คำถามมาจากรายการ คลับเฮ้าส์ ถามมาว่า
มีคำกล่าวว่า การปฏิบัติสมาธิทำไมจึงได้ชื่อว่า ทำให้เกิดผลบุญมากที่สุด
ตอบ ต้องขอยกพระพุทธธรรมคำสอน ขององค์พระผู้มีพระภาคเจ้าที่ทรงสอนเรื่อง วิธีบำเพ็ญบุญ วิธีทำบุญ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง
อธิบายคำว่า บุญ หมายถึง สิ่งที่รู้สึก สัมผัสได้ด้วยใจ
คำว่ากิริยา หมายถึง พฤติกรรมของกาย ที่ประกอบไปด้วยกิริยาอ่อนน้อม มีวินัยในการบำเพ็ญบุญ
คำว่า วัตถุ หมายถึง สิ่งของที่จะนำมาให้ มาบริจาค เพื่อให้สำเร็จประโยชน์แก่ผู้รับ
และในหลักการบำเพ็ญบุญ ทำบุญ สร้างบุญ องค์พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงเอาไว้ถึง ๑๐ อย่าง อันได้แก่
๑. ทาน หมายถึง การให้ การแบ่งปัน การเผื่อแผ่ การเสียสละ
๒. การรักษาศีล หมายถึง หลักปฎิบัติที่กำกับกาย วาจา ให้เรียบร้อยเหมาะสมแก่สังคมที่ตนอยู่อาศัย โดยไม่มีโทษ ทั้งในตนและคนอื่น
๓. เจริญภาวนา หมายถึง การเพิ่มพูนพัฒนา ให้กาย วาจา ใจ เจริญในทางที่ดี
๔. การอ่อนน้อมถ่อมตน หมายถึง การทำตนให้อยู่ในระเบียบวินัย กฎเกณฑ์ กติกา และกฎหมายบ้านเมือง สังคม อย่างเคร่งครัด ระมัดระวัง มิให้ผิดพลาด
๕. การทำหน้าที่อย่างซื่อตรง ถูกต้อง สมบูรณ์
๖. การแสดงน้ำใจ ให้โอกาส เปิดโอกาส แก่ผู้อื่นได้แก้ไขความผิดพลาด และกระทำความดีงามร่วมกัน
๗. การอนุโมทนา หรือยินดี ต่อความดีงามของผู้อื่น
๘. การฟังธรรม ฟังคำสั่งสอนของปราชญ์ บัณฑิต ผู้รู้ ผู้มีปัญญา
๙. การแสดงธรรม คือ การให้ข้อคิด บทวิเคราะห์ ตัวเลือก ที่ผู้ฟัง ฟังแล้วเจริญสติ เจริญปัญญา
๑๐. การมีสัมมาทิฏฐิ หมายถึง มีความคิด ความเห็น ที่ถูกต้องสอดคล้องกับหลักของความจริงในโลกทั้งสอง คือ โลกสมมุติกับโลกปรมัตถ์
การทำกรรมฐาน สมาธิ เจริญสติ วิปัสสนา ล้วนแต่ต้องใช้ทานเพื่อทำให้จิตใจอ่อนโยนเป็นหลัก
ใช้ศีลเป็นเครื่องทำให้กาย วาจา สงบระงับตั้งมั่น
ใช้ภาวนา เครื่องกระตุ้นจิตสำนึกถึงสติปัญญา และความสงบระงับ ด้วยมุ่งหวังความเจริญให้ยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ใช้ความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นเครื่องกระตุ้นเตือนให้กาย ใจ พร้อมต่อการพัฒนาก้าวไปข้างหน้า
ใช้ความเพียรพยายามอย่างซื่อตรง ในการศึกษา สั่งสมประสบการณ์ตรงต่อหลักปฎิบัติภาวนา
ใช้จิตใจที่กว้างขวางเมตตา ให้อภัย เป็นเครื่องช่วยประคับประคองจิตใจ ให้ตั้งมั่นโดยง่าย
ใช้ความยินดี พึงพอใจต่อสิ่งที่เราทำ สิ่งที่เราขวนขวาย ว่าเป็นทางอันถูกชอบตรง
ใช้การศึกษาสดับดับฟัง ความรู้ในพุทธธรรม มาประยุกต์ใช้กับการภาวนาให้เจริญมากยิ่งๆ ขึ้น
ใช้การเปิดเผยแพร่ขยายประสบการณ์ความรู้ ที่ตนมีตนได้ในการภาวนาให้แก่ผู้อื่น เพื่อแลกเปลี่ยนและเปรียบเทียบกับสิ่งที่ตนปฏิบัติ เพื่อพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
สุดท้ายใช้ความคิด ความเห็นอันถูกต้อง ซื่อตรง สอดคล้องต่อความเป็นจริงของโลกสมมุติและโลกปรมัตถ์อย่างถูกต้องชอบด้วยธรรม
ดังนี้แหละจึงได้ชื่อว่า การเจริญกรรมฐาน ทำสมาธิ วิปัสสนา เจริญภาวนา จึงเป็นศูนย์รวมของบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ที่เพียบพร้อมสมบูรณ์ ด้วยคุณงามความดี จึงจัดเป็นบุญ เป็นกุศลที่ยิ่งใหญ่ ดังที่ท่านสอนไว้
พุทธะอิสระ
————————————————–
Question and Answer
April 2, 2021
There was a question from Clubhouse program, “Why it has been said that meditation practice results in the greatest merit?”
Answer: I would like to bring up the Lord Buddha’s teaching on how to make merits called ten meritorious actions.
The world “merit” is what we can feel of with our hearts.
Behaviors mean physical behaviors consisting of courteous manners and discipline in make merits.
Objects are things donated for the benefits of recipients.
Lord Buddha has taught about ten ways of making merits as follows.
1. Donation means giving, sharing and sacrifice.
2. Observing the precepts means practice for appropriate behaviors and speech for the society and harmless behaviors for oneself and other people.
3. Meditation and vipassana practice to develop one’s action, speech, and mind
4. Humility means strictly and carefully behaving oneself according to rules, regulations, and laws
5. Fulfilling one’s duties honestly, correctly and completely
6. Showing kindness and giving opportunity for others to fix their mistakes and making merits together
7. Rejoicing in merits of others
8. Listening Dhamma teachings of sages, the wise, and the enlightened
9. Teaching Dhamma means sharing thoughts, analysis, and choices, from which listeners gain consciousness and wisdom
10. Having right views means having ideas and opinions according to both hypothetical world and ultimate world
Dhamma practice including meditation, mindfulness, and vipassana all requires giving to make our minds gentle.
Dhamma practice requires precepts to keep body, speech, and mind in peace and focus.
Dhamma practice stimulates wisdom and peace, with the aim to achieve more noble stage.
Dhamma practice requires humility to motivate body and mind to further develop.
Dhamma practice requires honest perseverance to study and accumulate experiences from Dhamma practice.
Dhamma practice requires generous and merciful mind to forgive and balance one’s mind to easily stay focused.
Dhamma practice requires pleasure and satisfaction in what we do and try in the right path.
Dhamma practice requires studying, listening attentively to knowledge of Dhamma and applying them more and more to Dhamma practice.
Dhamma practice requires sharing experiences and knowledge with others. Then, one can exchange and compare Dhamma experiences and knowledge with others and improve oneself.
Lastly, Dhamma practice requires right and honest thoughts and opinions according to both hypothetical world and ultimate world.
Therefore, Dhamma practice including meditation, mindfulness, and vipassana is the combination of ten meritorious actions which is fulfilled with integrity and virtues. As a result, Dhamma practice is the greatest merit and charity.
Buddha Isara