อธิบายคำว่า ความได้เห็น หมายถึง เห็นทุกกระบวนการ เห็นด้วยปัญญา เห็นด้วยการพินิจพิจารณา เห็นด้วยการพิสูจน์ พิเคราะห์ ทดลอง ทดสอบ เห็นเช่นนี้จึงจักเป็นการเห็นที่คู่ควรแก่อริยสัจ
อธิบายคำว่า อริยสัจ หมายถึง ความจริงอันถูกต้อง ตรงต่อสภาพความเป็นไปของโลกสมมุติและโลกปรมัติ
ความจริงอันประเสริฐ ซึ่งไม่มีสิ่งใดๆ หรือเหตุผลใดๆ มาหักล้างได้
ความจริงอันทำให้ผู้เห็น กลายเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่งกว่าสรรพสัตว์ทั้งปวง
และความหมายของอริยสัจซึ่งเป็นความจริงอันประเสริฐ นั้นก็คือ
๑. เห็นว่าโลกนี้มีแต่ทุกข์ สุขไม่มี หรือหากจะมีสุข นั้นก็เป็นเพียงแค่ ความพึงพอใจหรือไม่ทุกข์มันลดลงจึงรู้สึกเป็นสุขก็เท่านั้นเอง
๒. เมื่อโลกนี้มีแต่ทุกข์ ซึ่งล้วนแต่เกิดมาจากเหตุ อันนี้ต้องสืบสาวหามูลเหตุจากหลักปฏิจจสมุปบาท
๓. นิโรธ ความดับทุกข์ นั้นก็หมายถึง ดับที่มูลเหตุในที่นี้คือดับปฏิจจสมุปบาท
๔. มรรค คือ หนทางที่เดินไปเพื่อดับทุกข์ หรือ หลักปฏิบัติ ๘ ประการ เพื่อให้ทุกข์มันดับ อันได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘
๑. สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นชอบ เบื้องต้น คือความเห็นถูกต่างๆ เช่น เห็นว่าพ่อแม่มีพระคุณต่อเราจริง ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วจริง โลกนี้โลกหน้ามีจริง ฯลฯ ความเห็นขั้นสูงคือเห็นทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์และวิธีปฏิบัติเพื่อดับทุกข์
๒. สัมมาสังกัปปะ มีความคิดชอบ คือคิดออกจากกาม คิดไม่ผูกพยาบาท คิดไม่เบียดเบียน ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
๔. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ คือไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ และไม่ทำการงานใดๆ ที่เบียดเบียนผู้อื่น สัตว์อื่น และต้องไม่เบียดเบียนตน
๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ คือ เว้นขาดจากอาชีพทุจริตทั้งปวง แล้วประกอบอาชีพในทางที่สุจริต
๖. สัมมาวายามะ มีความเพียรชอบ คือเพียรป้องกันบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป เพียรสร้างกุศลคุณความดีที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเพียรทำกุศลคุณความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น
๗. สัมมาสติ มีความระลึกชอบ คือไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่าน มีสติรู้ตัวระลึกได้ หมั่นตามเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมอยู่เสมอ
๘. สัมมาสมาธิ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว จนสามารถเป็นอิสระจากอารมณ์ทั้วงปวง เรียกว่า อุเบกขารมณ์ จนบรรลุฌานชั้นต่างๆ ไปตามลำดับ
เมื่อมีความเห็นอันประเสริฐ เห็นปานนี้ที่เรียกว่า สัมมาทิฐิ นั้นก็เท่ากับว่า เราท่านทั้งหลายจะไม่มีวันเห็นผิดที่เรียกว่า มิจฉาทิฐิ ไปจากนี้เลย
ผลของผู้มีความเห็นอริยสัจ เห็นอย่างประเสริฐ เห็นอย่างถูกต้อง ตามสภาพธรรมในโลกทั้ง ๒ คือ สมมุติ และ ปรมัติ
ย่อมก้าวข้ามความลุ่มหลง
ย่อมเจริญด้วยสติปัญญาที่สมบูรณ์ถูกต้อง
ย่อมไม่เป็นผู้จมปลักอยู่ในห้วงแห่งทุกข์
ย่อมมีที่ไปอันตนเองมุ่งหวังได้
ย่อมหลุดพ้นจากวัฎฎะสงสาร
และสามารถดับ เย็น ได้ทุกกาลทุกสมัย
เอตัมมังคะละมุตตะมัง ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด
พุทธะอิสระ
๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔
————————————————–
Perceiving the Four Noble Truths
July 8, 2021
Perceiving means seeing every procedure, seeing by wisdom, seeing by contemplation, seeing by proof, analysis, experiment, and test. As such, the perceiving deserves the Four Noble Truths.
The Four Noble Truths means reality that is infallible and correlate with the hypothetical world and the ultimate world.
The Four Noble Truths are irrefutable by anything or any reason.
The Four Noble Truths make people who truly perceive them becomes nobler than all living creatures.
And the meaning of the the Four Noble Truths are as follows.
1. Perception that there is only suffering in this world. Happiness does not exist. If there is happiness, it is just only satisfaction or decrease in suffering, then one feel happier. That is all.
2. When this world has only suffering which has its cause, we need to find out its cause according to the Chain of Phenomenal Cause and Effect.
3. Cessation of suffering means extinction of causes or extinction of the Chain of Phenomenal Cause and Effect.
4. The Noble Eightfold Path means path towards cessation of suffering or eight Buddhist practices leading to liberation from the painful cycle of rebirth as follows.
1. Right view means right understanding
For example, parents are benevolent to us
If one does good deed, one will get good outcome. On the other hand, if one dose bad thing, one will get bad outcome. The higher level of right view is perceiving of suffering and its cause, extinction of suffering, and practices leading to extinction of suffering
2. Right thought includes thought of liberating oneself from worldly pleasure, thought of forgiveness, thought of not harming or causing trouble to anybody
3. Right speech means abstaining from false speech, abstaining from slanderous speech, abstaining from harsh or hateful speech, and abstaining from idle chatter
4. Right conduct means refraining from killing, refraining from stealing, refraining from causing troubles to others and oneself
5. Right means of livelihood means refraining from all kinds of corrupted occupations
6. Right endeavor means perseverance to prevent sins from happening, perseverance to stop sinful actions, perseverance to make merits, and perseverance to make merits grow.
7. Right mindfulness means not letting one’s mind wander, having consciousness, and always being mindful of one’s body, feelings, mind, and of phenomena themselves
8. Right concentration means focusing all of one’s mental faculties onto one physical or mental object until one can liberate oneself from other emotions. This state is called emotion of equanimity. Then, one will attain states of serene contemplation attained by meditation, respectively.
Once we perceive such noble truths so called the right view, it means all of us will never have the wrong view.
Outcomes of people who perceive the Four Noble Truths or see things correctly according to both the hypothetical world and the ultimate world.
They will overcome illusion.
Their wisdom will completely and correctly grow.
They will not be stuck with misery.
They will have their destined path that they can hope for.
They will liberate themselves from the cycle of rebirth.
They can extinguish defilements and suffering at any time.
This is the most auspicious factor in one’s life.
Buddha Isara