บทความ
ความจริงคือสิ่งไม่ตาย คนที่ควรตายคือพวกไม่ยอมรับความจริง ตอนที่ ๑
๒๘ มกราคม ๒๕๕๙
หลังจากฉันได้นำคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อ ดีเอสไอ
จนนำมาซึ่งการลงมติเป็นเอกฉันท์ยืนยันในพระวินิจฉัยของเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงมีพระบัญชาให้ธมฺมชโย พ้นจากความเป็นภิกษุ ด้วยข้อหาต้องอาบัติปาราชิก เพราะยักยอกทรัพย์ และอวดอุตริมนุสธรรม
เมื่อดีเอสไอ รับคดีเอาไว้แล้ว ได้ทำการสืบสวน สอบสวน จนได้ความกระจ่างของคดี
จึงมีมติเป็นเอกฉันท์วินิจฉัยว่า
ด้วยกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ดำเนินการสืบสวน กรณี พระสุวิทย์ ธีรธัมโม นามสกุล ทองประเสริฐ (หลวงปู่พุทธะอิสระ) ร้องขอให้ตรวจสอบพฤติการณ์ที่น่าจะเข้าข่ายกระทำผิดอาญาของพระไชยบูลย์ ธัมมชโย (นามสกุล สุทธิผล) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และของเจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ที่เกี่ยวข้อง ในฐานะเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายคณะสงฆ์ และขอให้รับเป็นคดีพิเศษ
กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ดำเนินการสืบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศาล สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มหาเถรสมาคม กองบังคับการปราบปราม ผู้ตรวจการแผ่นดิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงทางการสืบสวนสรุปได้ ดังนี้
กรณีพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) หรือพระธัมมชโย (ไชยบูรณ์ ธัมมชโย) หรือ สุทธิผล เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ได้ถูกพนักงานสอบสวนกองปราบปรามแจ้งข้อกล่าวหาและสั่งฟ้องในฐานความผิดตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา ๑๔๗ และ ๑๕๗ ในชั้นสอบสวน ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา (พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ผู้ต้องหาที่ ๑ , นายถาวร พรหมถาวร ผู้ต้องหาที่ ๒) และชั้นพนักงานอัยการ ได้ตรวจสำนวนการสอบสวนแล้วมีความเห็นเด็ดขาดสั่งฟ้องผู้ต้องหาเป็นจำเลยต่อศาลอาญาในฐานความผิดข้างต้นตามความเห็นของพนักงานสอบสวน จำเลยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาและขอสู้คดีในชั้นศาล โจทก์และจำเลยทั้งสองสืบพยานและต่อสู้คดีในชั้นศาลเป็นระยะเวลานานเกือบ ๗ ปี ต่อมาพนักงานอัยการ ได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีต่อศาลอาญา โดยให้เหตุผลสรุปได้ว่า จำเลยกับพวก ได้มอบทรัพย์สินทั้งหมด ซึ่งมีทั้งที่ดินและเงินอีกจำนวน ๙๕๙,๓๐๐,๐๐๐ บาท คืนให้แก่วัดพระธรรมกาย การกระทำดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชฯโดยครบถ้วนทุกประการแล้ว และขณะนี้บ้านเมืองต้องร่วมกันสร้างความสามัคคีของคนในชาติทุกหมู่เหล่า เห็นว่าหากดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสองต่อไป อาจก่อให้เกิดความแตกแยกในศาสนจักร โดยเฉพาะในเหล่าพระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั้งในและต่างประเทศที่นับถือศาสนาพุทธและไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะนั้น
กรณีการกระทำของพระธัมมชโย จำเลยในคดีดังกล่าวถือว่าเป็นการกระทำที่ครบองค์ประกอบความผิดฐาน “เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนเองหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต” และ “เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตและโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๔๗ และ ๑๕๗ ทุกประการแล้ว แม้ในภายหลังจำเลยในคดีดังกล่าวจะนำทรัพย์ที่ได้ยักยอกไปแล้วมาคืนให้แก่วัดพระธรรมกายก็ตาม การกระทำดังกล่าวก็เป็นเพียงการพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดที่ได้กระทำลงไป เพียงเหตุก็เพราะต้องยอมจำนนต่อพยานหลักฐานเท่านั้นหาใช่ไม่เป็นความผิดก็หาไม่ ประการที่สำคัญที่สุดที่จะเป็นเครื่องชี้และยืนยันการกระทำของพระธัมมชโยว่ามีเจตนาในการกระทำผิดหรือไม่นั้น พิจารณาได้จากการได้มาซึ่งที่ดินที่มีข้อพิพาทในคดีนี้แทบทุกรายการนั้นเกิดจากการให้ตัวแทนไปติดต่อขอซื้อที่ดินจากเจ้าของที่ดินโดยตรงแทบทั้งสิ้น ไม่ได้เกิดจากการที่เจ้าของยินยอมยกที่ดินให้กับทางวัดหรือบริจาคเงินให้ทางวัดเพื่อไปซื้อที่ดินให้กับพระธัมมชโยเป็นการส่วนตัวแต่ประการใด โดยเมื่อซื้อแล้วพระธัมมชโยก็ได้อนุมัติให้เบิกจ่ายเงินในบัญชีของวัดพระธรรมกายไปซื้อที่ดินดังกล่าวและกลับใส่ชื่อของตัวเองแทนที่จะเป็นชื่อของวัดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และการที่จำเลยไม่ยินยอมมอบคืนที่ดินให้กับทางวัดโดยทันทีตามพระลิขิตของพระสังฆราช ที่ว่า “ส่วนที่มิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการทำที่ถูกต้อง คือต้องมอบสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระ ให้แก่วัดทันทีไม่คิดให้โทษ เพราะคิดในแง่ยกประโยชน์ให้ ว่าในชั้นต้นอาจมิใช่มีเจตนาถือเอาสมบัติของวัดเป็นของตนจริงๆ แต่เมื่อถึงอย่างไรก็ไม่ยอมมอบคืนสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระ ให้แก่วัด ก็แสดงชัดแจ้ง ว่าต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะโดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด…” แต่พระธัมชโยยังกลับประวิงเวลาไม่ยินยอมมอบคืนทรัพย์สินให้กับทางวัด กลับต่อสู้คดีทางศาลโดยคิดว่าจะชนะคดี การต่อสู้ในเรื่องนี้ใช้เวลาอย่างยาวนานถึง ๗ ปี จำเลยรู้อยู่แล้วว่าเรื่องนี้ไม่มีหนทางใดที่จะชนะคดีได้ มีเพียงหนทางเดียวเท่านั้น ที่จะทำให้พนักงานอัยการถือเอาเป็นสาเหตุในการขอถอนฟ้องคดีในเรื่องนี้ได้ จำเลยจึงยินยอมมอบคืนทรัพย์สินที่มีข้อพิพาทคืนให้กับทางวัด พนักงานอัยการจึงถือเอาเป็นเหตุในการขอถอนฟ้องดังกล่าวข้างต้น การกระทำเช่นนี้ของพระธัมมชโย กับพวก เป็นการกระทำที่มีเจตนาในการกระทำความผิด ไม่อาจทำให้การกระทำความผิดที่สำเร็จไปแล้วกลับกลายมาเป็นไม่มีความผิดไปได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๕/๒๕๕๔)
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกมหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้า ๘๐ ข้อที่ ๙๑ แสดงพุทธบัญญัติของปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ไว้ว่า
“อนึ่ง ภิกษุใดถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้โดยส่วนแห่งจิตคิดลัก จากหมู่บ้านก็ตามจากป่าก็ตาม มีมูลค่าเท่ากับอัตราโทษที่พระราชาทั้งหลายจับโจรได้แล้ว ประหารบ้าง จองจำบ้าง เนรเทศบ้าง บริภาษว่า “เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย” ดังนี้ เพราะถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้เช่นใด ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้เช่นนั้น แม้ภิกษุนี้ก็ปาราชิก หาสังวาสมิได้” เปรียบเหมือนใบไม้ที่หลุดจากต้นแล้วไม่อาจกลับคืนมาดังเดิมได้
และในพระลิขิตของพระสังฆราชฯ (ฉบับที่ ๓) ยังได้ยืนยันการกระทำความผิดเช่นนี้ไว้อย่างชัดเจนและสอดคล้องต้องกันว่า ส่วนที่ไม่ใช่การลงโทษ แต่เป็นการทำที่ถูกต้องคือต้องมอบสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะที่เป็นพระให้แก่วัดทันที ไม่คิดให้มีโทษ เพราะคิดในแง่ยกประโยชน์ให้ว่า อาจมิใช่มีเจตนาถือเอาสมบัติวัดเป็นของตนแต่เมื่อถึงอย่างไรก็ไม่ยอมมอบคืน สมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะที่เป็นพระ ก็แสดงชัดแจ้งว่า ต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะโดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระปลอมเป็นพระ ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสียให้เกิดแก่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา (ภายหลังยอมมอบคืนให้ก็เพราะจำนนต่อพยานหลักฐานจึงยินยอมมอบคืน) นอกจากนี้ยังมีพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชฯ (ฉบับที่ ๔) มีข้อความว่า การโกงสมบัติผู้อื่น ตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป คือ ประมาณไม่ถึง ๓๐๐ บาท ในปัจจุบันภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ฐานผิดพระธรรมวินัย พ้นจากความเป็นพระทันทีในกรณีนี้ไม่ว่าจะมีผู้รู้เห็นหรือไม่ ไม่ว่าจะมีการสั่งให้สึก ไม่ว่าจะมีการจับสึกหรือไม่ก็ตาม ภิกษุผู้ละเมิดพระธรรมวินัยข้อนี้ต้องอาบัติปาราชิก พ้นจากความเป็นพระโดยอัตโนมัติแล้ว
พยายามอ่านกันหน่อยนะจ๊ะ จะได้หูตาสว่างขึ้นมาบ้าง พวกมืดบอดทั้งหลาย
นี่เป็นแค่หนังตอนแรก เรื่องนี้เป็นซีรีย์ยาว มีหลายตอน ไม่มีโฆษณา มาขั้นให้เสียอารมณ์
แต่ก็ต้องแล้วแต่อารมณ์ของผู้เขียนบทและผู้กำกับว่าจะมีอารมณ์นำเสนอหรือไม่
ยังไง ยังไง ก็กรุณาติดตามอ่านกันได้ รับรองสนุกมิรู้ลืมเลยเชียวล่ะ
ส่วนใครที่ผิดหวัง ระวังจะเป็นโรคซึมเศร้า ผูกคอตายตามเฮียเหนาะแห่งวัดสระเกศไปเสียก่อนล่ะ
พุทธะอิสระ