มีอะไรอยู่ในพาหุง ๘ ห้อง (ตอนที่ ๕)
๒ กันยายน ๒๕๖๔
ทำไมโบราณาจารย์ท่านถึงได้ปลูกฝัง สั่งสอนให้ลูกหลานพยายามท่องจำให้คล่องปาก ขึ้นใจ
เราท่านทั้งหลายมาทำความเข้าใจในพรพาหุงทั้ง ๘ ห้องดูกันหน่อย
วันนี้ขอนำเสนอในห้องที่ห้า ความว่า
กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
สมเด็จพระจอมมุนี ทรงผจญกับนางจิญจมาณวิกา ผู้ซึ่งผูกไม้ไว้ที่ท้องแสร้งทำเป็นหญิงมีครรภ์ยืนด่าว่า ใส่ร้ายพระพุทธองค์ท่ามกลางที่ประชุมชน ทรงพิชิตนางด้วยวิธีสงบพระหฤทัย เป็นสง่าเฉยอยู่ดั่งพระจันทร์เพ็ญ ด้วยเดชแห่งองค์พระผู้พิชิตนางนั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
เมื่อองค์พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมจนมหาชนผู้เลื่อมใสศรัทธาออกบวช มีดวงตาเห็นธรรมเป็นจำนวนมาก ยิ่งพุทธศาสนาแผ่ขยายไปมากเท่าไร พวกเดียรถีย์ ซึ่งเป็นนักบวชนอกพุทธศาสนา
พวกเดียรถีย์จึงคิดหาวิธีกำจัดพระพุทธองค์ โดยใช้สาวิกาผู้ใกล้ชิดนางหนึ่ง ชื่อ จิญจมาณวิกา ซึ่งเป็นหญิงรูปงาม ความงามของนางนั้นเปรียบได้ดังเทพอัปสรในสรวงสวรรค์ และเป็นหญิงพร้อมด้วยเล่ห์เหลี่ยมและมารยา
เดียรถีย์บอกอุบายให้นางจิญจมาณวิกาไปใส่ร้ายพระพุทธเจ้า ซึ่งนางจิญจมาณวิกาก็รับอาสาทำตามแผนนั้น
เย็นวันนั้น นางก็แต่งตัวสวย นุ่งห่มผ้าสีเหมือนแมลงค่อมทอง ถือของหอมและดอกไม้ มุ่งหน้าไปสู่พระเชตวันมหาวิหาร เดินสวนกับสาธุชนที่ฟังธรรมเสร็จและกำลังเดินออกมาจากวัด แล้วนางจึงแอบไปพักอยู่ในวัดของเดียรถีย์ที่อยู่ใกล้กับวัดพระเชตวัน
นางทำอยู่เช่นนี้หลายวันเข้า สาธุชนเห็นเช่นนั้นจึงถามว่านางจะไปไหน นางก็แสร้งตอบเป็นปริศนาว่า “ท่านจะรู้ไปทำไมว่าฉันไปไหน”
ครั้นเวลาเช้า นางก็แอบเข้าไปในวัดพระเชตวัน แล้วทำทีเป็นเดินออกมาจากวัดเพื่อกลับไปสู่พระนคร เดินสวนกับสาธุชนที่กำลังมุ่งหน้าไปทำบุญ ทำให้เข้าใจว่านางนอนค้างอยู่ในวัด
เมื่อมีคนถามว่านางไปนอนค้างอยู่ที่ไหนมา นางก็แสร้งตอบเป็นปริศนาอีกว่า “ท่านจะรู้ไปทำไม ว่าฉันไปพักที่ไหนมา”
นางจิญจมาณวิกาเพียรพยายามประพฤติเช่นนี้อยู่ ๑ – ๒ เดือน เมื่อมีผู้ถามทีนี้ นางเปลี่ยนเป็นตอบว่า “เราพักอยู่ในคันธกุฏีเดียวกันกับพระสมณโคดม”
ผู้คนก็เริ่มสงสัยว่าถ้อยคำที่นางจิญจมาณวิกาพูดนั้นเป็นจริงหรือไม่จริง บางคนไม่เชื่อในคำพูดของนาง แต่บางคนก็เริ่มสงสัยว่านางอาจจะพูดความจริง จึงเริ่มมีเสียงวิพากษ์และหนาหูขึ้นทุกวัน
เวลาผ่านไปเป็น ๓ – ๔ เดือน นางจิญจมาณวิกาก็เอาผ้ามาพันท้องให้นูนขึ้น ให้ผู้คนเข้าใจว่านางเริ่มตั้งครรภ์
ยิ่งเวลาผ่านไปนางก็ทำท้องให้ใหญ่ขึ้นจนเวลาผ่านไป ๘ – ๙ เดือน นางก็ผูกไม้กลมไว้ที่หน้าท้อง ใช้ผ้าห่มทับไว้ และใช้ไม้คางโคทุบหลังมือและหลังเท้าให้บวมโต ทำอาการให้เหมือนคนท้องแก่
วันหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงธรรมท่ามกลางสาธุชน อยู่บนพระแท่นที่ประทับ นางจิญจมาณวิกาก็ไปยืนอยู่ตรงหน้า กล่าวว่า “พระสมณะ พระองค์อย่ามัวแต่แสดงธรรมอยู่เลย บัดนี้หม่อมฉันครรภ์ครบกำหนดใกล้จะคลอดแล้ว ขอพระองค์ช่วยจัดหาสถานที่คลอดลูกของเราแก่หม่อมฉันด้วยเถิด หากพระองค์ไม่ทำเอง ก็ตรัสบอกพระเจ้าโกศล หรืออนาถบิณฑิกเศรษฐี หรือนางวิสาขา ให้ช่วยจัดสถานที่คลอดแก่หม่อมฉันด้วยเถิด”
พระพุทธเจ้าทรงหยุดแสดงธรรม ทรงมีพระอาการสงบนิ่ง พระพักตร์เรียบเป็นปกติ มหาชนที่มีศรัทธาในพระองค์ก็นิ่งอยู่ ส่วนผู้ที่มีศรัทธาไม่แก่กล้าก็เริ่มหวั่นไหว
ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าทรงมีพระดำรัสตอบว่า “น้องหญิง คำที่เจ้ากล่าวมานั้น จะจริงหรือไม่ เราและเจ้าเท่านั้นย่อมรู้อยู่”
นางจิญจมาณวิกาก็ย้อนว่า “ก็ใช่ล่ะสิ เรารู้กันสองคน เพราะเราทำกันสองคนเท่านั้นนี่”
ขณะนั้นเอง บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ของท้าวสักกเทวราชก็แสดงอาการร้อนผ่าวขึ้นมาทันใด ทำให้ท้าวสักกเทวราชถึงกับสะดุ้ง ทรงตรวจดูก็ทราบว่า นางจิญจมาณวิกากำลังกล่าวตู่ใส่ความพระพุทธเจ้าอยู่ พระองค์จึงเสด็จมาพร้อมเทพบุตร ๔ องค์ ทรงรับสั่งให้เทพบุตรแปลงเป็นลูกหนูเข้าไปกัดเชือกที่ผูกท่อนไม้ กลมๆ ที่อยู่หน้าท้องของนางจิญจมาณวิกา เมื่อเชือกถูกตัดขาดพร้อมกับเกิดลมพัดขึ้นตีผืนผ้าปลิวสะบัด ไม้กลมที่ทำให้คล้ายท้อง ก็พลัดตกลงหลังเท้าขอนางจิญจมาณวิกาจนปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างแตกจนเลือดสาด
มหาชนที่เข้าฟัธรรมรู้ความจริง พากันทุบตีขับไล่นางจิญจมาณวิกาออกมาจากพระวิหารด้วยความโกรธ นางจิญจมาณวิการีบวิ่งหนีออกมาจากมหาวิหาร แต่ครั้นออกไปพ้นจากพระจักษุของพระพุทธองค์ พระธรณีหนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ ก็ไม่อาจรองรับกรรมอันชั่วช้าของนางได้ จึงแยกออกเป็นช่อง เปลวไฟจากนรกก็พวยพุ่งขึ้น มาดูดร่างนางจิญจมาณวิกา ลงไปรับโทษฑัณฑ์ในอเวจีมหานรกทันที
มองในมุมธรรมาธิษฐาน ความอิจฉาริษยาเมื่อมีอยู่ในผู้ใดไม่เคยทำให้ผู้นั้นสงบสุข รุ่งเรืองเจริญได้เลย
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้พ้นแล้วซึ่งอำนาจแห่งวัฏฏะ ย่อมไม่รู้สึกอะไรกับแรงบีบรัดจากภัยแห่งวัฏฏะ
คำกล่าวร้าย คำว่าร้าย คำใส่ร้าย ของนางจิญจมาณวิกา ต่อหน้ามหาชนจึงไม่มีผลอะไรกับพระพุทธองค์
ทั้งยังทรงโต้ตอบด้วยพระกิริยาที่สุภาพ เรียบร้อย และหากจะมองในมุมแห่งข้อธรรม ก็ต้องมองว่า พระพุทธองค์ทรงมีพระขันติธรรมอันยิ่ง ทรงใช้ความสงบกาย สงบวาจา สงบใจ เข้ากำราบความอิจฉา ริษยาของนางจิญจมาณวิกา
แต่ถ้าจะมองในมุมอริยธรรมก็ต้องมองว่า เมื่อพระพุทธองค์ทรงหลุดพ้นแล้วในสังขารทั้งปวง
“แล้วจะมีอะไร ทำร้ายพระองค์ได้อีกกระนั้นหรือ”
พุทธะอิสระ
————————————————-
มีอะไรอยู่ในพาหุง ๘ ห้อง (ตอนที่ ๑)
มีอะไรอยู่ในพาหุง ๘ ห้อง (ตอนที่ ๒)
มีอะไรอยู่ในพาหุง ๘ ห้อง (ตอนที่ ๓)
มีอะไรอยู่ในพาหุง ๘ ห้อง (ตอนที่ ๔)
————————————————-
What is in the Bahum Prayer (Jayamangala Gatha – the eight victories and blessing)? (Part 5)
September 2, 2021
Why teachers of ancient times cultivated and taught children to memorize the Bahum Prayer (Jayamangala Gatha)?
We should try to understand the meaning of the Batum Prayer with its eight parts.
Today, I would like to present you the fifth part of this prayer.
Katvāna kattha mudarang iva gabbhi nīyā
Cincāya duttha vacanang janakāya majjhe
Santena somavidhinā jitavā munindo
Tang tejasā bhavatu me jaya mangalāni
The Buddha encountered the woman named Cinca Manavika, who tied her belly with round wood, acted like a pregnant woman, and made foul accusation with harsh words towards the Buddha in the midst of people. He conquered her by his peace of mind like the grace of full moon. By the power of glorious triumph, may the victory blessings be yours.
After listening to sermons of the Buddha, a lot of faithful people entered into monastic life and many of them attained enlightenment. Buddhism gained popularity because of the Buddha. Therefore, heretical teachers attempted to discredit the Buddha by using a female ascetic called Cinca-manavika, who was as pretty as a goddess, and was a deceitful and tricky woman.
The heretical teachers aimed to destroy the Buddha’s reputation by setting her to make a false accusation against Him and Cinca-manavika agreed to the plan.
In that evening, she dressed beautifully, wrapped a scarlet shawl round her, carried incenses and flowers, and pretended to pay visits to the Buddha at Jetavana Monastery at nightfall. She walked pass devotees returning in the evening from the monastery after hearing a sermon from the Buddha. In fact, she slept at a nearby monastery of the heretical teachers.
After doing this for a few days, followers of the Buddha asked where she was going. She riddled that, “What business of yours is it where I am going?”.
In the morning, she secretly entered the Jetavana Monastery and pretended as if she was coming back from the Buddha at Jetavana Monastery. She walked pass devotees who were heading to make merits at the monastery. So, they thought that she had stayed overnight at the monastery.
When people asked where she spent the night, again she replied in riddle that, “What business of yours is it where I have spent the night?”.
Cinca Manavika repeatedly did this for one to two months. When people asked, she would reply, “I spent the night with the Buddha at the monastery.”
People started to doubt whether what Cinca Manavika said was true. Some people did not believe her, but they started to doubt. Then, people increasingly criticized this.
After three or four months had passed, she wrapped some cloth around her stomach to make herself look pregnant.
Then, after eight or nine months, she created the impression of a woman in an advanced stage of pregnancy. She also hit the back of her hands and feet to make them swollen.
One day, the Buddha was then expounding the Dhamma to a congregation of bhikkhus and laymen. Cinca Manavika walked to the front of the Buddha and accused him, “O you big Samana! Please do not preach to others. It is almost time for me to give birth to your baby. Why have you not prepared my confinement room? If you won’t do it yourself, why don’t you ask the King Kosala, Anathapindika, or Visakha?
The Buddha stopped his discourse. He remained calm and his facial expression was normal. Faithful people remained still. However, her words caused doubts to spring up in the minds of those who were as yet unconverted.
The Buddha replied her, “Sister, as to whether what you have said be true or false, that is something which only you and I know.”
Cinca Manavika retorted that “Yes, this is known between only you and me, because we did it together.”
At that moment Sakka’s seat showed signs of heat. Thereupon, Sakka pondered the cause, and knew that Cinca Manavika was falsely accusing the Buddha. Therefore, Sakka forthwith set out with four deities. The deities turned themselves into little mice. With one bite of their teeth these little mice severed the cords with which the disk of wood was fastened to the belly of the woman. At that moment the wind blew up the cloak which was wrapped about her, and the disk of wood fell upon her feet, and her toes bled.
Knowing the truth, people angrily hit her with sticks and drove her out of the Jetavana Monastery. As she passed out of sight of the Buddha, the earth split apart, an abyss opened under her feet, and flames shot up from the Avici Hell. Thus, was she swallowed up and reborn for sentence in the Avici Hell.
To explain this story based on virtues, we may see that jealousy never makes anybody peaceful and prosperous.
The Buddha, who has liberated himself from the cycle of rebirth, of course felt no pressure from the peril of cycles of rebirth.
Therefore, Cinca Manavika’s false accusation in front of the public did not have any impact on the Buddha.
In addition, the Buddha politely and courteously responded to her. Looking from the virtue aspect, we can see that the Buddha possessed the great tolerance. He used peace of body, speech, and mind to conquer Cinca Manavika’s jealousy.
However, from the perspective of noble men, the Buddha had liberated himself from all kinds of mental formations.
“So, can anything still harm the Buddha?”
Buddha Isara
————————————————-
What is in the Bahum Prayer (Jayamangala Gāthā – the eight victories and blessing)? Part 1
What is in the Bahum Prayer (Jayamangala Gāthā – the eight victories and blessing)? Part 2
What is in the Bahum Prayer (Jayamangala Gāthā – the eight victories and blessing)? Part 3
What is in the Bahum Prayer (Jayamangala Gāthā – the eight victories and blessing)? Part 4