ปุตตะทารัสสะ สังคะโห ความสงเคราะห์สามีภรรยา

0
381
อธิบายคำว่า สามี หมายถึง ผู้ให้การเลี้ยงดู ผู้คุ้มภัย ผู้เป็นที่พึ่งพาได้
อธิบายคำว่า ภรรยา หมายถึง ผู้ควรรักษา เลี้ยงดู ผู้ควรปกป้อง ผู้ให้การรับใช้ ผู้ให้การบรรเทาภาระ
คำว่า ความสงเคราะห์ หมายถึง การอุปถัมภ์เลี้ยงดู ตามหน้าที่ ด้วยพฤติกรรมที่ให้เกียรติ ยอมรับกันและกัน ด้วยความเคารพ
ข้อควรสังเกตุ องค์พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงใช้คำว่า สงเคราะห์แทนคำว่า บำรุงที่ใช้กับบิดามารดา
ด้วยเพราะสามีและภรรยา หาได้มีพระคุณเทียบเท่าบิดามารดาไม่ จึงทรงใช้คำว่า สงเคราะห์กับผู้เป็นสามีและผู้มีภรรยา
สามีภรรยาที่ควรแก่การสงเคราะห์ คือ ต้องเป็นบุคคลที่เลี้ยงง่าย ไม่มากเรื่อง
สามีและภรรยา ที่ไม่ควรเลี้ยงมีอยู่ ๓ ประเภท คือ
๑. สามี ภรรยา ที่มีปกติชอบ ด่าว่า ดูถูก เหยียดหยาม สาปแช่ง และมีจิตใจที่ไม่ซื่อสัตย์ มักมาก สำส่อน
๒. สามีภรรยา ที่มีพฤติกรรมโกง คอยแต่จะยักยอก มือไว เห็นแก่ตัว เอาเปรียบ และก่อหนี้สินไปทั่ว
๓. สามีภรรยา ที่มีพฤติกรรมเกียจคร้าน สันหลังยาว ไม่สนใจ การงานที่ตนมีหน้าที่ต้องทำ แต่เวลากินกลับตะกละ กินมากกว่าคู่ของตน
๔. สามีภรรยาที่มีพฤติกรรมปลิ้นปล้อน หลอกลวง ชอบโกหก ชอบนำเอาเรื่องภายในไปโพนทะนา นินทานอกบ้าน
๕. สามีภรรยา ที่อวดเบ่ง ชอบยกตนข่มคู่ครองของตน ชอบใช้วาจาทิ่มแทง ประจานคู่ครองในทางเสียหาย
สามีภรรยาที่คู่ควรแก่การสงเคราะห์
๑. สามีภรรยา ที่มีคุณธรรม และพฤติกรรมเสมอดังพ่อแม่
๒. สามีภรรยา ที่มีพฤติกรรมดุงดัจพี่น้องร่วมอุทร
๓. สามีภรรยา ที่มีพฤติกรรมเหมือนดังเป็นเพื่อนสนิทกัน
๔. สามีภรรยา ที่มีพฤติกรรมดุงดัจทาสรับใช้
คุณลักษณะของสามีภรรยาที่เป็นเนื้อคู่กัน จนแก่เฒ่า
๑. มีศรัทธาเสมอกัน เหมือนกัน จุดมุ่งหมายเดียวกัน เรียกว่า สมสัทธา
๒. มีศีลอันเสมอกัน มีความประพฤติสอดคล้องกลมเกลียวกัน เรียกว่า สมสีลา
๓. มีจิตใจเมตตา แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก กรุณาที่จะช่วยเหลือ และเห็นพ้องกันด้วยใจกรุณา เรียกว่า สมจาคา
๔. สติปัญญา อันเสมอกัน รู้เหตุ รู้ผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักสถานที่ รู้จักบุคคล รู้จักชุมชน เรียกว่า สมปัญญา
องค์พระบรมศาสดาทรงตรัสให้พรแก่ผู้บ่าวสาวในพิธีมงคลสมรสเอาไว้สั้นๆ ความว่า สังคหะ แปลว่า การสงเคราะห์กันและกัน ซึ่งขยายความได้ถึง ๔ ประการ คือ
๑. ทาน การให้ การแบ่งปัน รวมไปจนถึง การให้อภัยแก่กัน
๒. ปิยวาจา การมีวาจาสุภาพ เสนาะไพเราะ ระรื่นหู ด้วยสัจจะวาจา
๓. อัตถจริยา การทำตนให้เป็นประโยชน์ซึ่งกันและกันในการครองคู่
๔. สมานัตตตา การวางตนให้เหมาะสมต่อหน้าที่ของตน
สามีต้องทำหน้าที่ให้ภรรยาที่ควรสงเคราะห์เลี้ยงดูดังต่อไปนี้
๑. ยกย่องให้เกียรติ
๒. อย่าดูหมิ่น ไม่เหยียดหยาม
๓. ทำตนให้ซื่อสัตย์ต่อภรรยา
๔. มอบหน้าที่และช่วยสนับสนุนในหน้าที่แม่บ้านให้ลุล่วง
๕. ให้สิ่งจูงใจตอบแทน ในเมื่อภรรยาทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์
ภรรยาต้องทำหน้าที่ให้สามีที่ควรสงเคราะห์ ดังต่อไปนี้
๑. จักทำหน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบให้ดี
๒. ดูแลเอาใจใส่บิดามารดา ของสามี ดุจดังบิดามารดาของตน ทั้งยังต้องให้เกียรติ ยอมรับด้วยกิริยาสุภาพ นอบน้อม
๓. ซื่อสัตย์ต่อสามี และหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
๔. รู้จักใช้จ่ายทรัพย์และสิ่งของ ของสามีอย่างรู้คุณค่า ไม่สุรุ่ยสุร่าย และรู้จักเก็บออม
๕. ขยันหมั่นเพียร ทำหน้าที่ของภรรยาและแม่บ้านที่ดีของสามี
คนโบราณท่านอบรมสั่งสอนลูกหลานของท่าน เมื่อจะแต่งงาน มีเหย้ามีเรือน มีครอบครัวว่า
๑. ไฟในอย่านำออก หมายถึง ไม่นำเรื่องราวปัญหา ความร้อนใจต่างๆ ในครอบครัวไปเปิดเผยแก่คนทั่วไปภายนอก
๒. ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง ไม่นำเรื่องราวปัญหาต่างๆ ภายนอกที่ร้อนใจเข้ามาในครอบครัว
๓. ให้แก่ผู้ควรให้ หมายถึง ผู้ใดที่เราให้ความช่วยเหลือ ให้หยิบยืมสิ่งของแล้ว เมื่อถึงกำหนดก็นำมาส่งคืนตามเวลา เมื่อเรามีความจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือ หากไม่เกินความสามารถของเขา เขาก็ยินดีช่วยเหลืออย่างเต็มใจ บุคคลเช่นนี้ภายหลังถ้ามาขอความช่วยเหลือเราอีก ก็ให้ช่วย
๔. ไม่ให้แก่ผู้ที่ไม่ควรให้ หมายถึง ผู้ใดที่เราให้ความช่วยเหลือให้หยิบยืมสิ่งของแล้ว ไม่ส่งคืนตามกำหนดเวลา เมื่อเรามีเรื่องขอความช่วยเหลือ แม้ไม่เกินความสามารถของเขา และเป็นเรื่องถูกศีลธรรมเขาก็ไม่ยอมช่วย คนอย่างนี้ ภายหลังถ้ามาขอความช่วยเหลือเราอีก อย่าช่วย
๕. ให้ไม่ให้ก็ต้องให้ หมายถึง ถ้าญาติพี่น้องเราที่ตกระกำลำบากอยู่มา ขอความช่วยเหลือ แม้บางครั้งไม่ส่งของที่หยิบยืมตามเวลา ภายหลังเขามาขอความช่วยเหลืออีกก็ให้ช่วย เพราะถึงอย่างไรก็เป็นญาติพี่น้องกัน
๖. กินให้เป็นสุข หมายถึง ให้จัดการเรื่องอาหารการกินในครอบครัวให้ดี ปรนนิบัติพ่อแม่ของสามีในเรื่องอาหารอย่าให้บกพร่อง ถ้าทำได้อย่างนี้ ตัวเราเองเวลากินก็จะกินอย่างมีความสุข ไม่ต้องกังวล
๗. นั่งให้เป็นสุข หมายถึง รู้จักที่สูงที่ต่ำ เวลานั่งก็ไม่นั่งสูงกว่าพ่อแม่ ของสามี จะได้นั่งอย่างมีความสุข ไม่ต้องกังวล ไม่ถูกตำหนิ
๘. นอนให้เป็นสุข หมายถึง ดูแลเรื่องที่หลับที่นอนให้ดี และยึดหลักตื่นก่อนนอนทีหลัง ก่อนนอนก็จัดการธุระการงานให้เรียบร้อยเสียก่อน จะได้นอนอย่างมีความสุข
๙. บูชาไฟ หมายถึง เวลาที่พ่อแม่ของสามีหรือตัวสามีเองกำลังโกรธ เปรียบเสมือนไฟกำลังลุก ถ้าดุด่าอะไรเรา ก็ให้นิ่งเสียอย่าไปต่อล้อต่อเถียงด้วย เพราะในช่วงเวลานั้น ถ้าเราไปเถียงเข้าเรื่องราวก็จะยิ่งลุกลามใหญ่โต ไม่มีประโยชน์ คอยหาโอกาสเมื่อท่านหายโกรธ แล้วจึงค่อยชี้แจงเหตุผลให้ฟังอย่างนุ่มนวลจะดีกว่า
๑๐. บูชาเทวดา หมายถึง เวลาที่พ่อแม่ของสามี หรือตัวสามีเองทำความดีก็พยายามส่งเสริมสนับสนุน พูดให้กำลังใจให้ทำความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
คำสอนทั้ง ๑๐ ประการนี้เป็นของท่าน ธนัญชัยเศรษฐี อบรมสั่งสอนแก่นางวิสาขา ผู้เป็นบุตรสาว เมื่อคราวที่แต่งงาน
เมื่อประพฤติตนในหน้าที่ของภรรยาสามีที่ดีต่อกันแล้ว จักได้รับผลอันดี ๕ ประการ คือ
๑. ทำให้ความรักยืนยง
๒. ทำให้สมานสามัคคีกัน
๓. ทำให้ครอบครัวมีความสงบสุข
๔. ทำให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญ
๕. เป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง
พุทธะอิสระ
๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๔
————————————————–
Complete one’s tasks. Do not procrastinate.
June 15, 2021
Completing one’s task without procrastination means whenever one works on any project, one must try to do it neatly till completion.
Work here actually means both inside and outside works.
Outside works include burdens or tasks initiated by oneself or assigned by others. One must work on them enthusiastically, quickly, promptly, concisely, and neatly.
Inside works must be done at every breath. For example, one must attempt to purify one’s mind, release one’s mind from defilement, cleanse one’s mind, and practice one’s mind to be purified at every breath.
However, in this chapter, Lord Buddha did not mention about inside works, but he mentioned it in next chapters when it entered the process of mind development.
This chapter focuses on outside works with four principles given by Lord Buddha as follows.
1. Passion or satisfaction towards one’s work
No matter how difficult or easy, big or small, humble or noble, one must work on it with passion.
2. Diligence
One must try to do one’s best.
3. Attentiveness
One must pay attention and focus on that work with one’s heart.
4. Investigation
One must use one’s wisdom to thoroughly review and consider the best methods to complete that task. Then, excellent outcome will naturally follow.
Even though we have excellent way to work, but we must do it appropriately according to era, occasion, persons, and personal status.
People with following six characteristics are not successful in their works.
1. Addicted to alcohol and all kinds of narcotics
2. Always waste time with night life
3. Enjoy and keep traveling to watch entertainment
4. Addicted to gambling. It is said that being robbed ten times or one’s property’s burnt on fire for hundred times is not as perilous as losing from gambling one time
5. Associate with bad people and being misled by bad people
6. Lazy to work
Lazy people normally claim of cool weather to get more sleep or hot weather to get more rest. Or, the sun is setting, one had better stop working. Or, it is still morning. Let’s do it later. Or, one feels so hungry. Let’s find something to eat or to drink first.
The above six characteristics are negative for works and hinder one’s professional development and cause delay and damage on works.
If employer is aware of even one negative characteristic, they would not hire that person.
Five characteristics of good worker
1. Start working early
2. Finish working late
3. Do not grasp anything employers do not give
4. Always diligently complete one’s tasks
5. Talk positively about employer to the public
Once employers have got workers with the five good characteristics, they should promote the good employees as follows.
1. Assign works according to employees’ knowledge and capability
2. Give salary and reward appropriately according to ability and performance
3. Take care of employees’ quality of life
4. Share what employers have with employees appropriately
5. Give employees time for relaxation
Completing one tasks has ten good benefits as follows.
1. Promoting one’s social status, family, and country
2. Receiving happiness
3. Self-reliance
4. Easily make other merits and good deeds
5. One stays firmly as cautious person.
6. One prevents oneself from the four states of misery after death
7. One will live in blissful state after death
8. One will acquire decent habits for next lives
9. One will be praised by the public.
This is the most auspicious factor in one’s life.
Buddha Isara