มีอะไรอยู่ในพาหุง ๘ ห้อง (ตอนที่ ๔)

0
8
มีอะไรอยู่ในพาหุง ๘ ห้อง (ตอนที่ ๔)
๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๔
ทำไมโบราณาจารย์ท่านถึงได้ปลูกฝัง สั่งสอนให้ลูกหลานพยายามท่องจำให้คล่องปาก ขึ้นใจ
เราท่านทั้งหลายมาทำความเข้าใจในพรพาหุงทั้ง ๘ ห้องดูกันหน่อย
วันนี้ขอนำเสนอในห้องที่สี่ ความว่า
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
สมเด็จพระจอมมุนีทรงผจญกับจอมโจรองคุลีมารผู้ดุร้ายยิ่ง ถือดาบเงื้อง่าวิ่งไล่ หมายฆ่าพระพุทธองค์ ไปเป็นระยะทางไกลถึงสามโยชน์ ทรงพิชิตจอมโจรด้วยทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจอันยอดเยี่ยม ด้วยเดชแห่งองค์พระผู้พิชิตจอมโจรนั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
องคุลีมาล ผู้ได้ชื่อว่าเป็นจอมโจร ฆ่าคนมาแล้วถึง ๙๙๙ คน แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงเอาชนะได้โดยไม่ต้องใช้อาญา และศาสตราวุธใดๆ
องคุลีมาล ยังมีอีกชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้ คือ อหิงสกกุมาร
เป็นบุตรของนางมันตานีกับคัคคะพราหมณ์ ราชปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล
เมื่อ อหิงสกกุมาร เจริญวัยขึ้นก็ได้ไปศึกษาศิลปวิทยากับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ที่เมืองตักศิลา อหิงสกกุมารนั้นประพฤติดี เฉลียวฉลาด และเชื่อฟังคำสอนของอาจารย์ จึงเป็นที่รักใคร่ของอาจารย์ ศิษย์คนอื่นๆ พากันริษยาอหิงสกกุมาร จึงวางแผนให้ อหิงสกกุมาร แตกกับอาจารย์
ศิษย์อิจฉากลุ่มหนึ่งไปฟ้องอาจารย์ว่า อหิงสกกุมารคิดร้ายแต่อาจารย์ไม่เชื่อ ต่อมาศิษย์อีกกลุ่มหนึ่งก็เข้าไปฟ้องอาจารย์อีก อาจารย์ก็เริ่มจะเอนเอียงตาม แต่ยังไม่แน่ใจนัก ครั้นศิษย์อีกกลุ่มหนึ่งไปฟ้องอาจารย์ทำนองเดียวกัน อาจารย์จึงหลงเชื่อสนิทใจ คิดที่จะฆ่าอหิงสกกุมารเสีย แต่แล้วกลับคิดได้ว่า ถ้าอาจารย์ฆ่าลูกศิษย์ ต่อไปคงไม่มีใครมาศึกษาในสำนักของตน คิดดังนั้นแล้ว จึงออกอุบายบอก อหิงสกกุมาร ว่า “เธอเรียนศิลปะใกล้สำเร็จแล้ว เธอจงไปฆ่าคนอื่นมาให้ได้ ๑,๐๐๐ ก่อน อาจารย์จะสอนวิษณุมนต์อันเป็นสุดยอดวิชาให้”
อหิงสกกุมารลำบากใจที่จะต้องเบียดเบียนชีวิตผู้อื่น แต่อาจารย์ก็เกลี้ยกล่อมว่า อยากรู้วิชาดี ก็มีแต่วิธีนี้เท่านั้นที่ถือเป็นการบูชาครู อหิงสกกุมารจึงตัดสินใจกราบลาอาจารย์ เดินทางเข้าป่าพร้อมด้วยอาวุธครบมือ เพื่อดักฆ่าคนที่จะเดินทางเข้ามาในป่า แล้วตัดนิ้วมือคนที่ถูกฆ่าไว้คนละ ๑ นิ้ว ร้อยเป็นพวงมาลัยห้อยคอ ชาวบ้านจึงขนานนามให้ว่า จอมโจรองคุลีมาล แปลว่า โจรผู้มือนิ้วมือเป็นพวงมาลัย
ชาวบ้านหวาดกลัวโจรองคุลีมาลมาก จึงพากันกราบทูลร้องทุกข์ต่อพระเจ้าปเสนทิโกศล พระองค์จึงจัดกำลังทหารออกปรามปราม เมื่อนางมันตานีทราบเรื่องเหล่านี้ด้วยความรักของมารดาที่มีต่อบุตร นางพราหมณีจึงตัดสินใจไปบอกข่าวอหิงสกลูกชายด้วยตนเอง
เช้าวันนั้น พระพุทธเจ้าทรงได้ตรวจดูอุปนิสัยของสรรพสัตว์ ได้เห็นองคุลีมาลปรากฎในพระญาณ ทรงทราบว่า หากพระองค์ไปโปรด องคุลีมาลจะออกบวช แต่หากพระองค์ไม่ไปโปรด องคุลีมาลจะฆ่ามารดา แล้วไปสู่อเวจีมหานรก
จึงเสด็จออกไปตามเส้นทางในถิ่นขององคุลีมาล เมื่อผ่านคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงโคก็ได้กราบทูลห้ามไม่ให้พระองค์ทรงเสด็จต่อไป เพราะแม้บุรุษมากถึง ๔๐ คน ก็ยังถูกองคุลีมาลฆ่าตายหมด พระพุทธเจ้าทรงสดับแล้วก็ทรงนิ่งเสีย ทั้งยังเสด็จดำเนินต่อไปจนถึงปชาลิวัน
ฝ่ายองคุลิมาล วันนี้กำลังจะฆ่ามนุษย์ให้ครบ ๑,๐๐๐ คน บังเอิญวันนี้ คนที่ผ่านมาให้องคุลีมาลฆ่านั้นกลับเป็นมารดาของตนเอง
องคุลีมาลเงื้อดาบวิ่งเข้าใส่มารดา ด้วยความวิปลาส ฟั่นเฟือน จึงจำมารดาของตนเองไม่ได้ จึงเงื้อดาบ หมายจะฆ่าและตัดเอานิ้ว นางพราหมณีเห็นลูกชายวิ่งเข้ามาถือดาบก็ตกใจ รีบวิ่งหนีทันที
พระพุทธเจ้าจึงทรงดำเนินไปขวางทางไว้ องคุลีมาลเห็นพระพุทธเจ้าก็เปลี่ยนใจ คิดจะฆ่าพระพุทธเจ้าแทนมารดาของตน เมื่อคิดได้ดังนี้จึงถือดาบและโล่ผูกสอดแล่งธนู ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไป
พระพุทธเจ้าทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ทำให้องคุลีมาลไม่อาจทันพระองค์ผู้เสด็จได้ตามปกติได้
องคุลีมาลห้อตะบึงไปเต็มกำลัง ขณะไล่ตามจะถึงอยู่แล้วก็เห็นเหมือนพระองค์ดำเนินห่างออกไปไกล แต่ก็ไม่ลดละความพยายาม ทุ่มเทกำลังไล่ตามสุดความสามารถ
พระพุทธเจ้าทรงบันดาลให้เกิดแม่น้ำบ้าง หล่มบ้าง ขวางหน้าองคุลีมาลตลอด ๓ โยชน์ จนเขารู้สึกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเต็มที คิดว่าน่าอัศจรรย์จริงหนอ เรานี้มีกำลังดุจพระยาช้างสารถึง ๗ เชือก แต่วันนี้วิ่งจนสุดกำลังแล้วยังไม่อาจทันสมณะผู้เดินตามปกตินี้ได้
คิดดังนี้แล้ว องคุลีมาลจึงหยุดยืนและกล่าวกับพระพุทธเจ้าว่า “สมณะ จงหยุดก่อน สมณะ ท่านจงหยุดก่อน”
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่า “เราหยุดแล้ว องคุลีมาล แต่ท่านสิยังไม่หยุด”
องคุลีมาลคิดในใจว่า ได้ยินว่าสมณะศากยบุตรผู้นี้เป็นคนพูดจริง แต่นี่ท่านเดินไปอยู่แท้ๆ กลับพูดว่าเราหยุดแล้ว ส่วนเราผู้หยุดอยู่ท่านกลับพูดว่า ท่านสิยังไม่หยุด จึงตะโกนถามไปด้วยความสงสัยว่า “ดูก่อนสมณะ ท่านกำลังเดินไป กลับกล่าวว่าเราหยุดแล้ว ส่วนเราผู้หยุดอยู่ ท่านกลับว่าเรายังไม่หยุด ที่ท่านกล่าวมานั้นหมายถึงสิ่งใด”
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่า “ดูกร องคุลีมาล เราเว้นจากการฆ่าสรรพสัตว์ได้แล้วจึงชื่อว่าหยุดแล้ว ส่วนเธอยังมีกิจในการฆ่า จึงชื่อว่ายังไม่หยุด แม้ว่าบัดนี้เธอจะหยุดยืนอยู่ แต่เธอก็ต้องวิ่งต่อไปในนรก เปรต อสูรกาย และดิรัจฉานในภายหน้า”
องคุลีมาลได้ฟังดังนั้นก็ฉุกคิดได้ จึงทิ้งดาบและอาวุธลงในเหวลึก กราบทูลขอบรรพชา พระพุทธเจ้าจึงทรงบรรพชาด้วยองคุลีมาลด้วยเอหิภิกขุ จากนั้นพระองคุลีมาลก็ตามเสด็จกลับพระเชตวัน
ทางด้านพระเจ้าปเสนทิโกศล ได้นำขบวนทหาร ๕๐๐ คน ออกมาปราบโจรองคุลีมาล เมื่อเสด็จผ่านพระเชตวันมหาวิหาร จึงเสด็จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในพระอาราม กราบทูลราชกิจให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ
พระพุทธเจ้าทรงตรัสถามว่า “ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าบัดนี้องคุลีมาลปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ บวชเป็นบรรพชิต เว้นจากการฆ่าสัตว เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการพูดเท็จ ฉันภัตตาหารหนเดียว และประพฤติพรหมจรรย์ มหาบพิตรจะทำอย่างไรกับเขา”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันจะไหว้และบำรุงเขาอย่างสมณะ แต่องคุลีมาลนั้นเป็นคนทุศีล จะมีความสำรวมด้วยศีลได้ที่ไหน” พระพุทธเจ้าจึงยกพระหัตถ์ชี้ให้ดูองคุลีมาลซึ่งนั่งอยู่ไม่ไกลนัก ตรัสบอกว่า “มหาราช นั่นไง องคุลีมาล”
พระเจ้าปเสนทิโกศลและทหารผู้ติดตามพากันตกใจ สะดุ้งหวาดกลัวไปตามๆ กัน
พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสว่า “อย่ากลัวเลย องคุลีมาลนี้เป็นผู้ไม่มีภัยต่อใครๆ อีกต่อไปแล้ว”
พระเจ้าปเสนทิโกศลเข้าไปถามพระภิกษุรูปนั้นจนแน่ใจว่าเป็นจอมโจรองคุลีมาลที่กลับใจแล้วจริงๆ พระองค์จึงปลดผ้าคาดเอวออกถวาย
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้กราบทูลสรรเสริญพระบรมศาสดาว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นักที่พระองค์ไม่ได้ทรงใช้พระอาญา ไม่ทรงใช้ศาสตราวุธ แต่พระองค์ก็ทรงทรมานบุคคลที่ใครๆ ทรมานไม่ได้ ทรงยังบุคคลที่ใครๆ ให้สงบไม่ได้ ให้สงบได้ ทรงยังบุคคลที่ใครๆ ให้ดับไม่ได้ ให้ดับได้”
พระองคุลีมาลนั้น นับจากได้เข้ามาบวชเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนาแล้ว ก็ได้รับความทุกข์ลำบาก เมื่ออกบิณฑบาตรผู้คนที่ยังกลัวก็แตกตื่นหนีกันชลมุนวุ่นวาย ส่วนชนผู้โกรธแค้นก็ขว้างก้อนหิน ท่อนไม้ ก้อนกรวด ใส่ท่านด้วยความโกรธ บ้างก็ฉีกผ้าสังฆาฏิ บ้างก็ทุบบาตร แต่ท่านก็อดทนเรื่อยมา
วันหนึ่ง พระองคุลีมาลก็หลีกออกจากหมู่ ไปบำเพ็ญเพียรอย่างสม่ำเสมอ ในที่สุดท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
อธิบายตามหลักธรรมาธิษฐาน มีมุมที่ต้องมอง คือ ใครเป็นผู้สร้างโจรองคุลีมาลขึ้นมา
ตอบ
๑. ความริษยา ที่มีอยู่ในหมู่ศิษย์ร่วมสำนัก
๒. ความหูเบา ใจแคบ ของตัวอาจารย์ทิศาปาโมกข์
๓. สันดานดิบที่ฝังรากลึกอยู่ในมนุษย์ทุกผู้ หากไม่พยายามพัฒนา ที่จะควบคุม กำจัดมัน สุดท้ายมันก็จะแสดงตนออกมาสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนและคนอื่น ซึ่งสันดานดิบตัวนี้มันมีอยู่ในตัวศิษย์ร่วมสำนัก มีอยู่ในตัวอาจารย์ทิศาปาโมกข์ และแม้ที่สุดก็มีอยู่ในตัวขององคุลีมาลเองด้วย
วิธีที่พระบรมศาสดาทรงใช้กำราบองคุลีมาลก็คือ พระเมตตาคุณ พระมหากรุณาธิคุณ พระปัญญาคุณ และสัจจะ ความจริงใจ ที่หยิบยื่นให้องคุลีมาล สัมผัสได้จนกระตุ้นคุณธรรมที่ถูกสันดานดิบกดทับไว้ให้แสดงตนออกมา จนได้ปัญญาเห็นธรรม
เรื่องโจรองคุลีมาล เป็นอุทาหรณ์สอนใจ เราท่านทั้งหลายได้ว่า มนุษย์ทุกคน มีสิทธิ์จะพัฒนาตนเองได้เสมอหากมีความเพียรพยายาม
ด้วยวิธีค่อยเป็นค่อยไป สั่งสมอบรมบ่มเพาะสิ่งดีงาม ความงดงามไว้บ่อยๆ เรื่อยๆ จนกลายเป็นบารมี แล้วความงดงาม ความดีงามเหล่านั้น ก็จักส่งผลให้ชีวิตได้พ้นความทุกข์ยากได้ในที่สุด
พุทธะอิสระ
————————————————-
มีอะไรอยู่ในพาหุง ๘ ห้อง (ตอนที่ ๑)
มีอะไรอยู่ในพาหุง ๘ ห้อง (ตอนที่ ๒)
มีอะไรอยู่ในพาหุง ๘ ห้อง (ตอนที่ ๓)
————————————————-
What is in the Bahum Prayer (Jayamangala Gatha – the eight victories and blessing)? (Part 4)
August 31, 2021
Why teachers of ancient times cultivated and taught children to memorize the Bahum Prayer (Jayamangala Gatha)?
We should try to understand the meaning of the Batum Prayer with its eight parts.
Today, I would like to present you the fourth part of this prayer.
Ukkhitta khagga matihattha sudāru nantang
Dhāvang ti yojana pathangulimāla vantang
Iddhībhi sankhata mano jitavā Munindo
Tang tejasā bhavatu me jaya mangalāni
The Buddha encountered the bandit named Angulimala, very cruel, with his sword, ran towards the Buddha for three yojanas. The Buddha conquered the bandit by mind marvel with its supernatural powers. By the power of glorious triumph, may the victory blessings be yours.
Angulimala had killed 999 people, but the Buddha could conquer him without using any weapon.
Angulimala was named by his parents “Ahimsaka”.
Ahimsaka was born in a Brahmin family. His mother’s name was Mantani and his father’s name was Gagga, a chaplain to the King Pasenadi.
When Ahimsaka grew up, he went to study with Guru Dakshina at Takshashila the renowned learning center in Ancient India. Ahimsaka was a well-behaved, bright, and obedient student. This earned him special attention from his teacher, but it also created jealousy in the other students who plotted to turn the Guru against him.
According to plan, they went one by one to the teacher and whispered that his favourite student was trying to usurp his position. At first the teacher dismissed this as nonsense, but gradually the seeds of doubt were sown, and they eventually sprouted into suspicion and the teacher became convinced of Ahimsaka’s hostility to him. The teacher wanted to kill Ahimsaka, but thought that if he killed his own student, other people would no longer want to study with him. So, he told Ahimsaka: “You have almost completed your training. You must kill 1,000 people. Then, I will teach you the Vishnu Mantras which is the supreme subject.”
Ahimsaka felt disheartened to kill people, but the teacher persuaded him that this would be the only way to worship the teacher. Therefore, Ahimsaka paid respect to his teacher and went into the woods with his weapons to ambush travelers and killed them. He took, from each of them, one finger. He wore the fingers of his victims in a necklace. That’s how he got his name, Angulimala, which meant the robber with finger garland.
The whole city was in terror. The townspeople begged the King Pasenadi to send an army to capture and execute Angulimala. Mantani knew this and decided to venture into the forest alone to tell her son.
That morning, the Buddha, with his compassionate eye, was observing the world, looking for those in need to help. The Buddha knew that because of the Buddha’s teaching, Angulimala would be ordained. But if the Buddha would not help, Angulimala would kill his own mother and would go to the deepest hell.
The Buddha walked toward the forest where Angulimala was. Cowherds tried to prevent the Buddha from continuing by telling Him of the murderous serial killer. Even a group of forty men were killed by Angulimala. The Buddha, disregarding their plea, ventured into the deep forest.
At that time Angulimala had already gathered 999 fingers, and only one more was needed to complete the 1,000, the target set by his teacher. Angulimala saw his mother, but, due to his insanity, he could not remember her. He ran into his mother to murder her with his sword. Mantani saw that and fearfully ran away.
Projecting himself between Angulimala and his mother, the Buddha attracted his attention. Angulimala changed his mind and wanted to kill the Buddha instead. Angulimala brandished his sword as he thrashed amongst the foliage, intent on catching up with the Buddha. With the Buddha’s supernatural powers, Angulimala could not keep up with the Buddha. The Buddha did not seem to be running and yet, despite Angulimala’s efforts, He remained a few paces ahead.
The Buddha created rivers and quagmires in front of Angulimala along the distance of 3 Yot (approximately 48 kilometers). Angulimala felt extremely tired and felt perplexed that despite his superhuman strength like seven elephant kings and fastest run, he could not keep up with the Buddha who walked normally.
Then, Angulimala stopped running and called out to the Buddha, “Stop, recluse! Stop, recluse!” The Buddha replied, “I have stopped, Angulimala. You too should stop.”
Angulimala thought in his mind why the Buddha said he had stopped, though he was still walking. As for himself, who had stopped, the Buddha said he had not stopped. So, Angulimala asked the Buddha, “Recluse, you are walking, but said that you have stopped. I have stopped running, but you said I have not stopped. What did you mean?”
The Buddha then explained:
“Angulimala, I have stopped forever,
I abstain from violence towards all living beings
But you have no restraint towards taking lives
So that is why you have stopped, but you would run into four states of misery (hell beasts, hungry ghosts, monsters, and animals) in your next lives.”
When Angulimala heard these words, he knew that the Buddha had come to the forest solely on his behalf. Angulimala threw down his sword and weapons into abyss, knelt before the Buddha with bowed head, and requested for ordainment. The Buddha ordained Angulimala and took him back to the Jetavana monastery.
King Pasenadi led a troop of 500 soldiers to capture Angulimala. The King stopped to pay a visit to the Buddha at the Jetavana monastery and explained to the Buddha his purpose.
The Buddha asked the King, “How would you treat Angulimala, if he had given up his murderous ways and taken to the Noble Order such as refraining from killing, stealing, lying, as well as having one meal, and behave chastity?”
The king replied to the Buddha, “Venerable Sir, I would then honor and worship him as befitting the Noble Ones. However, Angulimala is an immoral person. How can he observe religious precepts? The Buddha then pointed at Angulimala who was not so far from him and said, “Angulimala is over there.”
The King and his followers were terrified. The Buddha then told the King that he had nothing to be afraid of, as Angulimala had given up killing to follow His path. The king asked questions to Angulimala, until he was certain of Angulimala’s transformation. The King then offered his girdle to Angulimala.
King Pasenadi then praised the Buddha as follows:
“It is wonderful, Venerable Sir. It is marvelous how the Blessed One subdues the unsubdued, pacifies the unpacified, calms the uncalm. This one whom we could not subdue with punishment and weapons, the Blessed One has subdued without punishment or weapons.”
After becoming a Buddhist monk, Angulimala still faced difficulties. When Angulimala went on his alms round people ran away in fear. Some resentful villagers could not forget that he was responsible for the deaths of their loved ones. With sticks and stones, they attacked him as he walked for alms. Some tore his outer robe and broke his alms bowl. Angulimala bore his torment with equanimity.
One day, Angulimala secluded from others, consistently practiced meditation, and finally attained Arahanthship.
To explain this story based on virtues, we should consider what created the bandit named Angulimala.
Answer:
1. Jealousy of classmates
2. Credulity and narrow-mindedness of Guru Dakshina
3. Instinct in all human beings, if they do not try to control and get rid of it. Finally, it will express itself and harm themselves and other people. This instinct is inside Ahimsaka’s classmates, Guru Dakshina, and Angulimala himself.
The Buddha conquered Angulimala by his loving kindness, mercy, wisdom, honesty, and sincerity. After hearing the Buddha’s words, he felt as if the current of his suppressed nobler and purer wisdom had broken through the dam of hardened cruelty that had been built up through habituation in all those last years of his life.
The story of the Angulimala bandit teaches us that every human being is capable of self-development through continuous perseverance. We shall accumulate meritorious deeds regularly and continuously. Those nobility and goodness would ultimately set us free from suffering.
Buddha Isara
————————————————-
What is in the Bahum Prayer (Jayamangala Gāthā – the eight victories and blessing)? Part 1
What is in the Bahum Prayer (Jayamangala Gāthā – the eight victories and blessing)? Part 2
What is in the Bahum Prayer (Jayamangala Gāthā – the eight victories and blessing)? Part 3