เพื่อให้เข้าใจในภูมิที่ถูกต้อง จึงขอนำเอาภูมิทั้ง 31 ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ว่าจะเหมือนกับภูมิของศาสดาต้นเขาสอนไหม

0
41

๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๗

ขณะที่มีหนังสือธรรมของผู้ที่ห่มเหลือง โกนหัว เที่ยวไปไล่แจกกันไปทั่วแทบทุกวัด ซึ่งเนื้อหาในการอธิบายธรรมของผู้บรรยายก็สุ่มเสี่ยงที่จะบิดเบือนพระธรรมวินัย

อย่างเช่น กรณีคำสอนที่ว่า มี ๓๑ ภูมิ แบ่งเป็นหมวดหมู่ได้เป็นภูมิน้อยภูมิใหญ่

ผู้บรรยายก็พรรณนาว่า

ภูมิน้อย ก็คือ พวกเหลือบ ริ้น ไร และไล่มาจนถึงภูมิใหญ่ เช่น สัตว์ที่มีอัตภาพร่างกายใหญ่โต เช่น ช้าง วัว ควาย เป็นต้นประมาณนี้

พุทธะอิสระอ่านแล้วอยากจะเหนื่อย ทำไมมหาเถรสมาคม ผู้ปกครองหมู่สงฆ์ และเจ้าหน้าที่สำนักพุทธ ถึงได้ปล่อยให้เผยแพร่เนื้อหาของพระธรรมคำสั่งสอนที่บิดเบือนเช่นนี้ออกมาได้

และเพื่อให้เข้าใจในภูมิที่ถูกต้อง จึงขอนำเอาภูมิทั้ง ๓๑ ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ว่าจะเหมือนกับภูมิของศาสดาต้นเขาสอนไหม

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ว่าด้วยเรื่อง ภูมินานัตตญาณนิทเทส แสดงภูมินานัตตญาณ

ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าภูมินานัตตญาณ เป็นอย่างไร
คือ ภูมิ ๔ ประการ ได้แก่

๑. กามาวจรภูมิ (ชั้นที่สัตว์ท่องเที่ยวอยู่ในกาม)
๒. รูปาวจรภูมิ (ชั้นที่สัตว์ท่องเที่ยวอยู่ในรูป)
๓. อรูปาวจรภูมิ (ชั้นที่สัตว์ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป)
๔. อปริยาปันนภูมิ (ชั้นที่ไม่นับเนื่องในภูมิ ๓ หมายถึงโลกุตตรภูมิ)

กามาวจรภูมิ เป็นอย่างไร

คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่ท่องเที่ยวอยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ในระหว่างนี้ คือเบื้องล่างกำหนดเอาอเวจีนรกเป็นที่สุด เบื้องบนกำหนดเอาเหล่าเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเป็นที่สุด นี้ชื่อว่ากามาวจรภูมิ

*************************

องค์พระบรมศาสดาทรงตรัสสอนเรื่องภูมิทั้ง ๓๑ เอาไว้โดยแบ่งเป็น ๓ ก็คือ

กามาวจรภูมิ ๑๑ อันมี

– จาตุมหาราชิกาภูมิ
– ดาวดึงส์ภูมิ
– ยามาภูมิ
– ดุสิตาภูมิ
– นิมมานรดีภูมิ
– ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ
– มนุษยภูมิ

อบายภูมิ ๔ อันมี
– นรกภูมิ
– เปตภูมิ
– อสุรกายภูมิ
– เดรัจฉานภูมิ
รวมเรียกว่า กามาวจรภูมิ

ขั้นต่อมา คือ รูปพรหมภูมิ ๑๖ ได้แก่
– พรหมปาริสัชชาภูมิ
– พรหมปุโรหิตาภูมิ
– มหาพรหมาภูมิ
– ปริตรตาภาภูมิ
– อัปปมาณาภาภูมิ
– อาภัสสราภูมิ
– ปริตตสุภาภูมิ
– อัปปมาณสุภาภูมิ
– สุภกิณหาภูมิ
– เวหปผลาภูมิ
– อสัญญสัตตาภูมิ
– อวิหาสุทธาวาสภูมิ
– อตัปปาสุทธาวาสภูมิ
– สุทัสสาสุทธาวาสภูมิ
– สุทัสสีสุทธาวาสภูมิ
– อกนิฏฐาสุทธาวาสภูมิ

การที่จักเข้าถึงรูปพรหมทั้ง ๑๖ ชั้นนี้ได้ต้องบำเพ็ญสมาธิจนถึงองค์ฌานทั้ง ๔ และผู้ที่บรรลุธรรมในชั้นอนาคามีผลเท่านั้น และถือว่าเป็นภูมิที่อยู่ของผู้มีกาย จิต สัมผัสที่ละเอียดกว่าชั้นกามาวจรภูมิ

ภูมิสุดท้าย คือ อรูปพรหม ๔
– อากาสานัญจายตนภูมิ
– วิญญาณัญจายตนภูมิ
– อากิญจัญญายตนภูมิ
– เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ

รูปพรหมทั้ง ๑๖ ชั้นว่าละเอียด ประณีตกว่ากามาวจรภูมิแล้ว อรูปพรหม ๔ ชั้น ดังกล่าวมายิ่งละเอียดกว่า

ส่วนที่ศาสดาต้นสอนว่า ภูมิน้อย คือ เหลือบ ริ้น มดปลวก ภูมิใหญ่ คือ สัตว์ที่มีอัตภาพร่างกายที่สูงใหญ่ เช่น ช้าง เป็นต้น

นี่ก็แสดงว่า ศาสดาต้นคงจะจดจำภพภูมิที่ตนเกิดมา จึงได้มโนเอาเองว่าเป็นภูมิน้อยภูมิใหญ่ ดังที่เขาสอนสาวกของตน ช่างน่าสงสารสาวกของต้นยิ่งนักว่า เขาจักเลือกไปเกิดเป็นอะไรในภูมิน้อยภูมิใหญ่ที่ต้นสอน

พุทธะอิสระ

——————————————–

ลิงค์จาก : https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/pfbid0wAM8R5acB6XHDPn6KNzYEhtWXmH6cMXfn57Q8dueZatwiKyKYkQZzKjbyaLYk1gDl