เผื่อว่าอ่านแล้วไม่เข้าใจ จะได้หายสงสัย (ตอนที่ ๒)
๑๐ กันยายน ๒๕๖๔
จะพยายาม อธิบายความให้กระจ่างเท่าที่สติปัญญาอันน้อยนิดพอจะทำได้
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต พวกเธอจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไปทางเดียวกันสองรูป ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ในโลกนี้ สัตว์พวกที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์พวกนั้นจึงเสื่อมเสียไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี แม้เราก็จักกระทำ โดยที่ให้พระนครพันธุมดีเป็นสถานที่อันเธอทั้งหลายพึงกลับมาแสดงพระปาติโมกข์โดยหกปีๆ ล่วงไป ดังนี้ ฯ”
อธิบายคำว่า งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ขยายความคำว่า งามในเบื้องต้น ได้แก่ ภิกษุผู้ไปประกาศพระสัทธรรมต้องประพฤติ ปฏิบัติตนให้สงบ สำรวม เรียบร้อย และให้รู้จักประมาณในการบริโภคปัจจัยสี่ รวมทั้งประกอบความเพียรของบุคคลผู้ตื่นอยู่เสมอ
มูลเหตุที่ทรงสั่งเช่นนี้ ก็เพราะในยุคแรกๆ ของการส่งพระพุทธสาวกไปประกาศพระสัทธรรมนั้น องค์พระบรมศาสดายังมิได้ทรงบัญญัติพระวินัยใดๆ เลย
แต่หมู่สงฆ์ทั้งหลายก็ยึดถือเอาคำว่า งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุดมาเป็นแนวปฏิบัติจนยังให้เกิดศรัทธาแก่ผู้ได้พบเห็น
ตัวอย่างเช่น พระอัสสชิเถระ แค่ท่านเดินบิณฑบาต ผู้คนที่พบเห็นท่าน ก็บังเกิดศรัทธา อยากเข้าไปสนทนาพูดคุยแล้ว
เช่น พระสารีบุตร จนท่านพระอัสสชิเถระ ต้องแสดงธรรมด้วยคำกล่าวว่า
“ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านี้ พระมหาสมณะทรงสั่งสอนอย่างนี้”
ฉะนั้นคำว่า งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จึงเป็นปฐมบทของพระวินัยในยุคแรกของพระพุทธศาสนา
เวลาต่อมา เมื่อมีผู้ศรัทธา เข้ามาบวชเป็นจำนวนมาก ภิกษุใหม่และเก่าเหล่านั้น เป็นผู้เก้อยาก ไม่รู้จักละอาย ไม่พยายามระมัดระวัง รักษากิริยาให้สำรวม งดงาม ดังแต่ก่อน พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติพระวินัยเอาไว้กำกับพฤติกรรมที่ไม่งามเหล่านั้นเป็นข้อๆ เป็นเรื่องๆ เป็นอย่างๆ ขึ้นอยู่ว่าใครทำอะไร ที่มันไม่งาม
ฉะนั้นคำว่า งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จึงเป็นประดุจดังมหาวินัยข้อใหญ่ ที่หากเข้ามาใช้สกุลศากยะ นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ จะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
(จบตอนแรก)
พุทธะอิสระ
————————————————-
เผื่อว่าอ่านแล้วไม่เข้าใจ จะได้หายสงสัย (ตอนที่ ๑)
————————————————-
Here is explanation just in case you did not understand after reading. (Part II)
September 10, 2021
I will try to explain based on my little wisdom.
“You, O Bhikkhus, I permit you to wander, for the gain of the many, for the welfare of the many, out of compassion for the world, for the good, for the gain, and for the welfare of gods and men. Let not two of you go the same way. Preach, O Bhikkhus, the doctrine, which is glorious in the beginning, glorious in the middle, glorious at the end, in the spirit and in the letter. Proclaim a consummate, perfect, and pure life of holiness. There are beings whose mental eyes are covered by scarcely any dust, but if the doctrine is not preached to them, they cannot attain salvation. They will understand the doctrine. And I will also go to preach the doctrine. Panthumadee City shall be the place for all of you to chant the Fundamental Precepts in the next six years.”
Further explanation on “which is glorious in the beginning, glorious in the middle, and glorious at the end”
Glorious in the beginning means monks who announce the Buddhist principles must be well-behaved, composed, and modest in consuming the four requisites, and always persevere in practicing mindfulness.
The reason why the Buddha commanded this because in the first era of Buddhist principles propagation, the Buddha had not yet prescribed any monastic discipline.
However, monks observed the Buddha’s words “which is glorious in the beginning, glorious in the middle, and glorious at the end”, and this brought about faith among witnesses.
For instance, among the sixty-one Arahats (Saints) whom the Master had sent forth to proclaim to the world the virtues of the Triple Gem, there was the Elder Assaji. Sariputta (at the time Upatissa) gained faith and wanted to have a conversation with the Elder Assaji, merely from seeing him going for alms. The Elder Assaji uttered this stanza to him:
“Of all those things that arise from a cause, the Buddha has told their causes.
And he has also told how they cease to be. This is the doctrine of the Great Recluse.”
Consequently, “which is glorious in the beginning, glorious in the middle, and glorious at the end” is the basis of monastic discipline in the first era of Buddhism.
Later, when a lot of faithful devotees were ordained, some of those old and new monks were shameless and not well-behaved like earlier, the Buddha then prescribed rules of monastic discipline to control those indecent behaviors.
As such, the words “which is glorious in the beginning, glorious in the middle, and glorious at the end” are like the major monastic discipline that Buddhist monks must strictly adhere to.
(End of the first part)
Buddha Isara
————————————————-
Here is explanation just in case you did not understand after reading. (Part I)