หนึ่งในหลายร้อยเหตุผล ที่คนไทยรักสถาบันพระมหากษัตริย์ (ตอนที่ ๒)

0
73
ตอนที่แล้วจบลงตรงที่ ฝรั่งเศสใช้กำลังทหารเข้ามาแทรกแซงการทหารและการเมืองของสยาม ด้วยการเสนอตัวที่จะนำกำลังทหารเข้ามาช่วยสยามปราบกบฎฮ่อ
แต่หลังจากกองทัพสยาม โดยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ปราบกบฏฮ่อได้แล้ว แทนที่ฝรั่งเศสจะยกกำลังทหารออกจากล้านช้าง ฝรั่งเศสกลับใช้กำลังทหารยึดครองล้านช้าง ลาวทั้งหมดเอาไว้
แม้สยามจะพยายามเจรจา อ้างว่าล้านช้างเป็นของสยามมาตั้งแต่สมัยรัชสมัยอยุธยาแล้ว แต่ฝรั่งเศสก็ไม่ยอมฟัง อ้างว่าสยามไม่มีแผนที่ยืนยัน แม้ก่อนหน้านั้นสยามจะได้ว่าจ้างนักสำรวจชาวอังกฤษชื่อ เจมส์ ฟิตซ์รอย แมคคาร์ที เข้ามาทำการสำรวจกำหนดเขตแดนของสยาม ตั้งแต่ภาคเหนือลงมา
แต่ฝรั่งเศสก็อ้างว่า ข้อมูลในแผ่นที่ที่ชาวอังกฤษทำ ยังมีข้อมูลคลุมเครือ ไม่สามารถนำมากำหนดเขตแดนของสยามได้
สยามในเวลานั้นก็พยายามต่อสู้ขัดขืนสุดกำลัง จนทำให้ทหารฝรั่งเศสตายไป ๑๒ คน แต่ก็มิอาจขับไล่ทหารฝรั่งเศสและญวน จากแผ่นดินล้านช้างได้ สยามเล็งเห็นว่าขืนเปิดศึกยืดเยื้อต่อเนื่องต่อไป จะต้องสูญเสียกำลังรบของสยามมากขึ้น เพราะฝรั่งเศสได้เปรียบทั้งยุทโธปกรณ์และกำลังพล ที่มีญวนเข้าร่วมรบกับฝรั่งเศสด้วย สยามจึงต้องยอมเจรจาประนีประนอม ฝรั่งเศสจึงใช้ความตายของทหารฝ่ายตน ยกเป็นข้ออ้างยึดครองเขตแดนลาวทั้งหมดที่ตนยกเมฆขึ้น และใช้กำลังทหารข่มขู่ ให้สยามยอมเซ็นสัญญายกสิบสองจุไทหรือล้านช้างให้ เรียกสัญญานี้ว่า สัญญาเมืองแถง เขียนขึ้นเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๑
สรุปสยามต้องเสียล้านช้างทั้งหมด (ลาว) ให้กับฝรั่งเศสไปโดยจำยอมด้วยอำนาจทางทหารที่สองประเทศร่วมมือกัน และยุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่าของฝรั่งเศสและญวน
ในเวลาต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๕ ฝรั่งเศสได้แต่งตั้งให้นายโอกุสต์ ปาวี ที่มีผลงานทำให้ฝรั่งเศสได้ลาวมาปกครองโดยง่าย ฝรั่งเศสจึงได้แต่งตั้งให้เป็น ราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม พร้อมทั้งเดินหน้าใช้กลอุบายที่จะยึดดินแดนของสยามต่อไป
โปรดติดตามตอนต่อไป…
พุทธะอิสระ
๔ มกราคม ๒๕๖๔
—————————————–
หนึ่งในหลายร้อยเหตุผล ที่คนไทยรักสถาบันพระมหากษัตริย์ (ตอนที่ ๑)
————————————————–
One of hundred reasons why Thais adore the monarchy (chapter 2)
January 4, 2021
The last chapter ended when France interfered with Siam’s military and politics, by having its military forces help Siam fight against the Haw rebels.
After Siamese army led by Field Marshal Chaophraya Surasakmontri (Jerm Sang-Chuto)’s winning over the Haw rebels, France did not withdraw its military troops out of Lan Xang, but took control over Lan Xang and entire area of Laos.
Even though Siam tried to negotiate and cited that Lan Xang had belonged to Siam since the Ayudhya era, France did not listen and claimed that Siam did not have a map to confirm its territory. Before that, Siam hired an Irish surveyor and cartographer named James Fitzroy McCarthy to work on the setting of its borders from the north downward.
Nevertheless, France claimed that the map made by the Irish surveyor contained vague information and could not be used to determine Siam’s borders.
At the time, Siam tried to fight with all its might which caused the death of twelve French soldiers. Still, Siam could not drive away French and Vietnamese soldiers out of the Lan Xang land. Siam thought that if it insisted to continuously fight against France, it will lose more people because France had superior weapons and more armed forces with Vietnamese joining. Consequently, Siam had to compromise. France, therefore, exploited its dead soldiers as an excuse to seize the land of Laos. Then, France threatened Siam to sign an agreement to cede Lan Xang to France on December 22, 1888.
In conclusion, Siam lost entire area of Lan Xang (Laos) to France due to superior joint armed forces and weapons of France and Vietnam.
Later, in 1892, France appointed Jean Marie August Pavie, who was instrumental in establishing French control over Laos, to be French resident minister in Siam. Auguste Pavie moved forward to use his cunning tactics to seize Siam.
To be continued…
Buddha Isara
—————————————–
One of hundred reasons why Thais adore the monarchy (chapter 1)