า ต้นทุนการผลิตมันแพง จึงไม่สามารถลดค่าไฟได้
166. “หลังคาสร้างรายได้” เปิดเสรีโซลาร์เซลล์ ประกันราคาซื้อพลังงานสะอาดสำหรับครัวเรือน
อ้าว…สรุปแล้วจะเอายังไง เดียวก็บอกเปิดเสรี เดียวก็บอกประกันราคาซื้อ สรุปแล้วอันไหนหลอกอันไหนจริง งงนะดาดี้
167. เลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดภายใน 2035
ยังไงดี ถึงวันนั้นก็ยังไม่รู้เลยว่า พรรคพ่อส้มจะไปอยู่ประเทศไหน
168. กำจัดการเผาภาคเกษตรภายใน 3 ปี พร้อมงบปรับตัว 3 ล้านบาทต่อตำบล (1,000 ตำบลเสี่ยง)
ทำไง หากเมื่อใดที่ประชาชนยังต้องพึ่งไฟในการทำอาชีพ เช่น เผาเศษวัสดุ เพื่อเพาะปลูก เผาป่าเผื่อบุกรุกพื้นที่ เผาป่าเพื่อล่าสัตว์ เผาป่าเพื่อหาเห็ดและของป่าที่มีราคาแพง และเผาป่าเพื่อสกัดไฟป่า รวมไปถึงเผาป่าด้วยหวังผลทางการเมือง เงิน ๓ ล้านต่อตำบลคิดว่าจะหยุดยั้งเขาได้หรือ
169. ส่งเสริมแปรรูปฟางข้าวหรือซังข้าวโพด เกษตรกรขายแทนเผา
เขาก็ทำกันอยู่จนส่งไปขายทั่วประเทศ แต่ดีมานกับซัพพลาย มันไม่บาลานส์กัน จึงมีวัตถุเหลือใช้ที่ไม่มีใครเอาเลยต้องเผา โดยเฉพาะพวกไร่อ้อยก็เป็นต้นเหตุในการเผา
170. ปลูกข้าว “เปียกสลับแห้ง” ได้ครบวงจร
เขาทำกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ตั้งแต่พรรคเสื้อส้มยังไม่เกิดเลย
171. เพิ่มบ่อหมักก๊าซชีวภาพสำหรับฟาร์มปศุสัตว์
เคยเดินเข้าไปดูฟารม์หมูเขาบ้างหรือเปล่า เขาทำกันมาตั้งแต่ยุครัฐบาลคุณชาติชายแล้วหนู
172. กำหนดเพดานปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายอุตสาหกรรม เปิดตลาดค้าขายแลกเปลี่ยน (cap & trade)
รัฐบาลลุงตู่ แกก็ทำอยู่ ทำแล้ว ทำจบ มีตัวเลขไปโชว์ต่างประเทศ
การปล่อยก๊าซ CO2 จากการลดใช้พลังงานถ่านหินของประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 247.7 ล้านตัน (ข้อมูลการใช้พลังงานปี 2565)
ค่าเฉลี่ยของโลกการที่ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซ CO2 ต่อการใช้พลังงานก็ค่อนข้างต่ำเช่นกัน เนื่องมาจากประเทศไทยมีนโยบายด้านพลังงานที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
อาทิ แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
และแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2022)
ซึ่งแผนดังกล่าวมีการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกมากขึ้น รวมทั้งการสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนในรูปแบบต่างๆ ที่เป็นพลังงานสะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศตามหลักเกณฑ์ของ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC)
สรุปถ้าอยากให้ประเทศไทยปลอดมลพิษ ต้องเลิกใช้พลังงานจากฟอสซิลทั้งหมด แล้วหยุดเผา ปลูกต้นไม้ทั้งแผ่นดิน ๓ เรื่องนี้ทำได้ไหมหละ
173. เปิดเผยข้อมูลมลพิษและก๊าซเรือนกระจก (PRTR)
เขารู้กันไปทั่วโลกแล้วหนู ไปอยู่ที่ไหนมา
174. รถเมล์ไฟฟ้าทุกคันภายใน 7 ปี
จะอยู่ถึงหรือ
175. “วันขึ้นขนส่งมวลชนฟรี” ลดใช้รถส่วนตัว
อ้าวทำไมกำหนดแค่เป็นบางวันหละ ทำไมไม่ฟรีทุกวันหละพี่น้อง
อย่างงี้ก็ไม่จ่ายเลยนะดี้
176. เปลี่ยนรถไฟดีเซลเป็นรถไฟไฟฟ้า
จะทำชาติไหน ภายในสี่ปีนี้หรือเปล่า อยากเห็นนะ
177. ตรวจเช็คสภาพรถยนต์ส่วนตัวฟรี ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของทุกปี
บริการดีแบบนี้ แล้วนโยบายที่ว่าจะให้ลดการใช้รถส่วนตัว เป็นอันเลิกใช้ไหม สรุปเอาไงแน่ สับสนนะดี้
178. ควบคุมปริมาณรถบรรทุกที่เข้ามาในเขตเมือง
ทุกวันนี้เขาก็ควบคุมกันอยู่ ควบคุมกันมาหลายรัฐบาลแล้ว
179. เพิ่มค่าบริการขยะอาหารสำหรับห้างใหญ่ บังคับแยกขยะ-เก็บข้อมูล-ทำบัญชีขยะอาหาร
เคยไปเดินดูเขาบางหรือเปล่า เขาทำกันมานานแล้ว จนถึงขนาดนำขยะรีไซเคิลมาทำเป็นอาหารสัตว์ ปุ๋ยหมัก เศษพลาสติกก็ไปทำเสื้อผ้า ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่อุปกรณ์ก่อสร้าง ไปอยู่ที่ไหนมาจึงไม่รู้
180. เปลี่ยนอาหารเหลือทิ้งเป็นเงิน – ลด 1 กิโล ได้ 1 บาท แถมคูปองอาหารอินทรีย์
เอาหละหว้า งานนี้เราคงต้องปิดร้านข้าวแกงอิ่มละ ๑๐ บาททั้ง ๑๐ สาขาได้แล้วซิ
181. ต้นไม้ปลดหนี้ (เพิ่มป่า 1 ล้านไร่)
ยังไง
182. ต้นไม้บำนาญ (เพิ่มป่า 1.5 ล้านไร่)
ยังไง
183. ต้นไม้ทุนรัฐบาล (เพิ่มป่า 1.5 ล้านไร่)
ยังไง
184. ต้นไม้ชุมชน (เพิ่มป่า 1 ล้านไร่)
ยังไง ไม่ว่าจะงงกับการเล่นคำของพวกส้มเช้งสักเท่าไหร่ แต่ยังไงก็รู้สึกดีกับการที่แผ่นดินนี้จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้แก่โลก
185. เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง
จะรอดู
186. สร้างงานสีเขียวเกิน 1 แสนตำแหน่ง
งงอีกแล้วกู คงไม่ใช่จ้างให้ไปไล่ทาสีเขียวตามถนนดอกนะ
187. งบวิจัย & พัฒนา (R&D) เทคโนโลยีลดโลกร้อน
ได้ยินมานานแล้วว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในยุครัฐบาลลุงตู่เขาก็ทำการวิจัยอยู่จนผลปรากฎ
โครงการเพิ่มศักยภาพการปลูกข้าวที่เท่าทันต่อภูมิอากาศ (Thai Rice GCF) เพื่อขอรับการสนับสนุนทางการเงินต่อกองทุนภูมิอากาศสีเขียว เพื่อปรับเปลี่ยนวิถีของเกษตรกรไทยไปสู่การทำนาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พื้นที่ดำเนินการ 4.5 ล้านไร่ ครอบคลุม 21 จังหวัดในภาคกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การเข้าร่วมปฏิญญากลาสโกว์ของผู้นำด้านป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การจัดส่งยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ ฉบับปรับปรุง
และการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 ไปยังสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดทำแนวทางและกลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต การผลักดันโครงการเปลี่ยนรถโดยสารประจำทางสาธารณะของภาคเอกชนเป็นรถโดยสารประจำทางไฟฟ้า (รถร่วมบริการ) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
188. กองทุนปรับตัวรับมือภัยพิบัติ-น้ำท่วม
เงินอีกแล้วพี่น้อง
189. เตือนภัยธรรมชาติทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่
เอ้า..งงอีกแล้วกู อยู่ๆ ก็พูดลอยๆขึ้นมา ไม่รู้ว่าใครทำใครรับผิดชอบ
190. ท้องถิ่นประกาศเขตพื้นที่ภัยพิบัติได้
ยังไงแค่ไหนจึงจะเรียกภัยพิบัติ
191. ทบทวนแผนการบริหารจัดการน้ำทั้งหมดรายลุ่มน้ำ
เวรกรรมหละกู คนที่มันเขียนนโยบายเอาแต่นั่งเทียนเขียน อยู่แน่เลย จึงได้ไม่รู้ถึงกายภาพของลุ่มน้ำแต่ละที่ว่า พระเจ้าอยู่หัว ร.๙ ทรงได้วางหลักในการบริหารลุ่มน้ำเอาไว้ในแต่ละพื้นที่อย่างดีแล้ว ตรงไหนที่น้ำแล้งก็ให้เบี่ยงน้ำจากลุ่มน้ำใกล้เคียงที่มีอยู่มาก ย้ำว่ามีอยู่มากพอที่จะแบ่งได้ไปให้ลุ่มน้ำที่ขาดแคลน
และถ้าลุ่มน้ำไหนมีน้ำล้น ก็ให้แบ่งมาใช้ลุ่มน้ำที่ขาด เว้นเสียแต่ว่าฝนตกลงมามากเกินจนไม่สามารถกักเก็บได้จึงต้องปล่อยเข้าสู่ทุ่งรับน้ำ
ไอ้ที่มันท่วมนะ เกิดจากหลายสาเหตุ
๑. ฝนตกมาก
๒. ปริมาณน้ำในที่กักเก็บเอ่อล้น จนต้องปล่อยน้ำออกมา
๓. คูคลอง ห้วย หนองทั้งหลายตื้นขึ้น ไม่ได้รับการขุดลอก
๔. ประชาชนตัดไม้ ทำลายป่า ซึ่งเป็นพื้นที่ซับน้ำโดยธรรมชาติ
เหล่านี้คือสาเหตุที่ทำให้น้ำท่วมและน้ำแล้ง
192. ศูนย์พักพิง-อพยพมีมาตรฐาน ท้องถิ่นมีอำนาจและงบประมาณ
เขาก็ทำกันอยู่ในทุกวันนี้
193. ชดเชย-เยียวยาน้ำท่วม เป็นธรรมและทันควัน
เอาเงินที่ไหนหละ
194. ประกันภัยพืชผล ฟรี ในทุกพื้นที่รับน้ำ
รัฐบาลลุงตู่ เขาก็ทำมาตั้งนานแล้ว
195. แบนโฟม และ หลอด-แก้ว-ถุงพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง
ทิ้งที่ไหน เอาไปทำอะไร
196. เก็บภาษีถุงพลาสติกเข้ากองทุนสิ่งแวดล้อม
เอ้า..บริษัทผลิตเม็ดพลาสติก และโรงงานทำถุงพลาสติก เตรียมปิดไล่คนงานออก ไหนจะบังคับให้ขึ้นค่าแรง แล้วยังมาบังคับเก็บภาษีขึ้นอีก อยู่ไปก็ยิ่งจน
197. ยกเลิกคำสั่ง คสช. ด้านขยะอุตสาหกรรม ให้อำนาจท้องถิ่นปิดโรงงานชั่วคราว
ขยะอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะสร้างมลพิษให้แก่สิ่งแวดล้อม และชีวิตผู้คน คสช. จึงใช้อำนาจในการสั่งการให้ควบคุม และหาวิธีกำจัดที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ หากจะยกเลิกคำสั่ง แล้วให้อำนาจท้องถิ่น ก็ถือเป็นเวรกรรมของชาวบ้านหละ เพราะเท่าที่ผ่านมาโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ที่จะเข้ามาตั้งในท้องถิ่นต่างๆ ต้องสร้างปฏิสัมพันธ์อันแนบชิดสนิทสนม สนับสนุนถึงขนาดตั้งเป็นเงินเดือนกินเปล่าให้แก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น หากปล่อยให้ท้องถิ่นควบคุมเท่ากับเอานรกไปให้ประชาชน
มีตัวอย่างมาแล้ว เช่น กรณีหมู่บ้านห้วยด่าน หนองไผ่ รับผลกระทบจากโรงงานเผาคาร์บอน แล้วพื้นที่รอบๆ โรงงานเต็มไปด้วยฝุ่นดำๆ ฟุ้งกระจายไปทั้ง ๓ – ๔ หมู่บ้าน ทั้งบ้าน โรงเรียน และวัด พอไปร้องกับผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. ก็เงียบกริบ เพราะผู้นำท้องถิ่นได้รับเงินจากโรงงาน จนชาวบ้านต้องยกขบวนมาร้องพุทธะอิสระ
นี่คือ ๑ ในหลายตัวอย่างที่ท้องถิ่นมีอำนาจแล้วใช้อำนาจแสวงหาประโยชน์โดยไม่มีหน่วยงานใดๆ มาคานอำนาจ
198. ยกเลิกการนำเข้าขยะจากต่างประเทศ
อะไรบ้าง เพราะคำนิยามของขยะไม่เหมือนกัน
199. ออกธรรมนูญจัดการขยะ กำหนดมาตรฐานทั่วประเทศ
เอาหละหว้า ต่อไปนี้หัวไร่ ปลายนา หนองหมาวอ ก็อย่าทิ้งขยะนะจ๊ะ เพราะเขาจะใช้มาตรฐานในการจัดการขยะในเมือง มาใช้กับท้องถิ่นกันแล้ว
200. เครือข่ายเฝ้าระวัง (watchdog) และระบบร้องเรียน (hotline) ด้านสิ่งแวดล้อม
จะรอดูว่า จะเป็นผลสำฤทธิ์แค่ไหน
201. ออก ‘กฎหมายหมอกควันข้ามพรมแดน’ ควบคุมการรับซื้อหรือนำเข้าสินค้าเกษตรที่มาจากการเผาในประเทศเพื่อนบ้าน
เอ้าฟังไว้ลาว เขมร อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ต่อไปนี้หากเผา ต้องถูกจัดการด้วยกฎหมายของพ่อส้มเข้าใจไหม
202. เพิ่มแรงจูงใจให้เกษตรกรในการลดการเผา
ประดิษฐ์คำสวยหรูอีกแล้ว
203. เพิ่มเป้าหมายค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศของประเทศไทย
พ่อคุณเอ๋ย..ขออย่าซ้ำรอยผู้ว่า กทม. เลยพูดเหมือนๆ กันเลย แล้วดูซิทุกวันนี้เป็นยังไง
204. เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจวัด-แจ้งเตือน-ตรวจสอบเรื่องฝุ่น
แล้วไงต่อ
205. สนับสนุน พ.ร.บ. อากาศสะอาด
ออกกฎหมายแล้วไงต่ออากาศ ฝุ่นละอองทั้งหลายเตรียมติดคุกประมาณนี้ใช้ไหม
206. กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการติดป้ายโฆษณา
ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้วมีอำนาจเสียขนาดนี้ จึงไม่ต้องสนอำนาจผู้ว่าและท้องถิ่น เพราะกูมี ๑๔ ล้านเสียง มึงต้องยอมทำตามกูเข้าใจไหม
นี่แหละโว้ย ประชาธิปไตยหละ
207. ส่งเสริม “พื้นที่อนุรักษ์ด้านความมืด”
งงอีกแล้ว กูคำสวยๆ แบบนี้ใครช่วยแปลให้ที
208. แก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่ง สนับสนุนมาตรการสีขาว-สีเขียว
เอาสีไปทากับการกัดเซาะใช้เปล่า
ยิ่งอ่าน ยิ่งงง หรือเพราะเราเรียนมาคนละภาษากับกขาก็ไม่รู้
พอแค่นี้หละมึน ขอไปนั่งสูดลมทะเลหน่อย ไว้พรุ่งนี้เรามาชำแหละ ๓๐๐ นโยบายพรรคส้มเช้งกันต่อ
พุทธะอิสระ
——————————————–