สัทธาจริต 3มิ.ย.2565

0
24

สัทธาจริต
๓ มิถุนายน ๒๕๖๕

สัทธาจริต หมายถึง ผู้ที่มีปกติหลงเชื่อ โดยไม่มีเหตุผล เชื่อโดยใช้อารมณ์เป็นใหญ่ เชื่อโดยมีตัณหาเป็นเครื่องนำพาไป เชื่อเพราะยึดถือตัวกูเป็นบรรทัดฐาน เชื่อโดยไม่ต้องการคำอธิบาย

องค์พระบรมศาสดาทรงแนะให้เจริญวิปัสสนาในหลักมหาสติปัฏฐานสี่ คือ

การพิจารณา กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน อันมีด้วยกัน ๖ หมวดใหญ่ได้แก่

อานาปานสติ

อิริยาบถปัพพะ มีสติในอิริยาบถ ๔ ขั้นเดิมคือ ยืน เดิน นั่ง และนอน

สัมปชัญญะปัพพะ มีสติอยู่ในกายเคลื่อนไหวอวัยวะภายในและนอกกาย

ปฏิกูลสัญญา มีสติพิจารณาให้เห็นความปฏิกูลทั้งในกายตนและกายผู้อื่น

กายคตานุสสติปัพพะ มีสติพิจารณาความจริงที่ปรากฏภายในและนอกอวัยวะทั้ง ๓๒

นวสีวถิกาปัพพะ มีสติพิจารณาลักษณะซากอสุภะ ๙ ชนิด เริ่มตั้งแต่ขณะตาย หลังตาย ขณะเสื่อมโทรม หลังเสื่อมโทรม ขณะย่อยสลาย หลังย่อยสลาย

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน อันได้แก่ มีสติเฝ้าดูสัพพะอารมณ์ที่ปรากฎแก่จิต ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ อารมณ์ คือ สุข ทุกข์ และเฉยๆ โดยให้พิจารณาว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี หรือเฉยๆ เป็นแค่อารมณ์ที่มีปกติเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป หาได้มีตัวตนอยู่จริงไม่

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน อันได้แก่ มีสติพิจารณาจิตนี้เป็นกุศลหรืออกุศลหรือเฉยๆ ที่ปรากฏแก่จิต

จิตนี้เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว
จิตนี้มีราคะ หรือไม่มีราคะ
จิตนี้มีโมหะ หรือไม่มีโมหะ
จิตนี้มีโทสะ หรือไม่มีโทสะ
จิตนี้วางเฉยต่ออารมณ์ทั้งปวงอยู่หรือไม่

ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อันได้แก่ มีสติพิจารณาในสภาพธรรมที่ปรากฎซึ่งมีทั้งฝ่ายกุศลธรรมและฝ่ายอกุศลธรรม สมมุติธรรมและปรมัติธรรม รวมทั้งอัพยากตธรรมหรือธรรมที่วางเฉย และจบลงตรงที่ แม้ธรรมทั้งหลายก็ไม่มีอยู่จริง

นอกจากจะพิจารณาในหลักมหาสติปัฏฐานสี่แล้ว ผู้มีผู้สัทธาจริตยังต้องจำเป็นต้องรับฟังคำอธิบายสั่งสอนที่ปราณีต เสนาะ ไพเราะ ถูกจริต เพื่อชักชวนให้เห็นโทษ เห็นภัยของศรัทธา แล้วนำพาให้หลุดพ้นจากการครอบงำของศรัทธานั้นด้วยปิยวาจา

หลังว่าผู้มีสัทธาจริตจะพยายามใช้วิธีที่พระบรมศาสดาทรงแนะนำ ทำลายโรคศรัทธาให้เบาบางลงไปได้อย่างราบคาบ

วันหน้าจะนำเอาอัตชีวประวัติของบุคคลที่ตกเป็นทาสของศรัทธาจนแทบจะฆ่าตัวตายมาอธิบายให้ท่านทั้งหลายได้รับรู้กันต่อไป

พุทธะอิสระ

——————————————–