ถาม เห็นพักนี้ ท่านเอาแต่โพสต์เรื่องทางโลก หรือท่านจะหลงลืมวิถีธรรมไปเสียแล้ว
ตอบ ผู้ถามน่าจะไม่เคยฟังธรรม ไม่เคยปฏิบัติธรรม และไม่เคยเห็นธรรม
อธิบายความคำว่า ธรรม มีทั้งฝ่ายดี เรียกว่า กุศลธรรม
ฝ่ายเลว เรียกว่า อกุศลธรรม
ธรรมฝ่ายกุศล ยังแยกออกเป็น สมมุติธรรม และปรมัตถธรรม
อธิบายความคำว่า สมมุติธรรม หมายถึง การที่เรามีหน้าที่ต่อธรรมที่ประกอบไปด้วย สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา และสิ่งของ สรรพสิ่งรอบกาย โดยใช้หลักประโยชน์ตน และให้ประโยชน์ท่าน ในการทำหน้าที่ต่อวิถีแห่งโลกสมมุติ
อีกทั้งยังต้องมีความเห็น ความเชื่อว่า
การให้ ล้วนมีผล
การสะสมการให้ มีผลยั่งยืน
การกราบไหว้ การบูชาบุคคล และสิ่งที่ควรบูชา ล้วนมีผล
การยอมรับและเชื่อในสิ่งที่ตนทำ ทั้งดีและชั่ว ล้วนส่งผลให้ทั้งนั้น
การยอมรับว่าโลกสมมุตินี้มีอยู่ และกำลังมีต่อไป ตามเหตุปัจจัย
การยอมรับว่า ภพหน้า ชาติหน้า มีขึ้นได้เพราะเหตุปัจจัย
การมีสำนึก ระลึกรู้ถึง พระคุณของพ่อ แม่ ครูอาจารย์ และท่านผู้มีคุณ
การยอมรับว่า สามัญญสัตว์ เมื่อตายแล้วต้องเกิดใหม่ เพราะอาศัยเหตุปัจจัย
ความเชื่อในการบำเพ็ญคุณงามความดี และด้วยผลแห่งความดีที่สั่งสมเอาไว้ ย่อมให้ผลสำเร็จสูงสุดจนถึงความหลุดพ้น
เหล่านี้คือ ธรรมที่เป็นโลกสมมุติ เรียกว่า สมมุติธรรม
ฉะนั้นการที่ พุทธะอิสระ ทำหน้าที่แทนคุณแผ่นดิน ถือว่า เป็นการปฏิบัติตามหลักสมมุติธรรม
ส่วนปรมัตถธรรมนั้น ได้แก่ ธรรมที่ล่วงพ้นโลกสมมุติ
ธรรมที่อยู่เหนือสัตว์ บุคคล เราเขา สรรพสิ่งและสรรพสัตว์ เรียกว่า ปรมัตถธรรมเป็นเรื่องเฉพาะตนล้วนๆ อันประกอบไปด้วย
จิต เจตสิก (อารมณ์) และนิพพาน
อธิบายคำว่า
จิต หมายถึง เครื่องรับ จำ รู้ คิด ในอารมณ์ทั้งปวง
เจตสิก หมายถึง เครื่องปรุง เครื่องครอบงำจิต
รูป หมายถึง สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย ปรุงแต่งหล่อหลอมรวมตัวกัน แล้วสมมุติเรียกสิ่งนั้นๆ เป็นสัตว์ บุคคล สิ่งของ
รูป อีกอย่างคือ รูปที่เกิดจากปรุงแต่งของจิตที่รู้และไม่รู้
นิพพาน หมายถึง ขบวนการ วาง ว่าง ดับ เย็น
ฉะนั้น ปรมัตถธรรม จึงเป็นธรรมเครื่องสำรอกกิเลสภพ ชาติ และจิตโดยเฉพาะ
แม้จะรอบรู้ ปรมัตถธรรม แต่หากไม่ปฏิบัติตามสมมุติให้สมบูรณ์ ก็ยากที่จะเข้าถึง ปรมัตถ์ อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้
ดุจดังบุคคล ต่อให้ชาญฉลาดรอบรู้สักเพียงใด
แต่ถ้าไม่กตัญญูต่อบุพการีผู้มีคุณ ไม่ทำหน้าที่อันพึงมีต่อแผ่นดิน ในที่สุดความชาญฉลาดนั้น ก็มิอาจสร้างความสุขสำเร็จประโยชน์ได้
ส่วน อกุศลกรรม หรือ กรรมฝ่ายเลว คือ การกระทำ ความเชื่อในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับ กุศลกรรม นั่นเอง
พุทธะอิสระ
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
————————————————–
Question and Answer
February 3, 2021
Question: Recently, you have mainly posted worldly matters. Have you already forgotten the Dhamma path?
Answer: The person who asked this question perhaps has never listened to Dhamma, practiced Dhamma, and seen Dhamma.
The word Dhamma has two sides. The good side is moral and meritorious, whereas the bad side is immoral.
Meritorious Dhamma are divided into hypothetical truth and ultimate truth.
Hypothetical truth is our duties towards people, things, we, they, objects, and surrounding environment. The main principle in performing duties towards the hypothetical truth is “to do thing that is beneficial to both ourselves and other people”.
In addition, there are beliefs that…
Giving and sharing will bring about abundance in the future.
Continuous giving and sharing result in everlasting gain.
Respecting and worshiping people deserving high respect have consequences.
Accepting that one’s own action, both good and bad, has consequences.
Accepting that the hypothetical world does exist and will continue to exist, according to causes and factors.
Accepting that there will be next moments and next lives according to causes and factors.
Having consciousness and gratefulness for benevolence of parents, teachers, and those who have treated us with mercy.
Accepting that common beings will be reborn after death, according to causes and factors.
Believing that continuous, meritorious deeds and accumulated merits bring about higher achievements till Nirvana (the extinction of all defilements and suffering).
These are Dhamma for the hypothetical world, called hypothetical Dhamma.
Consequently, Buddha Isara’s gratefulness for the country is practice according to the hypothetical Dhamma.
Ultimate Dhamma is the Dhamma beyond the hypothetical world.
The Dhamma which is beyond beings, people, we, they, various objects, and various beings is called the ultimate Dhamma. It is purely about oneself which consists of mind, mental concomitants (emotions), and Nirvana.
Explanation of these words.
Mind means accepting, remembering, knowing, and thinking about all emotions.
Mental concomitants mean mental coefficients and factors that dominate one’s mind.
Visible objects mean objects that result from causes and factors. After various elements combined, the objects are hypothetically named as animals, people, and objects.
In addition, objects result from conceiving of knowing mind or ignorant mind.
Nirvana means the process of letting go, nonexistence of self, extinction of self and liberation from defilements and suffering.
Therefore, ultimate Dhamma is the Dhamma particularly for getting rid of defilements, next moments, next lives, and existence of mind.
Even though some people are omniscient about the ultimate Dhamma, if they do not fully perform their duties, it will be hard for them to completely achieve the purified ultimate truth.
No matter how intelligent and knowledgeable people are, if they are ungrateful and do not give back to the country, such cleverness will not lead them to real achievement.
Bad karma or bad deeds are actions and beliefs opposite to those of good deeds.
Buddha Isara