เรามาช่วยกันวิสัชนากรรมทั้ง 12 อาการ ให้แจ่มชัดกันดูซักหน่อย (ตอนที่ 9) 30มี.ค.2565

0
25
เรามาช่วยกันวิสัชนากรรมทั้ง ๑๒ อาการ ให้แจ่มชัดกันดูซักหน่อย (ตอนที่ ๙)

๓๐ มีนาคม ๒๕๖๕

คราวที่แล้วได้หยิบยกเอากรรม ๑๒ มาวิสัชนาแก่ผู้สงสัยไปในระดับหนึ่งไปแล้ว

แต่ดู ดู เหมือนผู้รับรู้รับฟัง ยังจะไม่แจ่มชัดถึงรากเหง้าของกรรมทั้งปวง

วันนี้จึงขอนำกรรมทั้ง ๑๒ อาการ มาอธิบายขยายความให้ท่านทั้งหลายได้เข้าใจ ให้แจ่มชัดมากยิ่งขึ้น หรือไม่ บางคนมีสติปัญญากล้าแข็ง อาจรู้สึกสว่าง กระจ่างแจ้งขึ้นมาบ้างก็เป็นได้

********************************************************

ครุกรรม
กรรมที่มีผลอันหนัก ได้แก่
กรรมที่กระทำกับผู้มีศีล

กรรมที่กระทำกับผู้มีคุณธรรม
กรรมที่กระทำกับผู้มีสติปัญญา
กรรมที่กระทำแก่ผู้มีตบะ มีอานุภาพ

ทั้งฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศล ล้วนต้องรับผลอันหนักทั้งนั้น

รวมทั้งกรรมที่กระทำให้เกิดผลแก่มนุษย์และสัตว์จำนวนมาก ในเวลาเดียวกันก็เป็นครุกรรม เช่นกัน

นอกจากนี้ครุกรรม ยังเป็นผลสืบต่อมาจากอาจิณณกรรมที่ทำอยู่บ่อยๆ จนกลายเป็นความคุ้นเคย ติดเป็นนิสัย เช่น โลภะ โกธร หลง พยาบาท อิจฉา เห็นแก่ตัว มักมาก มักง่าย ใจแคบ และยึดถือตัวกูเป็นใหญ่

เหล่านี้ หากทำบ่อยๆ ทำประจำ ทำจนติดเป็นสันดาน เป็นอาจิน

สุดท้ายก็กลายเป็นครุกรรม คือ กรรมที่ให้ผลหนักในที่สุด

แม้ครุกรรมในฝ่ายกุศล ล้วนเกิดมาจากการสั่งสมคุณงามความดีทั้งทางกาย ทางวาจา ทางจิตใจ สั่งสมบ่อยๆ วันละเล็กๆ น้อยๆ แต่ทำทุกวัน ทุกเวลา เช่นนี้ก็ส่งผลให้เป็นครุกรรมดีที่ส่งให้ท่านได้ในสิ่งที่มุ่งหวังในที่สุด

ส่วนพหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม ก็มีคำอธิบายเช่นเดียวกับครุกรรม

การทำอะไรบ่อยๆ เป็นอาจิน ทั้งดีและเลว ล้วนมีผลอันหนักทั้งนั้น

ดังเช่นกรณีคนชอบกินหวาน สุดท้ายก็ต้องรับผลกรรมคือ เป็นเบาหวาน เป็นโรคลิ้มเลือดอุดตันหลอดเลือด เป็นโรค
เส้นเลือดแข็งตัว เป็นโรคไต เป็นความดันและอีกสารพัดโรค

ล้วนเกิดมาจากอาจิณณกรรมทั้งสิ้น

คนมีปัญญา ต้องไม่ทำกรรมใดๆ ที่มาทำร้ายตนเองและผู้อื่น

พุทธะอิสระ

——————————————–

 

Let us clarify the twelve types of Karma (deeds) (Part 9)
March 30, 2022
 
I previously somewhat explained the twelve types of Karma.
 
However, the listeners are not yet clear about the origins of all Karma.
 
Today, I will elaborate more on the twelve types of Karma. Some people with sharp wisdom may understand them better.
 
********************************************************
 
Examples of Karma of serious or strong effect are as follows.
Karma (deeds) one has done towards people adhering to moral precepts.
Karma (deeds) one has done towards virtuous people.
Karma (deeds) one has done towards people who possess insights and wisdom.
Karma (deeds) one has done towards people who practice religious austerity and possess strong willpower.
Both meritorious and evil deeds would bring about strong effects.
 
Any deed affecting a lot of people is also regarded as the Karma of serious or strong effect.
 
Moreover, the Karma of serious or strong effect result from repeated, habitual deeds such as being greedy, grumpy, ignorant, vindictive, jealous, selfish, avaricious, negligent, narrow-minded, and self-centered. Finally, these habits will become the Karma of strong effect.
 
Meritorious Karma of strong effect also results from accumulated good actions, speech, and thoughts that one has done every day and all the time. As such, these accumulated meritorious Karma of strong effect would enable you to achieve what you want.
 
Habitual Karma, which means both good and bad repeated deeds, yields strong effects.
 
For example, people who like to eat sweet food. Finally, they will be sick with diabetes, thromboembolic disease, arteriosclerosis, kidney diseases, hypertension, and many other diseases.
 
The wise must not do any deed to harm themselves and others.
 
Buddha Isara