ทานัญจะ การให้ทาน

0
73
องค์พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสสอนเรื่องการให้ การบริจาค การเสียสละ ก็ด้วยมุ่งหวังว่า จักสามารถบรรเทาทุกข์แก่สรรพสัตว์ผู้จมปลักอยู่ในห่วงแห่งทุกข์
เมื่อมนุษย์และสัตว์ได้มีเมตตาเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือสัตว์ผู้ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยการให้ทาน การบริจาค การเสียสละ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ถือว่าเป็นการบรรเทาทุกข์แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก
ทั้งยังจะทำให้สังคมโลก ฉ่ำเย็น ผ่อนคลาย จากความริษยา เห็นแก่ตัว ละโมบ คับแค้น ให้ลดน้อย ถดถอยลงไปได้
นอกจากนี้ การให้ การบริจาค การเสียสละ แบ่งปัน ยังสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์อันดี ให้เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์และสัตว์
การให้ ยังสามารถทำลายความเย่อหยิ่ง จองหอง ยะโส ทรนง อวดดี ความถือตัวถือตน รวมทั้งอีโก้ ไอ้โก้ทั้งหลายให้มลายไปได้
อีกทั้งการให้ ยังจะทำให้ผู้ให้กลายเป็นที่รักของผู้รับและผู้พบเห็น
ผู้ใดที่ให้อยู่เนืองนิจ จักเป็นผู้มีสีหน้า แววตาสดใส เปล่งประกาย สติสมาธิ ปัญญาดี มีเสน่ห์
แต่ไม่ว่า จะให้อะไร บริจาคเท่าไร เสียสละขนาดไหน ทั้งหมดทั้งหลายทั้งปวง ต้องกระทำด้วยสติปัญญา ชาญฉลาดที่จะให้ดังคำว่า
“กุสะลัสสูปะสัมปะทา” ให้ด้วยความชาญฉลาด
ให้ด้วยการใช้วิจารณญาณ ว่าอะไรควรให้ อะไรไม่ควรให้ และบุคคลเช่นไรควรให้ ทั้งไม่ควรให้แก่บุคคลเช่นไร
องค์พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสแยกแยะชนิดของทานเอาไว้ ๓ อย่าง คือ
๑. อามิสทาน ได้แก่ วัตถุที่สามารถบริจาคหรือให้ได้
๒. ธรรมทาน หรือ วิทยาทาน คือ การให้ธรรมให้ความรู้ ทำให้ผู้รับเกิดสติปัญญา ละชั่ว ทำดี ทำจิตใจ ให้พ่อแม่แจ่มใส
๓. อภัยทาน การให้อภัยแก่ผู้ที่ตนโกรธ ไม่จองเวร พร้อมทั้งสละให้หลุดจากอารมณ์โกรธและพยาบาท
การให้ การเสียสละ การบริจาค ทั้ง ๓ ดังกล่าว ท่านยกย่องการให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง
เจตนาของการให้ แบ่งได้เป็น ๓ ประการ ดังนี้
๑. ให้เพื่อมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์แก่ตนและคนอื่น
๒. ให้โดยตนไม่มุ่งหวังสิ่งใดตอบแทน เรียกว่า ให้ด้วยจิตใจเมตตา กรุณา คิดแต่จะช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่เขา
๓. ให้ด้วยคิดจะทดแทนบุญคุณที่ตนเคยได้รับ
ลักษณะการให้ทานแล้วเกิดผลมาก มีอานิสงส์มาก
๑. วัตถุที่ให้บริสุทธิ์ได้แก่ สิ่งของที่จะให้ ต้องเป็นของๆ ตนที่ได้มาโดยสุจริต
๒. เจตนาของผู้ให้บริสุทธิ์ให้ เพราะมีจิตใจการุณ ปรารถนาดีต่อผู้รับ มิใช่ให้เพราะอยากได้หน้า ต้องการซื้อเสียง
๓. บุคคลบริสุทธิ์ ผู้รับต้องเป็นผู้มีศีล
อานิสงส์การบำเพ็ญทาน
๑. เป็นที่มาของสมบัติทั้งหลาย
๒. เป็นที่ตั้งแห่งโภคทรัพย์ทั้งปวง
๓. ผู้ให้ย่อมได้รับความสุข
๔. ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก
๕. ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
๖. ทำให้เป็นผู้มีเสน่ห์
๗. ทำให้เป็นที่น่าคบหาของคนดี
๘. ทำให้เข้าสังคมได้คล่องแคล่ว
๙. ทำให้แกล้วกล้าอาจหาญในทุกชุมชน
๑๐. ทำให้มีชื่อเสียงเกียรติคุณดี
๑๑. แม้ตายแล้วก็ไปเกิดในสวรรค์ ฯลฯ
ทานที่ให้แล้วเกิดโทษมีดังนี้คือ
๑. ให้สุราเมรัย สิ่งเสพติดทั้งปวง
๒. ให้อาวุธ ยุทโธปกรณ์ และเครื่องประหาร
๓. ให้สิ่งบันเทิงเริงรมย์ และสิ่งเร้า เครื่องล่อให้เกิดอารมณ์ที่เป็นอกุศล
๔. ให้สิ่งของบุคคลหรือสัตว์ที่เป็นโทษต่อผู้รับ
๕. ให้วัตถุสิ่งของ ที่เป็นเหตุให้เกิดตัณหา ความทะยานอยาก
เช่นนี้จึงต้องกล่าวว่า การให้ การแบ่งปัน การเสียสละ จักต้องมีสติปัญญาในการพิจารณาว่า อะไรควรให้ อะไรมิควรให้ และควรให้แก่บุคคลเช่นไร
เอตัมมังคะละมุตตะมัง ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด
พุทธะอิสระ
๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๔
————————————————–
Giving
June 16, 2021
Lord Buddha taught about giving, donation, and sacrifice with the intention that it would relieve sufferings of living creatures that are obsessed with suffering.
When human beings and animals have mercy to help fellow human beings who are similarly destined to the cycle of birth, aging, sickness, and death, by donation and sacrifice, both directly and indirectly. It is deemed to help relieve suffering of those in difficulty.
It would make the world more peaceful and could reduce jealousy, selfishness, greed, and grudge.
Moreover, giving, donation, sacrifice, and sharing result in good relations in human and animal’s society.
Giving also reduces arrogance, haughtiness, pride, impudence, and all sorts of egoism.
Giving also make givers beloved by receivers and witnessers.
People who continuously give would have bright facial and eyes expression. They will be self-conscious, focused, wise, and charming.
Anyway, giving what, amount of donation, level of sacrifice, all of this must be done with wisdom like the saying “smart giving”.
Giving must be considered what should be given, what should not be given, whom should we give, and whom should not be given.
Lord Buddha classified giving into three types as follows.
1. Giving objects
2. Giving knowledge so that receivers will have wisdom to abandon evil, do good deeds, and have clear mind.
3. Forgiveness to those whom one is angry with and readiness to abandon anger and vengeance
Among three types of mentioned giving, sacrifice, and donation, sharing of the Dhamma is the best of all.
Intentions of giving can be divided into three types as follows.
1. Giving for the benefits of oneself and others
2. Giving without anything in return or giving with kind heart and thinking of only relieving suffering of others
3. Giving to reciprocate what one has been given
Giving that yields huge beneficial outcome.
1. Given object must be pure. This means giver has righteously obtained that object.
2. Pure intention of giver because of kind heart and good intention, not to show off or buy vote
3. Pure receiver means receiver must uphold precepts
Merits of giving
1. It is the source of all fortune.
2. It is the existence of all fortune.
3. Giver will be happy.
4. Giver is beloved by a lot of people.
5. Giver wins friendship.
6. Giver is charming.
7. Giver is well-liked by good people.
8. Giver is sociable.
9. Giver is brave and courageous in every society.
10. Giver has good reputation.
11. Giver will be born in heaven after death.
Giving that brings harmful outcomes are as follows.
1. Giving alcoholic drinks and drugs
2. Giving weapons
3. Giving enticement which arouse unwise emotions
4. Giving objects, persons, or animals which are negative for receivers
5. Giving objects which cause desires and ambition
As such, giving, sharing, and sacrifice must be done with consideration what should be given, what should not be given, and what kind of person should receive it.
This is the most auspicious factor in one’s life.
Buddha Isara