เรามาลองตามดูแผนล้มมหาเถรของกลุ่มปฏิสังขรณ์ใหม่กันดูหน่อย

0
91
คณะปฏิสังขรณ์การพระศาสนาใหม่ มีผู้ก่อตั้งทั้งนักบวช และฆราวาส ๓ นิ้ว
ข้อเรียกร้องที่ ๑
คณะปฏิสังขรณ์การพระศาสนาใหม่เป็นการรื้อฟื้นคณะปฏิสังขรณ์การพระศาสนาในปี ๒๔๗๗ เพื่อปฏิรูป พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย ยกเลิกการรวมศูนย์อำนาจของรัฐ
วิจารณ์ให้เข้าใจตรงกันว่า พระธรรมวินัย ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
วันนี้พวกนักบวชวัยละอ่อน และกลุ่ม ๓ นิ้ว ต้องการปฏิรูปให้สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย นี่มันบ้ากันไปใหญ่แล้ว
ดูท่านักบวชยุคนี้ เขาบูชาคำว่าประชาธิปไตยสำคัญกว่าพระธรรมวินัยจริงๆ
คำว่าการพระศาสนาหรือธุระมีแค่ ๒ อย่าง คือ คันถธุระ กับ วิปัสสนาธุระ ที่พระบรมศาสดาทรงบัญญัติ หากยึดเอาความกระสันของพวกกลุ่มคณะปฏิสังขรณ์นี้ คงต้องเพิ่มประชาธิปไตยธุระ เข้าไปอีกข้อ …เวรกรรม เวรกรรม
ส่วนประเด็นปฏิรูป พ.ร.บ.คณะสงฆ์นั้น พุทธะอิสระ เห็นด้วย แต่ไม่ใช่เพื่อประชาธิปไตย ต้องปฏิรูป พ.ร.บ.คณะสงฆ์ให้สอดคล้องต่อหลักพระธรรมวินัย เช่นนี้จึงจะถือว่า เป็นการอุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา
ไม่ใช่ไปเอาลัทธิคลั่งประชาธิปไตยแบบฝรั่งล่าอาณานิคม มาครอบงำหลักการพระพุทธศาสนา อย่างที่พวกคนกลุ่มนี้กระสัน
เพราะพระธรรมวินัยที่องค์พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ ก็ถือว่า ให้สิทธิ์แก่ผู้สมัครใจเข้ามาบวชอย่างเสมอภาคกันอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติ สติปัญญา และความสามารถของแต่ละคนที่เข้ามาบวช
ไม่ใช่บวชเข้ามายังไม่ทันไร ไม่มีคุณธรรมอะไร ก็พยายามตีเสมอผู้มีศีล มีธรรมมากกว่าตน
เช่นนี้มันพวกเผ่าพันธุ์ ‘มหากปิละ’ ปลาทองปากเหม็นชัดๆ
ส่วนประเด็นที่ว่าให้ยกเลิกการรวมศูนย์อำนาจรัฐ ก็ไม่ยาก อย่างนั้นก็ไม่ต้องให้รัฐยกฐานะนักบวชให้พิเศษกว่าประชาชนทั่วไป นักบวชทุกคนต้องเสียภาษีรายได้ทุกรูป เพราะอยากเสมอภาคเท่าเทียมกับประชาชนทั่วไป ก็ไม่ควรจะได้รับสิทธิพิเศษใดๆ มากกว่าประชาชนอื่นๆ
เอางี้ไหม?
หรือสิทธิพิเศษกูก็จะเอา การอุปถัมภ์ค้ำชูจากรัฐก็จะเอา ภาษีกูก็ไม่ต้องเสีย ข้อยกเว้นอื่นที่เป็นประโยชน์ซึ่งประชาชนทั่วไปไม่ได้ กูจะต้องได้
อีแบบนี้ก็ไปหาแผ่นดินอยู่ใหม่เด้อ นางเด้อ เพราะแผ่นดินนี้เขาอุปถัมภ์บำรุงพระศาสนาด้วยความยกย่อง เทิดทูน บูชา จึงยกสถานะของภิกษุให้สูงกว่าประชาชนทั่วไป
แม้แต่ในราชพิธีหรือพระราชพิธี พระภิกษุไม่ว่าจะสูง จะต่ำ แม้บวชได้วันเดียว ยังต้องนั่งสูงกว่าชาวบ้าน ไม่เว้นแม้แต่พระราชามหากษัตริย์ ยังต้องยกมือไหว้
ได้แค่นี้จากแผ่นดินยังไม่พอใจ คงต้องการสิทธิ์ที่จะให้ชาวบ้าน และนักบวชเข้าสวมกอด จับมือ เช็คแฮนด์กันละกระมั้ง
ข้อเรียกร้องที่ ๒
โครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์แบ่งเป็น ๓ อำนาจ ประกอบด้วย สังฆนายก สังฆสภา และคณะวินัยธร โดยมาจากการเลือกตั้งกันเองในหมู่สงฆ์ โดยแต่ละนิกายสามารถจัดตั้งตามโครงสร้างนี้ของตนเองได้
วิจารณ์ความข้อนี้ พุทธะอิสระ ก็เห็นด้วยนะ
แต่ก็ต้องระวังว่าจะทำให้เกิดความแตกแยก แตกสามัคคี และหากมองให้ลึก ในมุมของนักปกครอง มันจะสร้างปัญหาแก่สังคมโดยรวมมากกว่า ที่สังคมจะได้ประโยชน์
รวมความว่า หากคิดจะบวชหรือมีชีวิตอยู่เพื่อหมู่สัตว์ ควรจะต้องตรึกตรองดูให้รอบด้านว่า การแยกอำนาจกระจายไปตามภูมิภาค มันจะทำให้หมู่สงฆ์งดงามเป็นปึกแผ่นเป็นเอกภาพอย่างที่เป็นอยู่หรือไม่
เพราะถ้าเมื่อใดหมู่สงฆ์แตกแยกกัน นั่นก็เท่ากับศาสนิกชนของภิกษุแต่ละรูปแต่ละคณะ ก็ต้องแตกแยกกัน
แล้วความมั่นคงของชาติ ของแผ่นดินมันจะมีไหม
คิดสิคิด อย่าเอาความกระสันยึดตัณหาของตนเป็นที่ตั้ง โดยไม่รับผิดชอบต่อส่วนรวม
อย่าลืมมนุษย์เป็นสัตว์สังคมนะ หรือ ผู้คนคิดจะแยกมันไม่ใช่มนุษย์
วันนี้ขอวิจารณ์แผนของพวกคณะปฏิสังขรณ์แค่ ๒ ข้อนี้ก่อน
คราวหน้าจะมาวิจารณ์เพิ่มเติมอีกนะจ๊ะ
พุทธะอิสระ
๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๔
————————————————–
Let’s look at the Religious Restoration Movement’s plan to abolish the Sangha Supreme Council.
May 10, 2021
“The Religious Restoration Movement” has founders who are both priests and laymen from the three-finger salute protesters.
The First Request :
The Religious Restoration Movement in 1934 requested for reform of the Sangha Act to be in line with democracy and abolishment of power-centric government.
Today, these young priests and the three-finger salute group want to reform the code of monastic discipline, prescribed by Lord Buddha, to be in line with democratic principles. This has gone too crazy.
There are two Buddhist monastic duties prescribed by Lord Buddha: first duty is to study, memorize code of monastic rules until one specializes and second duty is to practice one’s action, speech, and mind in peace as well as wisdom. If we focus on desires of “The Religious Restoration Movement”, we may have to add one more democratic duty…Oh for goodness sake.
As for the reform of the Sangha Act, Buddha Isara agree but not for democracy. I agree with the reform to make the Sangha Act align with the code of monastic discipline. This will help preserve Buddhism.
This group of people desire to dominate Buddhist principles with democratic doctrine of the Western colonists. The code of monastic discipline, prescribed by Lord Buddha, give equal rights to people who volunteer to be ordained. It depends on each person’s Dhamma practice, wisdom, and capability.
If a monk has been ordained just for a while and has not achieved any virtues, but tries to rival those of higher nobility, this is obviously the species of “Maha Kapila” golden fish with bad breath.
As for abolishment of power-centric government, this is easy. Why don’t we ask the state not to give any privilege to monks? All monks then have to pay taxes the same as common people and will not have any privileges than other citizens. Is this alright?
Or, I must have privileges and support from the government. I won’t have to pay tax. I have to get what other common people do not get. As such, please find a new country to live in. This country patronages Buddhism with respect and admiration. Therefore, status of monks is raised higher above common people.
Even in royal ceremonies, monks whether he came from which family and even if he has been ordained only one day, he must sit higher than other people. Even the King has to pay respect to that monk.
These monks have got so much privileges from the country, they are still not satisfied. Do they want rights for laymen and priests to hug and shake hands with each other?
The Second Request :
Governing structure of monastic community shall be divided into three powers consisting of Chairman of the Ecclesiastical, synod, and a group of monks who are versed in the Discipline. Each governing body comes from election among monastic community. Each Buddhist doctrine may set up their own structure under this principle.
Buddha Isara agree with this point.
However, please beware of cleavage. And if we look deeper from the perspective of a ruler, it will cause more social problems than social benefits.
In sum, if one wish to enter monkhood or live for the sake of all creatures, one must consider all-round whether regional decentralization would make monastic community beautifully harmonious like nowadays.
Because whenever there is disharmony in monastic community, it also means conflicts among followers of each monastic community. Then, will there be national stability?
Please think carefully. Please do not focus on your own desires without responsibility for the society.
Don’t forget that human is social animal. Or, people who want to divide it is not human?
Today, I will criticize only two points of “The Religious Restoration Movement”.
Next time, I will criticize on other points.
Buddha Isara