ถามมา ตอบไป 20พ.ค.2565

0
23
ถามมา ตอบไป
๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕
 
Mahussajuk Sodee :
 
กราบนมัสการหลวงปู่ครับ หลายคนอาจจะรังเรในการเลือก เพราะอาจจะชื่นชอบผู้สมัครไม่เหมือนกัน เพราะแต่ละคนอาจจะมีข้อดีที่แตกต่างกันครับ แต่ก็กลัวว่าถ้าต่างคนต่างชอบ ต่างคนต่างเลือก ก็กลัวเสียงแตก
 
และแพ้คะแนนอีกฝ่ายหนึ่ง จึงมีการเสนอการเลือกเชิงยุทธศาสตร์หรือ strategic vote หรือการเทคะแนนให้ผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง หลวงปู่มีความคิดเห็นอย่างไรในเรื่องนี้ครับ.. มีหลายคนฝากถามเรื่องนี้ครับ
 
ตอบ :
 
ว่าที่จริงฉันคำนึงถึงเรื่องนี้มาตลอด
 
เราท่านทั้งหลาย คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้สมัครผู้ว่า กทม. ในเวลานี้แบ่งออกเป็นสองขั้วอย่างชัดเจน
 
แม้บางคนจะพยายามออกมาบอกว่า ตนไม่เข้าร่วมกับกลุ่มก้อนขั้วไหนก็ตาม
 
แต่เวลานี้สังคมก็ได้จัดสรร คัดแยกผู้สมัครตามคติ ความเชื่อ พฤติกรรม และทัศนคติของผู้สมัครนั้นๆ
 
ซึ่งก็มีแนวคิดที่เป็นปรปักษ์ต่อสถาบัน และกลุ่มที่มีแนวคิดที่หวังดีต่อสถาบัน
 
ทั้งสองกลุ่มต่างขับเคี่ยวกันมาอย่างยาวนาน
 
คนโบราณหากเขารู้ตัวว่า ต้องเผชิญหน้ากับข้าศึก เขาจะคัดสรรผู้กล้า ผู้สามารถที่จะต่อกรกับปรปักษ์ฝ่ายตรงข้ามได้ แม้ยังไม่รู้ผลแพ้ชนะ
 
โปราณเขาจะไม่แบ่งแยกกันสู้
 
แต่เขาจะร่วมมือ ร่วมใจ สู้อย่างสุดกำลัง เช่นนี้เราจึงสามารถรักษาความเป็นไท เอาไว้จนมาถึงทุกวันนี้
 
แม้แต่จะเล่นกีฬาชนวัว ตีไก่ กัดปลา เขาก็จะคัดสรร เลือกเอาเฉพาะตัวที่สูสีหรือได้เปรียบคู่ต่อสู้ เพื่อผลที่มุ่งหวังได้คือ ชัยชนะ
 
ไม่ใช่ใช้มวยหมู่ ต่างคนต่างสู้กันอยู่ในเวลานี้
 
ก็เข้าใจนะ
 
เพราะทุกคนล้วนมีสิทธิ์และเชื่อมั่นว่าตนมีดี จึงพยายามนำเสนอส่วนที่ดีของตนให้สังคมได้รับรู้
 
โดยไม่สนผลกระทบว่า จะเกิดผลร้ายอย่างไรต่อส่วนร่วม
 
แบบนี้แหละ ที่เขาเรียกว่า ตัวกูมีดีหละ
 
พุทธะอิสระ
 
——————————————–