อ่านแล้วไม่รู้ พวกหางแดงจะเข้าใจไหม

0
97

บทความ

ขออนุญาติแชร์ นะคุณ
อ่านแล้วไม่รู้ พวกหางแดงจะเข้าใจไหม

๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

120259 บทความ อ่านแล้วไม่รู้ พวกหางแดงจะเข้าใจไหม

พุทธะอิสระ
___________________

อวสานโลกสวย : วิเคราะห์ พศ.-มส.
โดย เปลว สีเงิน 12 กุมภาพันธ์ 2559

 

เมื่อวาน ผมปูพื้นเรื่อง “ธัมมชโย” ให้รู้ที่มา-ที่ไป แต่กร่อนความจากที่คุณ Pat Hemasuk เคยโพสต์ fb ไว้ไปมาก โดยเฉพาะตอน “พระลิขิต” สมเด็จพระญาณสังวร

 

ดังนั้น เพื่อความครบของเนื้อหา และเคารพต้นฉบับ คลิกอ่านเอาเองที่https://thth.facebook.com/von.richthofen.7/posts/982465635130381:0

 

ทีนี้ก็มาคุยกันต่อ เริ่มจากหนังสือ พศ.-มส.ตอบ DSI มีประเด็นน่าสนใจ ดังนี้

 

………..ในปี ๒๕๔๒ ที่มีการยื่นฟ้องคดีทางสงฆ์ กล่าวหาพระธัมมชโย ขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระราชภาวนาวิสุทธิ์”

 

ศาลชั้นต้นทางสงฆ์ไม่รับคำร้องของผู้ยื่นฟ้องคดี ๒ คน คือ นายสมพร เทพสิทธา และนายมาณพ พลไพรินทร์

 

เนื่องจาก “คำร้องไม่สมบูรณ์” และศาลชั้นต้นทางสงฆ์ให้อุทธรณ์ภายใน ๓๐ วัน แต่ผู้ยื่นฟ้องคดีไม่มาและได้ถอนฟ้องไป ๑ คน

 

ทำให้การพิจารณา “คดีทางสงฆ์” ต้องยุติลง และไม่มีการพิจารณาไปถึงกระบวนการที่ชี้ชัดว่า “ธัมมชโยอาบัติปาราชิกหรือไม่?”

 

ดังนั้น คดีทางสงฆ์ จึงไปไม่ถึงการพิจารณาในขั้น “ศาลอุทธรณ์ทางสงฆ์” คือเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และไม่ถึงขั้น “ศาลฎีกาทางสงฆ์” คือ มส. ขณะที่ ผู้ยื่นฟ้องคดีทางสงฆ์ ได้ยื่นฟ้องคดีต่อทางโลกพร้อมกันไปด้วย แต่ในเวลาต่อมา “ผู้ร้องขอถอน
ฟ้อง” ทำให้อัยการถอนฟ้องคดี ส่งผลให้ “คดีทางโลก” สิ้นสุดลงไปด้วย

 

เพราะฉะนั้น ถ้าจะฟ้องร้องธัมมชโยอีก จะต้องเป็นข้อกล่าวหาในคดีอื่นๆ “ที่เป็นคดีใหม่” ไม่ใช่กรณี “ข้อกล่าวหายักยอกที่ดิน”!

 

โดยผู้ที่ต้องการฟ้องคดีทางสงฆ์ จะต้องไปยื่นฟ้องที่ “เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี” เพราะเป็นเจ้าคณะปกครองโดยตรง

 

สำหรับกรณีที่ DSI มองว่า “มส.ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๕๗ หรือไม่” กรณีของธัมมชโย ยืนยันว่า พศ.และ มส.ดำเนินงานเรื่องนี้ “อย่างเต็มที่” แล้ว!

 

ส่วนการมองว่า ละเว้นปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความคิดของแต่ละฝ่าย”

 

ประเด็นที่ต้องใคร่ครวญจากหนังสือ มส.-พศ.คือ

 

๑.ที่ว่า “คำร้องไม่สมบูรณ์” ทำให้ “คดีทางสงฆ์” ต้องยุติ ไม่มีการพิจารณาไปถึงกระบวนการที่ชี้ชัดว่า “ธัมมชโยอาบัติ ปาราชิกหรือไม่?” นั้น

 

คำถามมีว่า…….

พศ.-มส.ยึดพระวินัยบัญญัติ “ข้อไหน” รับรองการปฏิบัติเช่นนี้ว่า “เป็นไปตามพุทธบัญญัติ”?

 

การที่พระจะเป็นปาราชิกหรือไม่นั้น อยู่ที่ผู้นั้น “กระทำหรือไม่กระทำ” ไม่ขึ้นอยู่กับใครจะฟ้องคดี หรือถอน หรือไม่ฟ้องคดี

 

การเลียนแบบ มีศาลสงฆ์ ชั้นต้น-อุทธรณ์-ฎีกา มาอ้าง นั่น…วิตถาร วิปริตผิดเพี้ยนจากพระธรรมวินัย

 

การถอนคดีหรือการไม่ฟ้อง อันมีผลระงับโทษอาญานั้น เป็นเรื่องกฎหมายทางโลก

 

แต่นั่น ก็ไม่ได้หมายความว่า คนนั้นไม่ได้ทำความผิด!

 

เพราะการถอนฟ้อง เป็นส่วน “โทษ” เท่านั้น แต่ส่วน “ทำผิด” ก็ผิดติดตัวอยู่นั่นแหละ การถอน จะไปลบผิดไม่ได้ และไม่ใช่ตามนัยกฎหมายด้วย

 

เหมือนเราฆ่าคนตาย ถึงไม่มีใครรู้ ไม่ถูกจับ แต่ผิดที่ “ฆ่าคนตาย” มันก็ “ผิด” อยู่นั่นแหละ

 

หรือถูกจับ แต่สู้คดีหลุด การหลุดคดี ไม่ติดคุก ก็ไม่ได้หมายความว่า คนนั้นไม่ได้ฆ่าคนตาย!

 

ทางกฎหมายบ้านเมือง ยึดทางกายปฏิบัติเป็นหลัก แต่ทางพระวินัย ยึดทั้งทางกายและทางใจ

 

ทางบ้านเมือง บางคดีถอนฟ้องแล้วศาลยุติคดีได้ ผู้ทำผิดไม่ต้องโทษ แต่ทางพระวินัย ครุกาบัติ คือโทษหนักระดับปาราชิก

 

จะถอน-ไม่ถอน-จะฟ้อง-ไม่ฟ้อง ผู้ทำ ก็ต้องโทษปาราชิกวันยังค่ำ!

 

ดังนั้น การที่ พศ.-มส.อ้างคนถอนฟ้อง แล้วโมเมสรุป…

 

“คดีทางสงฆ์ต้องยุติ ไม่มีการพิจารณาไปถึงกระบวนการที่ชี้ชัดว่า” ธัมมชโยอาบัติปาราชิกหรือไม่”

 

นั่นเท่ากับ พศ.-มศ.บิดเบือนพระวินัย การไม่ฟ้องหรือถอนฟ้อง จะนำมาเคลมว่า “ธัมมชโยไม่ปาราชิก” ไม่ได้ พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสั่งสอนไว้เลย

 

ประเด็นนี้ สมเด็จพระญาณสังวร “พระสังฆราช” พระผู้เป็นอริยสงฆ์ ทรงลิขิตไว้ตามพระวินัยชัดแจ้งแล้วว่า……..

 

“การโกงสมบัติผู้อื่น ตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ฐานผิดพระธรรมวินัย พ้นจากความเป็นพระทันที

 

ในกรณีนี้…….

ไม่ว่าจะมีผู้รู้เห็นหรือไม่ ไม่ว่าจะสั่งให้สึก ไม่ว่าจะจับสึก หรือไม่ก็ตาม ภิกษุผู้ละเมิดพระธรรมวินัยข้อนี้ “ต้องอาบัติปาราชิก” พ้นจากความเป็นพระโดยทันที”

 

ก็ชัดเจน อัยการถอนคดีต่อศาล ธัมมชโยคืนทรัพย์ให้วัด กฎหมายทางโลก ข้อนี้ “ยอมความได้” คืนแล้ว ถือว่าพ้นโทษอาญาคุก

 

แต่ทางสงฆ์ มหาเถรฯ จะยึดหลักทางโลก มาโมเมใช้กับทางสงฆ์ที่มีพระวินัยตามพุทธบัญญัติไม่ได้

 

ธัมมชโยล่อเงินวัดร่วมพันล้าน ที่ดินตะหาก กลัวติดคุก จึงสำรอกคืน เช่นนี้ ทางโลกพ้นอาญาคุก

 

แต่ทางศาสนา ธัมมชโยแล้ว จะคืน-ไม่คืน, จะฟ้อง-ไม่ฟ้อง, จะคุก-ไม่คุก

 

พ้นจากความเป็นพระ ตั้งแต่วินาทีที่ใจ “ยึดเอา” ทรัพย์นั้น มาเป็นของตนแล้ว!

 

คณะกรรมการมหาเถรฯ แต่ละรูป ล้วนจบเปรียญธรรมสูงทั้งสิ้น …..

 

แต่แค่ “นักธรรมชั้นตรี” ก็สอนตรงนี้แล้ว ไฉนเรียนสูง จึงหลงต่ำเล่า?

 

๒.ที่ว่า ถ้าจะฟ้องธัมมชโยอีก จะต้องเป็นข้อกล่าวหาในคดีอื่นๆ “ที่เป็นคดีใหม่”

 

เอางั้นก็ได้ พระคุณเจ้า……

 

คดีร่วมยักยอก-ฟอกเงินสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นร่วมกับนายศุภชัย ศรีศุกอักษร เป็นพัน-เป็นหมื่นล้าน DSI-อัยการ กำลังจะแจ้งข้อหาให้ธัมมชโยตกเป็น “ผู้ต้องหา” อยู่แล้ว

 

คงได้เห็น “สมี” ห่มเหลืองเข้าตะรางในขั้นตอนฝากขัง ถ้าศาลไม่อนุมัติประกัน!

 

๓.ที่ พศ.-มส.ตอบ DSI เชิงหยันปนท้าทายว่า…DSI มองว่า “มส.ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๕๗ หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความคิดของแต่ละฝ่ายนั้น

 

ผมว่าไม่ต้องคิด เพราะมี พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ๒๕๐๕ เป็นหลักควบคุมมหาเถรฯ อยู่แล้ว

 

ก่อนอื่น ผมจะยกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ มาให้พระคุณเจ้าดูก่อน

 

“ผู้ใด เป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

 

ทีนี้ มาดูกฎหมายคณะสงฆ์บ้าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติม ๒๕๓๕ มาตรา ๔๕ ความว่า

 

“ให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา”

 

หมายความว่า ตั้งแต่เจ้าคณะตำบล-อำเภอ-จังหวัด-ภาค รวมถึงเจ้าคณะหนเล็ก-หนใหญ่ รวมถึงคณะกรรมการมหาเถรสมาคม

 

“เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา”!

 

นั่นก็คือ “ทางสงฆ์” ด้วย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ยึดโยง “ทางโลก” ด้วยกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ ที่ระบุว่า

 

“ผู้ใด เป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

 

สรุป….มส.ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๕๗ หรือไม่

คำตอบคือ….

“เต็มบาตร” เลยละพระคุณเจ้า!

 

ทีนี้ ญาติโยม อุบาสก-อุบาสิกา อาจถาม เมื่อเป็นเช่นนี้ แล้วไงต่อ?

 

การไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามมติมหาเถรฯ ประเด็นพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช เกี่ยวกับธัมมชโย ตั้งแต่ปี ๔๒

 

ถ้ามีใครนำเรื่อง “การละเว้นปฏิบัติหน้าที่” ตรงนี้ ไปร้อง DSI หรือ ป.ป.ช.ในความเป็น “เจ้าพนักงาน” ตามมาตรา ๑๕๗ ทางโลก และมาตรา ๔๕ ทางสงฆ์

 

ตั้งแต่เจ้าคณะไปถึง “มหาเถรสมาคม” สบงร้อนทันที!

 

อยากจะหมายเหตุให้ตระหนักกันด้วย กรณีธัมมชโยอมเงินวัดแล้วคายคืน นั่นก็เรื่องหนึ่ง

 

แต่อีกเรื่องที่สำคัญ ทั้งมหาเถรฯ รัฐบาล พุทธบริษัท จะละเลยมิได้ เพราะนี่คือ “อันตรายยิ่งใหญ่” ต่อพระพุทธศาสนา

 

ดังพระลิขิตฉบับที่ ๒ ของสมเด็จพระญาณสังวร…….

 

“ความบิดเบือนพระพุทธธรรมคำทรงสอน โดยกล่าวว่าพระไตรปิฎกบกพร่อง เป็นการทำให้สงฆ์ที่หลงเชื่อคำบิดเบือน แตกแยกออกไป กลายเป็นสอง มีความเข้าใจ ความเชื่อถือพระพุทธศาสนาตรงกันข้าม เป็นการทำลายพระพุทธ-ศาสนา ทำสงฆ์ให้แตกแยก…ฯลฯ……”

 

สมเด็จพระราชาคณะผู้ทรงสมณศักดิ์สูง ผู้เป็นคณะกรรมการ “มหาเถรสมาคม” ทั้งหลาย

 

“เฉย” ด้วยอุเบกขา ๑๐ เป็นเฉยสู่ทางวิมุติ

 

“เฉย” ด้วยอุ้มธัมมชโย เป็นเฉยสู่ทางวิบัติ…..ฉะนี้แล.

 

(ขอขอบคุณบทความจาก เปลว สีเงิน และ ไทยโพสต์)

https://www.thaipost.net/…