รับชมย้อนหลังได้ที่ : https://youtu.be/B69VHj1_X-o
https://www.facebook.com/watch?v=235176706286842
บทสนทนาหลวงปู่พุทธะอิสระกับคุณย่าอัมพร
ถอดความจากงานแสดงธรรมวันปีใหม่ วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗
เมื่อคืนไม่ได้ลงมาสวดมนต์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เรียกว่าสวดมนต์ข้ามปีกับลูกหลานทั้งหลาย ก็ถือว่าทุกปีต้องลงมา แต่ปีนี้เป็นกรณีพิเศษที่เป็นปีที่เราเสียผู้มีพระคุณไป นั่นคือโยมแม่อัมพร หรือ โยมย่าอัมพร ทองประเสิรฐ ของลูกหลาน ก็เลยต้องทำหน้าที่ของลูกที่ดี ต้องตามไปพูด ไปคุย ไปเจรจา ไปสั่งสนทนาเป็นเพื่อน ในฐานะที่ท่านเป็นผู้มีพระคุณ ผู้ให้ชีวิต ให้เลือดเนื้อ ให้กำลัง ให้ลมหายใจ ให้สติปัญญา ให้อุดมการณ์ และก็ให้หลักการในการดำรงชีวิต จนกลายมาเป็นพุทธะอิสระในปัจจุบัน งั้น บุญคุณของท่านสุดที่จะพรรณนา และก็ยากที่จะตอบแทนได้ เมื่อมีโอกาสจะพรรณนา หรือทำให้ท่านได้ผ่อนคลายโปร่งเบาสบายด้วยพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ควรจะพึงกระทำ เมื่อคืนก็เลยมีโอกาสไปเยี่ยมเยียนโยมแม่ ได้สั่งสนทนากันหลายเรื่อง หนึ่งในนั้นก็คือ ท่านมีคำถาม ซึ่งท่านก็คงจะรู้ว่าจะต้องเอามาถ่ายทอดให้ลูกหลานได้รับฟังว่าคำถามของย่าหรือแม่อัมพรท่านถามว่าอย่างไรบ้าง
ท่านถามว่า อะไรชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ อะไรชื่อว่าทำให้ชีวิตนี้มีสัมมาทิฏฐิ
ก็ได้อธิบายความให้ท่านได้เข้าใจว่าสัมมาทิฏฐิมีหลักอยู่สามอย่างที่ต้องคิด ต้องทำ ต้องพูด และต้องดำรงชีวิตให้ตั้งมั่นอยู่ในหลักสามอย่างนี้ ก็คือ
หนึ่ง เชื่อกรรม
สองก็คือ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
แล้วก็สามคือ เห็นทุกข์ เห็นเหตุเกิดทุกข์ เห็นทางดับทุกข์ เห็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์นั้นดับไป
ท่านก็มีคำถามต่อมาว่า แล้วอะไรที่เรียกว่าเชื่อกรรม
ความหมายของคำว่าเชื่อกรรม อธิบายความได้ว่า เชื่อว่าสัตว์โลกเป็นไปตามกรรม เชื่อว่ากรรมเป็นเครื่องจำแนกสัตว์ให้ดีชั่วเลวหยาบ เชื่อว่ากรรมนั้นเรามีที่มา คือกรรมเป็นเครื่องนำพาให้เรามา กรรมเป็นเครื่องดำรงไว้ให้เราได้อยู่ดำรงอยู่ แล้วก็กรรมเป็นเครื่องนำพาไป
กรรมนำมา ก็คือ เราเกิดมาได้ด้วยอำนาจแห่งกรรมดลบันดาล ถ้าทำชั่วก็ไปสู่ทุคติ ถ้าทำดีก็มาสู่สุคติ มนุษย์เนี่ยจัดเป็นภพภูมิอะไร สุคติหรือทุคติ เป็นสุคติภพ เพราะฉะนั้นก็แสดงว่าเมื่อใดที่เราได้เกิดเป็นมนุษย์ แสดงว่าเราต้องมีกรรมดีมาพอสมควร เรียกว่ามีต้นทุนบุญกุศลมาเหมาะสม เมื่อเชื่อกรรม เราก็จะขวนขวายแสดง หรือไขว่คว้าแสวงหาแต่กุศลกรรมเพื่อนำพาชีวิตของเราไปสู่สุคติภพ แล้วถ้าเชื่อกรรมว่ามีกรรมเป็นที่นำมาอย่างนี้ ขณะที่มีชีวิตอยู่เราก็มีกรรมเป็นเครื่องอยู่อาศัย นอกจากมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์แล้ว ก็มีกรรมเป็นเครื่องอยู่อาศัย กรรมที่เป็นเครื่องอยู่อาศัยก็ทำให้เรามีปัจจุบันอย่างนี้แหละ ปัจจุบันอย่างนี้ที่สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ได้บ้าง เสียบ้าง แลกได้แลกเสียในบางครั้งบางโอกาส บางครั้งก็สมหวัง บางครั้งก็ผิดหวัง ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ด้วยอำนาจแห่งกรรมเป็นเครื่องอยู่อาศัย แล้วกรรมก็ยังจำแนกออกเป็นปัจจุบันกรรม อดีตกรรมส่งผลให้เกิดปัจจุบันกรรม แล้วปัจจุบันกรรมก็ส่งผลในอนาคตกรรม แต่ที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็นอดีตกรรมหรืออนาคตกรรม อยู่ที่ปัจจุบันเราจะทำอาจิณณกรรมอย่างไร
แม่ก็ถามต่อไปว่า อะไรชื่อว่าอาจิณณกรรม
อาจิณณกรรมก็หมายถึงกรรมที่ทำอยู่ต่อเนื่อง เนืองๆ อย่างยาวนาน ตลอดระยะเวลาในขณะที่มีชีวิต อาจิณณกรรมก็คือกรรมที่เรากระทำอยู่ทุกวันนี้ ที่เราทั้งทำก็ตาม ทั้งพูดก็ตาม ทั้งคิดก็ตาม อยู่เป็นประจำ จนเป็นสันดาน เป็นนิสัย บางคนกินน้ำตาลจนเป็นอาจิณ เรียกว่ากลายเป็นโรคอะไรล่ะ (เสียงตอบว่า เบาหวาน) เออ…บางคนกินเค็มจนเป็นอาจิณ แล้วกลายเป็นโรคอะไร (เสียงตอบว่า โรคไต) นั่นแหละอาจิณณกรรม ส่งผลมั้ย บางคนสวดมนต์ประจำ จนกลายเป็นอะไร มีสติตั้งมั่น มีความระลึกได้ แยกแยะดีชั่วถูกผิด บางคนด่าว่าหยาบช้าสามานย์จิตใจอาฆาตพยาบาทปองร้าย สติจะตั้งมั่นได้มั้ย ขี้หลงขี้ลืม เจ้าอารมณ์ อยู่ในอำนาจของซาตานและมารครอบงำ สุดท้ายกลายเป็นบ้า บ้าในกาย บ้าในวาจา แล้วบ้าในจิตใจ จะมีคนอยากคบมั้ย นั่นแหละคือผลแห่งอาจิณณกรรม เพราะงั้นอดีตกรรมก็ตาม อนาคตกรรมก็ตาม ล้วนแล้วแต่เกิดจากอาจิณณกรรมในปัจจุบันที่เราลงมือกระทำ
แม่ถามต่อไปว่า แล้วเมื่อเราจะพัฒนาหรือปฏิบัติให้ตัวเองเป็นผู้รับผลแห่งกรรมอันสมบูรณ์ ท่านใช้คำว่าผลแห่งกรรมอันสมบูรณ์ก็คือไม่มีผลแห่งกรรมที่บกพร่อง คำว่าสมบูรณ์หมายถึงความสุข ความรุ่งเรืองเจริญ และความผ่อนคลายโปร่งเบาสบาย ต้องทำกรรมชนิดใด
แม่ถามอย่างนี้ ก็ต้องวิสัชนาว่ากรรมที่พึงกระทำ วิถีแห่งกรรมที่พึงกระทำก็คือกุศลกรรม กุศลกรรมที่เกิดจากหนึ่งละเว้น กุศลกรรมมีสองอย่าง คือ กรรมที่เกิดจากการละเว้นก็เรียกว่ากุศลกรรม ละเว้นอะไร ละเว้นในทุจริตสามอย่าง ทุจริตสามอย่างมีอะไรบ้าง ทุจริตสามอย่างก็มีกายทุจริต ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม วจีทุจริต เว้นจากวจีทุจริตก็คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดคำหยาบ แล้วก็ข้อสุดท้ายเว้นจากมโนทุจริต ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้ายเขา และเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ข้อนี้แหละสำคัญที่สุด คำว่าเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
แม่ถามต่อไปว่า แล้วอะไรชื่อว่าเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
ก็ย้อนกลับไปในสัมมาทิฏฐิ
แม่ถามว่า แล้วสัมมาทิฏฐิจะทำให้เจริญรุ่งเรืองได้อย่างไร
สัมมาทิฏฐิ ก็รุ่งเรืองเจริญได้ โดยกลับไปพิจารณาทำให้ชีวิตของตนพัฒนา ปฏิบัติฝึกหัดดัดกายวาจาใจโดยหลักความเชื่อสามอย่าง คือเชื่อว่าสัตว์โลกเป็นไปตามกรรม เชื่อว่ากรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ดีชั่วเลวหยาบ เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงแม้แต่ตนเอง ล้วนแล้วตกอยู่ในอำนาจแห่งการกระทำที่เรียกว่ากรรมของตนทั้งนั้น ไม่มีใครทำให้ ดีเราก็ทำด้วยตัวเราเอง ชั่วเราก็ลงมือกระทำและรับผลเอง ไม่ใช่เทวดาบันดาล ไม่ใช่เทพเจ้านิมิตให้ ไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ อนุมานหรืออนุมัติให้ แต่ตัวเราเป็นผู้ทำ ผู้สำเร็จ และผู้ผิดหวัง จากการกระทำของเรา เพราะฉะนั้นกระบวนการที่ทำให้เกิดกุศลกรรมอันประกอบไปด้วย หนึ่งเว้นจากทุจริตทั้งสาม แล้วก็ปฏิบัติในสุจริตทั้งสาม ในขณะเดียวกัน ก็จงทำตนให้ตั้งมั่นอยู่ในหลักการของคำว่าสัตว์โลกเป็นไปตามกรรม โดยอธิบายความอย่างละเอียดก็หมายถึงว่า มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน สมมติว่าเราเชื่อเรื่องกรรมแล้ว แล้วถ้ายังงั้น เราเป็นพ่อแม่ เห็นลูกมันโง่ มันงี่เง่า มันเลอะเทอะ มันเละเทะ มันไร้สาระ วันๆ เอาแต่นั่งเล่นเกม เอาแต่สำมะเลเทเมา ไม่อบรมสั่งสอน ไม่ชี้นำ เพราะเชื่อว่าสัตว์โลกเป็นไปตามกรรม เชื่ออย่างนี้ถูกมั้ย ไม่ถูก เพราะเค้าให้เรามาเป็นพ่อเป็นแม่ ก็ถือว่าเป็นกรรมอันสัมพันธ์กัน หน้าที่ของพ่อแม่มีอะไร ต้องกลับไปดู ถ้าเมื่อใดเราปฏิเสธการทำหน้าที่ แสดงว่าเราเป็นผู้บกพร่องในหน้าที่ในกรรมแห่งพ่อแม่ ยังงั้นก็ไม่ถูกต้องแล้ว ยังงั้นเราก็เป็นผู้ละเมิดกรรม เป็นผู้ทำผิดพลาด ไม่ถูกทำนองคลองธรรม ผู้ละเมิดอำนาจแห่งกรรม ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง พ่อแม่ที่ไม่สอนลูกนี่ถูกต้องมั้ย เช่นเดียวกัน ครูบาอาจารย์ก็เหมือนกัน ถ้าครูบาอาจารย์คิดว่า เอ๊อ จะไปสอนมันทำไม สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม มันเกิดมาโง่ มันก็ต้องโง่ต่อไป มันเกิดมาชั่ว มันก็ต้องชั่วต่อไป ครูคิดอย่างนี้ถูกมั้ย อย่างนั้นก็อย่าเป็นครู ถ้าจะคิดอย่างนี้ อย่าเป็นครู ถ้าคิดจะเป็นครู ต้องสอน เพราะหน้าที่ของครูต้องทำหน้าที่อะไร สอน ทำดีให้เค้าดู เป็นครูให้เค้าเห็น แม้แต่รู้ว่าไอ้คนๆนี้มันมีกรรมเป็นของตน สอนยังไง มันก็ได้แค่เนี้ย แต่ถ้าเราไม่สอน มันจะแย่ยิ่งกว่านี้ เพราะฉะนั้นขอให้สอน พระพุทธเจ้ายังไม่ปฏิเสธในการสอนเลย ท่านรู้ว่าคนๆ นี้มีกรรมเป็นของตน มันโง่จริงๆ โง่บัดซบ แต่พระองค์ก็ไม่วายที่จะอบรมสั่งสอน จนกระทั่งผลักดันให้คนๆ นั้น และท่านผู้นั้นพ้นจากความโง่ได้ กลายเป็นพระอริยเจ้าในที่สุด มีเยอะแยะหลายองค์ในพระอรหันต์อสีติมหาสาวกที่เกิดมาแล้วโง่ นะโมสามจบ ท่องสามเดือนยังจำไม่ได้ก็มี แต่พระองค์ก็สอน เพราะรู้ว่านี่เป็นกรรมชนิดหนึ่ง แต่ในฐานะที่พระองค์เป็นพระสัพพัญญู รู้อดีต อนาคต ปัจจุบัน และเป็นครูของจักรวาล พระองค์จึงต้องสอน แล้วก็สอนด้วยวิถีแห่งหน้าที่ครูที่ดีพึงกระทำ เพราะฉะนั้นพ่อแม่ก็ตาม ครูก็ตาม แม้จะรู้ว่าสัตว์โลกเป็นไปตามกรรม เมื่อเห็นลูกชั่ว เห็นศิษย์โง่ แล้วก็อ้างว่า เออ มันมีกรรมเป็นของตน ไม่ต้องสอนหรอก ถ้ายังงี้พ่อแม่นั่นแหละเป็นผู้รับกรรม ครูบาอาจารย์นั่นแหละเป็นผู้ละเมิดกรรม เพราะฉะนั้นต้องสอน ต้องอบรม ต้องชี้นำ เมื่อสอนแล้ว อบรมแล้ว ชี้นำแล้ว แล้วมันยังไม่ได้ดี พระพุทธเจ้าสอนอะไรต่อล่ะ สอนว่าอุเบกขา ในธรรมแห่งพรหมวิหารสี่ มีเมตตา มีกรุณา มีมุทิตา และมีอุเบกขา เมื่อลูกสอนแล้วไม่ได้ดี เมื่อศิษย์สอนแล้วไม่ได้ดี อย่างนั้นก็ต้องวางเฉย เพราะถือว่าสัตว์โลกเป็นไปตามกรรมเช่นนั้นจริงๆ มันแก้ไขไม่ได้แล้ว แต่ไม่ใช่ไม่สอน แล้วก็บอกว่า เออ ปล่อยมัน ยังงี้ก็ไม่ใช่ ไม่ถูกต้อง
แม่ถามต่อไปว่า แล้วจะปฏิบัติอย่างไร จะทำอย่างไร จะทำให้เห็นหลักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ถามแม่กลับไปว่า หายสงสัยเรื่องกรรมแล้วหรือ
แม่ตอบว่าไม่มีข้อใดสงสัยในกรรม แต่ยังสงสัยเรื่องความเห็นอนิจจัง เห็นทุกขัง และเห็นอนัตตา
ก็วิสัชนาให้แม่ฟังว่า เริ่มต้นจากตั้งแต่หัวจรดปลายเท้าของแม่ ตั้งแต่เกิดจนแก่ จนถึงวันตาย มีความเปลี่ยนแปลงมั้ย แม่ตอบว่ามี ทุกคนที่นั่งอยู่นี่ ตั้งแต่เกิดยันแก่ แล้วก็ตาย เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา นั่นแหละอนิจจัง ใครก็ปฏิเสธอนิจจังไม่ได้ แม้เราจะพยายามหนีมันเท่าไหร่ เราก็หนีมันไม่พ้น มันคือนิจจัง แล้วทุกขังล่ะ
แม่ถามต่อว่า แล้วความทุกข์มันจะแก้ได้อย่างไร
ความทุกข์มันมีประจำของโลก มันมีทุกข์ก่อนที่แม่เกิด แม่เกิดมาก็เป็นเพียงแค่ผลพลอยได้จากกรรม แล้วก็ต้องมารับทุกข์จากการกระทำแห่งกรรมนั้นๆ เพราะฉะนั้น มีสัตว์ มีทุกข์เป็นสมบัติ มีชีวิต มีความทุกข์เป็นสมบัติ มนุษย์และสิ่งมีชีวิต มีสมบัติอยู่สามชนิดก็คือ หนึ่ง ทุกขสมบัติ สอง มรณะสมบัติ สาม ความไม่เที่ยงเป็นสมบัติ คือ ไม่คงที่ เป็นสมบัติ และความไม่คงที่นี่แหละ ในคำสอนของคัมภีร์วิภังค์ ว่าด้วยเรื่องวิปัสสนา ผู้เห็นวิปัสสนาวิปลาส หรือผู้มีวิปัสสนาวิปลาส ก็คือเห็นว่าโลกเที่ยง เห็นว่ารูปทั้งหลายตั้งมั่นอยู่ได้ไม่แปรเปลี่ยน เห็นว่าทุกอย่างในโลกใบนี้เป็นของงาม แม้แต่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา และสิ่งของ ก็เป็นของงาม มนุษย์ สตรี หญิงและชาย บุรุษ สตรี เด็ก คนแก่ คนชรา เห็นว่าดำรงอยู่และงดงาม เป็นความวิปลาส แม้ที่สุด เห็นว่าเป็นความมีตัวมีตน เป็นตัวกูของกู สมบัติกู ผัวกู แม่กู ลูกกู ตัวกู ญาติกู ทุกอย่างเป็นของกู ก็เป็นความวิปลาส ถ้าไม่อยากวิปลาสก็ต้องเข้าใจในบริบทของคำว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แล้วสุดท้าย มันไม่มีอยู่จริง
แม่ถามต่อว่า ความไม่มีอยู่จริง ที่สุดแค่ไหน เป็นคำถามที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน พวกมึงเคยได้ยินมั้ย ความไม่มีอยู่จริง ที่สุดอยู่แค่ไหน
คำตอบวิสัชนาก็คือ ที่สุดก็คือความดับและเย็น นั่นคือพระนิพพาน ที่สุดแห่งความไม่มีอยู่จริงก็คือนิพพาน เพราะนิพพานไม่มี ไม่มีอะไร ไม่ได้อะไร ไม่เหลืออะไร และกูตายแน่ นั่นคือที่สุดความไม่มีอยู่จริง ถามแม่ว่า เข้าใจความไม่มีอยู่จริงแล้วหรือยัง แม่บอกว่าเข้าใจแล้ว สาธุเจ้าข้า
คำถามและคำตอบเหล่านี้ ที่แม่ตั้งใจถาม ไม่ใช่แม่ไม่เข้าใจ แต่แม่อยากให้ลูกหลานทั้งหลายได้ฟัง เพราะรู้ว่าถ้าถามหลวงปู่แล้ว จะมีการมาเล่าสู่กันฟัง
แม่ถามต่อไปว่า อะไรคือทุกข์อริยสัจ
บอกแม่สั้นๆ เพราะใกล้สว่างแล้ว พลุมันดังเหลือกัน รำคาญ มันจะตีหนึ่งแล้ว มันดังทั่วไปหมด โอ้โห รำคาญ บอกสั้นๆ ว่า ทุกข์อริยสัจก็คือทุกข์ที่มีประจำอยู่กับโลกก่อนที่แม่เกิด ทุกข์ที่มีประจำอยู่กับโลกก่อนพระศาสดาจะตรัสรู้ มีโลกก็มีทุกข์แล้ว ไม่ใช่ทุกข์เกิดเฉพาะแค่สัตว์และมนุษย์ แต่มันมีมาก่อนมนุษย์และสัตว์เกิด แล้วมันเป็นความทุกข์ที่มากับอะไร คิดว่าความทุกข์มันมากับอะไร มันมากับหลักสามอย่างไง อนิจจัง แล้วก็ทุกขัง แล้วก็อนัตตา งั้นทุกข์จึงมีมาก่อนพระศาสดาเกิด ความทุกข์เกิดขึ้นก่อนเราเกิด เพราะฉะนั้นใครที่มาสอนว่าเราจะทำลายทุกข์ ทำลายได้มั้ย ไม่มีหลักการอะไรทำลายทุกข์ได้ ถ้าทำลายทุกข์ ก็ต้องทำลายโลก เพราะทุกข์มันเป็นสมบัติของโลก และมันก็เป็นสมบัติของสิ่งมีชีวิตทั้งปวง งั้นถ้าทำความเข้าใจเรื่องทุกข์ ก็จะทำความเข้าใจโลก เข้าใจสิ่งมีชีวิต แล้วก็เข้าใจตัวเรา เมื่อเราเข้าใจโลก เข้าสิ่งมีชีวิต เข้าใจตัวเรา เราก็จะเข้าใจเรื่องจิตและอารมณ์ จิตและอารมณ์ที่ประกอบไปด้วยความทุกข์ ถ้าเข้าใจคำว่าไม่มีอยู่จริง ความทุกข์ตั้งอยู่ได้มั้ย ความทุกข์ตั้งอยู่ไม่ได้กับความหมายของคำว่ารู้จักในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ถ้าเมื่อใดที่เราเข้าใจรู้จักกับสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ความทุกข์ตั้งอยู่ไม่ได้ลูก ความทุกข์ตั้งอยู่ไม่ได้ ไอ้ที่ความทุกข์มันตั้งอยู่ได้ เราก็บ่นพร่ำรำพันพิไรรำพันร้องไห้ฟูมฟายทุรนทุรายทรมานเหลือเกิน ก็เพราะเราเชื่อว่าความทุกข์มันมีอยู่จริง แม้ที่สุดเราไม่ทำอะไรเลย ความทุกข์มันจะหายไปมั้ย มันจะหมดไปจากเรา ถ้าเราไม่ทำอะไรมันเลย แค่วางเฉยกับมัน แต่มันไม่ได้หายไปจากโลก แต่มันจะหมดไปจากเรา เพราะเราเข้าใจมัน แต่ที่เพราะเราไม่เข้าใจมันน่ะแหละ มันจึงครอบงำเรา ปกครองเรา แล้วก็ชี้นำเรา แล้วทำให้เราตกอยู่ในอำนาจของมัน งั้นเมื่อใดที่เราทนทุกข์ทรมานจนสุดแสนจะอดกลั้นอดทนได้ คืออดทนไม่ได้แล้ว เพราะความทุกข์มันหมายถึงความทนได้ยาก เราจงเข้าใจหลักอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ใช้คำว่าทุกขังกับคำว่าไม่มีอยู่จริง เรียกว่าอนัตตาให้คู่กันให้ได้ แล้วความทุกข์ก็จะตั้งอยู่ไม่ได้ เข้าใจมั้ย ไม่…กูถามแม่ กูไม่ได้ถามมึง (เสียงหัวเราะ) แม่บอกเข้าใจจ้า สาธุ
——————————————–
ลิ้งค์จาก : https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/pfbid0YHvCqpE29uxxLPZAA2SkyPXQZkHpeFdY2QN1Aw9xsakAsCbJPih9nauq6LCUesqTl
รับชมฉบับเต็ม
1 มกราคม 2567 ช่วงเช้า
แสดงธรรมและอวยพรวันปีใหม่
ได้ที่ : https://youtube.com/live/tmOfLy19jqU
https://www.facebook.com/WatOnoiTH/videos/177045102137893/
——————————————–
Conversation between Luang Pu Buddha Isara and Grandma Amporn Thongprasert
Translated from Luang Pu Buddha Isara’s Dhamma Sermon on the New Year’s Day, January 1st, 2024
Last night, I did not lead the prayer with my beloved adherents on New Year’s Eve like I always do. This year is a particular case in which I have lost my mom or Grandma Amporn Thongprasert for my beloved followers. As a result, I performed the duties of a good son by going to see her and talking with her because she is the person who gave me life, blood and flesh, energy, breath, wisdom, and principles for living so that I have become Buddha Isara as of today. Her sacrifices for me are beyond explanation and reciprocation. When there is a chance to say nice things about her or make her feel serene by the Buddha’s Dhamma, I will. So, I visited my mom and talked with her on several topics. One of them is her Dhamma questions. She must have known that I would surely share with all of you about her questions.
She asked what is the Right View. What makes one’s life filled with the Right View?
I explained to her that the Right View comprises three principles, meaning that one must think, do, speak, and live one’s life by adhering to the three principles.
First, believe in Karma (volitional action).
Second, perceive the impermanence, the state of being subject to suffering, and the non-self.
Third, perceive the suffering, the causes of suffering, the means to cease the suffering, and the practice leading to the cessation of suffering.
Her next question is what does belief in Karma mean?
It means the belief that living things are bound by Karma. Karma classifies living things into good, bad, evil, or rough. We originated from our own Karma. Karma brought us to this life, keeps us alive, and will lead us to the next life.
Karma brought us to this life means we were born because of our Karma. Evil deeds lead to woeful existences. Good deeds lead to blissful states of existence. Therefore, when we are born as humans, we must have had some virtues or enough merits. Believing in Karma, we will persevere to do only good deeds to lead our lives to blissful states of existence. With the belief that Karma brought us to this life, when we are alive, the conditions of our lives result from our own Karma. Our Karma has given us the current states of life: sometimes happy, sometimes sad, sometimes gain, sometimes lose, or occasionally lose something to obtain another object. Sometimes, we get what we have aimed for, but sometimes we are disappointed. These are the power of Karma’s outcomes. The past Karma or past deeds result in the current Karma, and the present Karma results in the future Karma. Above all, whether the past Karma or the future Karma depends on our habitual Karma.
Then, my mom asked what is habitual Karma.
Habitual Karma are deeds that we continuously do for a long time while we are alive. Habitual deeds are what we consistently do, say, or think till they become our traits and habits. Somebody always consumes sugar until they get which disease?
(Diabetes) Somebody eats salty food all the time till they get which disease? (Kidney disease) These are habitual Karma. Does it bring in results? (Yes) Somebody is used to praying. Then, they have strong mindfulness and can recall and differentiate between good and bad. If somebody always scolds and condemns with malicious minds, can they remain focused? They will be forgetful, temperamental, and succumb to the Satan and devils. Finally, their actions, words, and thoughts will become insane. Will anybody want to befriend them? These are the yields of their habitual Karma. In conclusion, the past Karma or the future Karma results from our current habitual deeds.
My mom continued to ask the next question. How can we develop ourselves or practice to be the recipient of the perfect outcomes of Karma? She used the words perfect outcomes or flawless outcomes of Karma. Perfect means happiness, prosperity, and ease. To receive such perfect outcomes of Karma, what kind of Karma should we practice?
I answered her that we should practice meritorious actions. We should refrain from misconduct in action, misconduct by speech, and evil thoughts. We must refrain from misconduct in action that includes killing, stealing, and adultery. We must abstain from speech misconduct, including lying, divisive speech, abusive speech, and idle chatter. Lastly, one must refrain from evil thoughts that include greed for the possessions of others and vindictive thoughts, and one must possess the right, virtuous views. Having the Right View is the most important quality.
Then, she asked, “What does possessing the right, virtuous views mean?”
Let’s go back to the Right View.
My mom asked how the Right View can make one’s life prosperous.
With the Right View, one can become prosperous by developing oneself and practicing good conduct, good speech, and good thoughts. The Right View is based on the three beliefs. First, living things are bound by Karma. Karma classifies living things into good, bad, evil, or rough. Living creatures are subject to the law of Karma or our actions. Nobody can cause any good or bad outcomes for us. We do good deeds by ourselves. We commit bad deeds and receive bad outcomes ourselves. Nothing happened to us because of the blessing of any deity, god, or holy spirit. We are the doers. We succeed and fail due to our deeds.
Hence, the process of meritorious action consists of refraining from misconduct in action, misconduct by speech, and evil thoughts, as well as practicing good conduct, good speech, and good thoughts. At the same time, one should firmly believe that living things are subject to Karma. Human and all living creatures have their Karma. With the belief in Karma, if we were parents and had foolish, silly children who spend time playing games or hanging out with friends to drink alcohol, etc. If parents do not teach their children owing to the belief that living creatures are subject to Karma, is this appropriate? No. We become parents because we have relative Karma with our children. What are the duties of parents? Let’s have a look. Whenever we refuse to do our duty, our duty as parents is defective. It is not suitable. It means we violate the Karma and make mistakes. Is it right to violate the Karma? Parents who don’t teach children are wrong, aren’t they? So do teachers who do not guide their students. Some teachers doubt why should they teach because living creatures are subject to Karma. They were born stupid, and they will continue to be stupid. Is it correct for teachers to think this way? They do not deserve to be teachers because teachers are supposed to teach. A teacher has to teach and be a role model for their students. Despite knowing that this person has his own Karma, no matter how much we try to teach, he will not get better. But if we do not teach, he will become even worse. Therefore, please teach. The Buddha never denied teaching, despite knowing of people’s Karma, though some people were extremely foolish. The Buddha still taught them, pushed them, and liberated them from ignorance till they finally became noble individuals. Several Arahants among Buddha’s foremost disciples were born brainless and could not remember a short prayer even after three months of chanting, but the Buddha still taught them, knowing that it was a trait of Karma. As the Omniscient One who knew the past, the future, and the present, and as the teacher of the universe, the Buddha had to teach like how a good teacher is supposed to do. If parents or teachers do not teach ill-behaved children or dumb students by claiming that living creatures are subject to Karma, the parents themselves would have to receive negative outcomes of Karma, and the teachers would violate the Karma. Therefore, parents and teachers must teach. Nevertheless, after teaching and guidance, their children or students still do not improve, the Buddha taught us about equanimity. The Four Divine States of Mind consists of loving-kindness, compassion, altruistic joy, and equanimity. When children and students cannot improve themselves, parents and teachers should maintain their peace of mind by realizing that living creatures are indeed subject to their Karma. Nothing else can be done. It is not right for parents and teachers to neglect their children or students to be as they are.
My mom asked further what is the practice of perceiving impermanence, the state of being subject to suffering, and non-self.
I asked her back whether she was clear about the Karma. She said she no longer had any questions about Karma but still had questions about perceiving impermanence, the state of being subject to suffering, and non-self.
I asked, from her head to toe, from birth till death, were there any changes?
She said yes. Everybody here, from birth till death, changes all the time. That is impermanence. Nobody can deny impermanence. No matter how hard we try, we cannot escape from them. It is impermanence. And what about suffering?
My mom asked how we could solve the suffering.
Suffering always exists in this world. Suffering had been there before you were born, and you were born as the outcome of Karma. You had to suffer as a result of your Karma. Thus, living creatures possess suffering. Once there is life, there is suffering. Humans and living creatures have three possessions: suffering, death, and impermanence. The Book of Divisions (the second book of the Abhidhamma Pitaka) mentions a person who perceives things in this world, whether human, women, men, children, etc., to exist and look beautiful, as delusive perception. Anybody who thinks they exist. This is me. My belongings. My husband. My mother. My children. My ego. My relatives. All is mine. These are mental delusions. If you do not want to be delusive, you must understand impermanence, suffering, and non-self.
My mom asked where is the ultimate point of impermanence. I had never heard such a question. Have you ever heard of the ultimate point of impermanence?
The answer is the extinction of defilements and the state of tranquility, namely Nirvana. The ultimate point of impermanence is Nirvana because Nirvana has nothing. Have nothing. Gain nothing. Nothing remains. And I will surely die. That is the ultimate point of impermanence. I asked my mom whether she understood the impermanence. She said yes and Sadhu.
My mom intentionally asked these questions, not because she did not understand but because she wanted all of you to hear them. She knew that once she asked me, I would share them with all of you.
Then, my mom asked what is the truth of suffering.
I answered her briefly because it was almost dawn. The fireworks were so noisy. I felt annoyed. It was almost 1 a.m. The sounds were all over the place. Oh, it was so annoying. I said briefly. The truth of suffering means suffering had long been in this world before you were born. Suffering had long been in this world before the Buddha’s enlightenment. Suffering originated together with this world. Suffering did not occur with animals and humans, but it had been there before humans and animals’ births. What did suffering come with? Do you think where did suffering come from? It comes with the three truths: impermanence, the state of being subject to suffering, and non-self. Suffering had happened before the Buddha’s birth and our births. Some people say we can destroy suffering. Can we? Nothing may destroy suffering. If you want to destroy it, you must destroy this world, because it is a possession of this world and all living creatures. If you understand suffering, you understand this world, all living creatures, and yourself. When we understand this world, living creatures, and ourselves, we will understand our minds and emotions. Minds and emotions that are filled with suffering. If you understand impermanence, can suffering exist? Suffering cannot exist once you understand impermanence. My child, whenever we understand impermanence, suffering cannot exist. The reason why suffering can exist, and we have been tearfully complaining and crying in misery is because we believe that suffering does exist. Though we do nothing, will suffering disappear? It will disappear if we do nothing with it. We just have to ignore it. However, it won’t disappear from this world, but it will disappear from us if we understand it. But because we don’t understand it, it thus overrides, rules, and leads us till we yield to its power. Therefore, whenever we suffer so much we can hardly bear it because suffering is an unbearable state, we should adhere to the principles of impermanence, suffering, and non-self. Once we apply impermanence to suffering together with non-self, then suffering cannot exist. Do you understand? No…I asked my mom, not you (laugh). My mom said yes.
——————————————–
Previous article : https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/pfbid0YHvCqpE29uxxLPZAA2SkyPXQZkHpeFdY2QN1Aw9xsakAsCbJPih9nauq6LCUesqTl