กากชาดก

0
15

กากชาดก
๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภการประพฤติประโยชน์แก่พระประยูรญาติ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ด้วยคาถาว่า นิจฺจํ อุพฺพิคฺคหทยา ดังนี้.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดกา

อยู่มาวันหนึ่ง พราหมณ์ปุโรหิตของพระราชา มาลงอาบน้ำในแม่น้ำนอกพระนคร ประแป้ง แต่งกายประดับดอกไม้ นุ่งผ้าสมศักดิ์ศรี กำลังเดินเข้า ณ พระนคร ที่ยอดเสาค่ายใกล้ประตูพระนคร กาสองตัวกำลังจับอยู่

ในกาสองตัวนั้น กาตัวหนึ่ง พูดกับอีกตัวหนึ่งว่า นี่สหาย เราจักขี้รดหัวพราหมณ์นี้ อีกตัวหนึ่งค้านว่า เจ้าอย่านึกสนุกอย่างนั้นเลย พราหมณ์นี้เป็นคนใหญ่คนโต ขึ้นชื่อว่าการก่อเวรกับอิสระชนล่ะก็ร้ายนัก เดี๋ยวพอโกรธขึ้นมาแล้วอาจกระทำกาแม้ทั้งหมดให้ฉิบหายได้

กาพาลตัวนั้นพูดว่า เราไม่อาจยับยั้งชั่งใจได้เสียแล้ว

อีกตัวหนึ่งกล่าวว่า เช่นนั้น เจ้าจักได้รู้ถึงผลที่จักได้รับต่อไป แล้วบินหนีไป

กาพาลตัวนั้น เวลาพราหมณ์ลอดส่วนล่างแห่งเสาซุ้ม ก็ทำเป็นย่อตัวลงขี้รดหัวพราหมณ์นั้น พราหมณ์โกรธ ผูกเวรในฝูงกา.

ครั้งนั้น หญิงทาสีรับจ้างซ้อมข้าวคนหนึ่ง เอาข้าวเปลือกผึ่งแดดไว้ที่ประตูเรือน นั่งคอยเฝ้าอยู่นั่นแล หลับไป แพะขนยาวตัวหนึ่งรู้ว่าหญิงนั้นประมาทนอนหลับอยู่ จึงตรงมากินข้าวเปลือกเสีย นางตื่นขึ้นเห็นแพะกำลังกินข้าวเปลือก จึงลุกไล่ไป

กาลต่อมา แพะก็แอบมากินข้าวเปลือกอีก ในเวลาที่นางหลับอยู่เช่นนั้นถึงสอง-สามครั้ง ครั้งนางไล่แพะไปทั้งสามครั้งแล้ว จึงคิดว่า เมื่อมันกินบ่อยครั้ง จักกินข้าวเปลือกไปตั้งครึ่งจำนวนเราต้องเข้าเนื้อไปมากมาย คราวนี้ต้องทำไม่ให้มันมาได้อีก

นางจึงถือคบไฟแล้วนั่งทำเป็นหลับ เมื่อแพะเข้ามากินข้าวเปลือก นางจึงลุกขึ้นขว้างแพะด้วยคบไฟนั้น ขนแพะก็ติดไฟ เมื่อร่างกายถูกไฟไหม้ แพะจึงคิดจักให้ไฟดับ จึงได้วิ่งไปโดยเร็ว เอาตัวสีที่กระท่อมหญ้าแฝกแห่งหนึ่งใกล้โรงช้าง กระท่อมนั้นก็ลุกโพลงขึ้น เปลวไฟที่เกิดจากกระท่อมนั้น ลามไปติดโรงช้าง เมื่อโรงช้างไหม้ หลังช้างก็พลอยไหม้ไปด้วย ช้างจำนวนมาก ต่างมีตัวเป็นแผลไปตามๆ กัน พวกหมอช้างไม่สามารถจะรักษาให้หายได้ พากันกราบทูลพระราชา

พระราชาจึงตรัสกับพราหมณ์ปุโรหิตว่า ท่านอาจารย์ หมอช้างหมดฝีมือที่จะรักษาฝูงช้าง ท่านพอจะรู้จักยาอะไรๆ บ้างหรือ?

พราหมณ์ปุโรหิตที่เคยถูกกาขี้รดหน้ามาแต่ครั้งกระโน้น จึงได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์ทราบเกล้าฯ อยู่พระเจ้าข้า

รับสั่งถามว่า ใช้ยาอะไรถึงจะควร?

กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ต้องได้น้ำมันกาพระเจ้าข้า.

รับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงสั่งให้คนไปไล่ฆ่ากามา เอาน้ำมันมารักษาหลังช้างเถิด.

จำเดิมแต่นั้น คนทั้งหลายก็พากันฆ่ากา แต่กลับไม่ได้น้ำมันจึงทิ้งซากกาสุมไว้เป็นกองๆ ในที่นั้นๆ ภัยอย่างใหญ่หลวงได้เกิดแก่ฝูงกาแล้ว.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์มีฝูงกาแปดหมื่นเป็นบริวาร อาศัยอยู่ในป่าช้าใหญ่ มีกาตัวหนึ่งมาบอกแก่พระโพธิสัตว์ ถึงภัยที่เกิดแก่ฝูงกา พระโพธิสัตว์ดำริว่า ยกเว้นเราเสียแล้ว ผู้อื่นที่จะสามารถบำบัดภัย ที่กำลังเกิดขึ้นแก่หมู่ญาติของเราได้ไม่มีเลย เราต้องบำบัดภัยนั้น แล้วรำลึกถึงบารมี ๑๐ ประการ กระทำเมตตาบารมีให้เป็นเบื้องหน้า บินรวดเดียวเท่านั้น เข้าไปในช่องพระแกลใหญ่ที่เปิดไว้ เข้าไปซุกอยู่ภายใต้พระราชอาสน์.

ครั้งนั้น อำมาตย์ผู้หนึ่งทำท่าจะจับพระโพธิสัตว์ พระราชาตรัสห้ามว่า มันเข้ามาหาที่พึ่ง อย่าจับมันเลย พระมหาสัตว์พักหน่อยหนึ่ง แล้วรำลึกถึงพระบารมีทั้ง ๑๐ แล้วจึงออกจากใต้อาสนะ กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ธรรมดาพระราชาต้องไม่ลุอำนาจอคติ มีฉันทาคติเป็นต้นจึงจะชอบ กรรมใดๆ ที่จะต้องกระทำ กรรมนั้นๆ ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้วกระทำจึงจะชอบ อนึ่ง กรรมใดที่จะกระทำ ต้องได้ผลกรรมในฝ่ายกุศลเท่านั้นจึงจะควรกระทำ กรรมนอกนี้ไม่ควรกระทำ หากพระราชาทั้งหลายมัวแต่มาเสียเวลากระทำกรรมที่ทำไปแล้วไม่สำเร็จผลเลยอยู่ไซร้ มหาภัยมีมรณภัยเป็นที่สุด ย่อมบังเกิดแก่มหาชน พราหมณ์ปุโรหิตของพระองค์ตกอยู่ในอำนาจของการจองเวร ได้กราบทูลเท็จ ขึ้นชื่อว่า มันเหลวของฝูงกาไม่มีอยู่จริงเลย.

พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว มีพระทัยเลื่อมใส ทรงโปรดให้พระโพธิสัตว์เกาะบนตั่ง อันแพรวพราวด้วยทองคำ แล้วให้คนทาช่วงปีกด้วยน้ำมันหอมที่หุงแล้วได้แสนครั้ง ให้บริโภคอาหารที่สะอาดสมควรเป็นพระกระยาหาร ให้ดื่มน้ำ องค์ราชาพอพระมหาสัตว์สบายหายความเหน็ดเหนื่อยแล้ว จึงได้ตรัสคำนี้ว่า พ่อบัณฑิต เธอกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่ามันเหลวของฝูงกา ไม่มี ด้วยเหตุไรเล่า มันเหลวของฝูงกาจึงไม่มี.

พระโพธิสัตว์เมื่อจะกราบทูลชี้แจงว่า ด้วยเหตุนี้ๆ พระเจ้าข้า กระทำพระราชวังทั้งสิ้นให้เป็นเสียงเดียวกัน แสดงธรรมกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

“ฝูงกามีใจหวาดสะดุ้งเป็นนิตย์ ชอบเบียดเบียนชาวโลกทั้งมวล เหตุนั้น มันเหลวของฝูงกาผู้เป็นญาติของข้าพระองค์เหล่านั้น จึงไม่มี” ดังนี้.

พระโพธิสัตว์เปิดเผยเหตุนี้ด้วยประการฉะนี้ แล้วทูลเตือนพระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ธรรมดาหากพระราชามิได้ทรงพิจารณาใคร่ครวญแล้ว ไม่พึงปฏิบัติพระราชกิจ พระราชาทรงสดับธรรมโอวาทนั้นแล้ว ทรงพอพระทัย บูชาพระโพธิสัตว์ด้วยราชสมบัติ พระโพธิสัตว์ถวายราชสมบัติคืนแด่พระราชาดังเดิม ให้พระราชาดำรงอยู่ในเบญจศีล ทูลขอพระราชทานอภัยแก่สัตว์ทั้งปวง พระราชาทรงสดับธรรมเทศนาแล้ว โปรดพระราชทานอภัยแก่สรรพสัตว์ ทรงตั้งนิพัทธทาน (ทานที่ให้ประจำ) แก่ฝูงกา ให้หุงข้าวประมาณวันละหนึ่งถัง คลุกด้วยของที่มีรสเลิศต่างๆ พระราชทานแก่กาทุกๆ วัน ส่วนพระมหาสัตว์ได้รับพระราชทานพระกระยาหารทีเดียว.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า

พระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้น ได้มาเป็น อานนท์

ส่วนพระยากาได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.

เย เวรํ นูปนยฺหนฺติ เวรํ เตสูปสมฺมติ.
เวรของผู้จองเวร ย่อมไม่ระงับ เวรของผู้ไม่จองเวร ย่อมระงับได้.

เจริญธรรม

พุทธะอิสระ

——————————————–

อ่านย้อนหลัง : https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/pfbid032TpFceazDcQG3uYRL3kFYUnqGpLhpxYy4gXZgBhP8kicD47WTzzi94FQuYUKVLoHl

——————————————–

Kaka Jataka (a story of the former birth of the Gautama Buddha)
February 6, 2568

When the Buddha was staying at the Jetavana monastery, he preached this sermon with the following Nicca Uppikkhadhaya verses:

In the past, when King Brahmadatta reigned in Benares City, the Bodhisatta was born as a crow.

One day, the King’s Brahmin chaplain came to bathe in a river outside the city. He put on powder, decorated himself with garlands, and wore a robe befitting his dignity.  While he was walking into town, two crows were sitting on the archway of the city gate.

One of the two crows said to his mate, “Friend, I will defecate on this Brahmin’s head.”  The other objected, “Oh, don’t do such a thing.  This Brahmin is a powerful man.  It is perilous to incur hatred of powerful people.  If he gets angry, he might kill all the crows.”

The wicked crow said, “I cannot restrain myself.”

The other crow said, “You have to face the consequences.”  Then, it flew away.

When the Brahmin was passing under the lower part of the arch, that crow pretended to crouch down and defecate on the Brahmin’s head.  The enraged Brahmin had a grudge against all crows.

At that time, a female slave in charge of a granary spread the rice out in the sun at the granary door and was sitting there to watch it.  Then, she fell asleep. 

Knowing the woman was careless and sleeping, a long-haired goat came to eat the rice.  She woke up and saw the goat eating the rice, so she chased it away.

Two or three times later, the goat secretly came and ate the rice while she was sleeping.  After chasing the goat away three times, she thought that the goat had eaten half of the rice and she had lost a lot of rice.  So, this time, she must scare the goat away for good.

Thus, she took a lighted torch and sat down, pretending to be asleep.  When the goat came to eat the rice, she suddenly sprang up and hit its shaggy back with her torch.  The goat’s hair caught fire.  The goat wanted to extinguish the fire, so it ran away quickly.  It dashed into a hayshed near the elephant’s stable.  The shed burst into flames; the fire spread to the elephant stable.  When the elephant stables caught fire, the fire burnt many elephants so terribly that wounds were beyond the skill of the elephant doctors to cure them.  The doctors reported that to the King.

The King then asked the Brahmin chaplain, “Master, the elephant doctor can no longer cure the herd of elephants.  Do you know any medicine?”

The Brahmin chaplain, that had had a crow’s shit on his face, said, “Certainly I do, Your Majesty.”

The King asked, “What medicine should we use?”

The chaplain replied, “Your Majesty, we must get crows’ fat fluid.”

The King said, “In that case, you should order your men to kill the crows and take their fat fluid to treat the elephants’ backs.”

Since then, a great slaughter of crows occurred, but they never found any fat fluid from the crows.  People left piles of dead crows everywhere, and a great fear was upon all crows.

At that time, the Bodhisatta lived in a large cemetery with a flock of eighty thousand crows as his followers.  A crow came to tell the Bodhisatta about the danger that had befallen its flock.  The Bodhisatta thought, “Except me, no one else can free my kinsfolk from their great dread.  I must relieve that danger.”  Then, he recalled the Ten Perfections and selected loving-kindness as his guide.  The Bodhisatta flew straight into the large, open window and hid under the royal seat.

Then, an attendant attempted to seize the Bodhisattva, but the King forbade, “It has come for refuge; do not seize it.” The Great Being paused momentarily, recalled the Ten Perfections, and arose from his seat to respectfully report to the King: “Oh, Great King, you should not act under bias or prejudice; one must first have proper consideration before undertaking any action.  One should carefully review and execute any action only if it yields meritorious results.  If Your Majesty wastes time on actions that bear no fruit, a great calamity leading even to mortal peril will befall the masses.  Even your Brahmin chaplain may fall under the sway of retribution and lie to you.  The fat fluid of the crow does not exist.”

Hearing these words, the King was deeply moved and, favoring the Bodhisattva, ordered him to perch upon a resplendent golden throne.  The King then commanded that attendants anoint the Bodhisattva’s wings with fragrant, cooked oil a hundred thousand times, and provide the Bodhisattva with pure, appropriate food and water so that the Great Being might be refreshed and free of fatigue.  Once comforted, the King said, “Oh, wise sage, you assert that the fat fluid of the crow does not exist—on what grounds do you claim that the fat fluid does not exist?”

When the Bodhisattva was about to explain, he replied, “For these reasons, my lord, let the entire royal palace be in accord and manifest the Dhamma by chanting this incantation:

‘The crow is always fearful and prone to oppress others.  As such, the fat fluid of the crow flock, my kinsmen, does not exist.’

Having explained, the Bodhisattva warned the King, “Oh, Great King, if you do not carefully deliberate, you should not undertake your royal duties.”  

Hearing these Dhamma instructions, the King was pleased and honored the Bodhisattva with royal gifts.  The Bodhisattva, in turn, returned these royal gifts to the King, advising him to keep the Five Precepts and requesting that he grant forgiveness to all creatures.  

Having heard the Dhamma sermon, the King granted forgiveness to all.  The King also established a regular alms donation for the crows-cooking roughly one bucket of rice per day, mixed with various delicious condiments, given to the crow flock daily-while the Great Being received royal meals.

His lesson ended, the Buddha identified the Birth by saying,

Ananda was the King of Benares in those days, and I was the king of the crows.

 Ye veraṃ nupāyaṇti veraṃ tesupasamti

“Those who think of holding a grudge, their grudge will never end.

The hatred of those who do not hold a grudge will be extinguished.”

Wishing you progress in the Dhamma practice.

Buddha Isara

——————————————–

Previous article : https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/pfbid032TpFceazDcQG3uYRL3kFYUnqGpLhpxYy4gXZgBhP8kicD47WTzzi94FQuYUKVLoHl