เรามาช่วยกันวิสัชนากรรมทั้ง 12 อาการ ให้แจ่มชัดกันดูซักหน่อย (ตอนที่ 3) 18มี.ค.2565

0
32
เรามาช่วยกันวิสัชนากรรมทั้ง ๑๒ อาการ ให้แจ่มชัดกันดูซักหน่อย (ตอนที่ ๓)
๑๘ มีนาคม ๒๕๖๕
 
คราวที่แล้วได้หยิบยกเอากรรม ๑๒ มาวิสัชนาแก่ผู้สงสัยไปในระดับหนึ่งไปแล้ว
 
แต่ดู ดู เหมือนผู้รับรู้รับฟัง ยังจะไม่แจ่มชัดถึงรากเหง้าของกรรมทั้งปวง
 
วันนี้จึงขอนำกรรมทั้ง ๑๒ อาการ มาอธิบายขยายความให้ท่านทั้งหลายได้เข้าใจ ให้แจ่มชัดมากยิ่งขึ้น หรือไม่ บางคนมีสติปัญญากล้าแข็ง อาจรู้สึกสว่าง กระจ่างแจ้งขึ้นมาบ้างก็เป็นได้
 
*********************************************
ขอนำอุปปีฬกกรรม กรรมที่ทำหน้าที่บีบคั้น ขับเคี่ยวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาวิสัชนาให้ท่านทั้งหลายได้เข้าใจถึงขบวนการทำงานของอุปปีฬกกรรม ว่าทำหน้าที่อย่างไรบ้าง
 
อุปปีฬกกรรม หาได้บีบคั้น ขับเคี่ยวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแต่กรรมที่เป็นฝ่ายกุศลอย่างเดียวไม่
 
แม้อกุศลกรรมและอัพยากตกรรม อุปปีฬกกรรมก็เข้าบีบคั้น ขับเคี่ยวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน
 
ตัวอย่างเช่น ผู้ประสบอุบัติเหตุ รถมอเตอร์ไซค์ล้ม กู้ภัย พลเมืองดี เข้าไปให้การช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับแจ้งเหตุให้มาดู
 
ผลปรากฏว่า ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ล้มนั้น ดันเป็นคนร้ายไปกระชากกระเป๋าของผู้หญิงแล้วหนีมา
 
ตำรวจจึงอายัดตัวไว้พร้อมของกลาง (นี้คือการทำงานของอุปปีฬกกรรม ที่เข้าทำหน้าที่บีบคั้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ผลกรรมชั่วที่กระทำให้ได้รับผลทันตาเห็น ทั้งบาดเจ็บและถูกเจ้าหน้าที่จับ)
 
แม้อัพยากตกรรม กรรมที่วางเฉยอุปปีฬกกรรม ก็ยังสามารถแทรกแซงเข้ามาในสภาวะจิตให้มีสติระลึกได้ถึงพระพุทธธรรมคำสั่งสอนในเรื่อง ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป
 
จนสามารถทำความเข้าใจได้ว่า แม้ธรรมทั้งหลายก็ไม่มีอยู่จริง
 
นี้คือการเข้าไปแทรกแซงในสภาวะจิตของอุปปีฬกกรรม เพื่อทำหน้าที่บีบคั้น ขับเคี่ยวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจนลุถึงการเกิดสติปัญญา รู้เห็นชัดตามความเป็นจริง
 
ขบวนการทำงานของอุปปีฬกกรรม เป็นกรรมที่มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งปวงเป็นผู้สร้างขึ้นโดยไม่รู้ตัว หรือ อาจจะเรียกได้ว่า
 
เพราะอวิชชาทำให้ต้องทำกรรมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
 
หากเริ่มรู้สึกเบื่อหน่ายต่อผลแห่งกรรม เราท่านทั้งหลายคงต้องกำจัดต้นเหตุแห่งกรรมทั้งปวง นั่นคือ อวิชชา ความโง่ ความไม่รู้ ให้หมดสิ้น
 
เมื่อนั้นผลแห่งกรรม ก็จะไม่สามารถตามให้ผลได้
 
พุทธะอิสระ
 

——————————————–

Let us clarify the twelve characteristics of Karma (deeds) (Part 3)
March 18, 2022

 
I previously somewhat explained the twelve characteristics of Karma.
 
However, the listeners are not yet clear about the origins of all Karma.
 
Today, I will elaborate more on the twelve types of Karma. Some people with sharp wisdom may understand them better.
 
*********************************************
 
Today, I will explain how the Obstructive Karma, that forces and brings about changes, works. I will explain its procedure and duties.
 
The Obstructive Karma forces and brings about changes for meritorious deeds and evil and mediocre deeds.
 
For example, a person got injured because of a motorcycle accident. Then, rescuers and kind witnesses helped him and reported to the police. Police officers found out that he was a criminal who had snatched a woman’s bag and fled.
 
The police then arrested him and confiscated the stolen bag. (This is an example of how the Obstructive Karma worked. It forced to change so that the person got an immediate outcome from his evil deed. He got injured and caught by the police.)
 
Obstructive Karma can also interfere with mediocre deeds (a deed that is neither good nor bad). The Obstructive Karma can interview a person’s mind so that the mind becomes conscious of the Buddha’s teaching of impermanence, being subject to suffering, and the truth that everything occurs exists, and disappears.
Then, the person understands that all the Dharma does not exist.
 
This shows how the Obstructive Karma interferes with a person’s mind to force changes till the person attains insights to understand everything clearly according to the truth.
 
Humans and all living creatures unconsciously created the procedure of the Obstructive Karma. In other words, their actions, speech, and thoughts resulted from their ignorance.
 
If we start to get bored with the outcomes of Karma, we should completely get rid of the cause of all Karma, i.e., ignorance and foolishness. Then, Karma can no longer yield any outcome.
 
Buddha Isara