Live เสียงแสดงธรรม เรื่องกรรม12 และปฏิบัติธรรม : หลวงปู่​พุทธะอิสระ 7มี.ค.2565

0
24
วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2565
เสียงแสดงธรรม เรื่องกรรม12 และปฏิบัติธรรม : หลวงปู่​พุทธะอิสระ
เมื่อวันอาทิตย์​ที่​ 6 มีนาคม 2565 ช่วงบ่าย
ณ วัดอ้อน้อย(ธรรมอิสระ) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
ลิ้งค์บทความประกอบ เรื่อง กรรม 12 (เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2565)
3 มี.ค. 65 หลวงปู่ดูวัวที่คอก
ณ วัดอ้อน้อย(ธรรมอิสระ) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
4 มี.ค. 65 หลวงปู่ดูวัวที่คอก
ณ วัดอ้อน้อย(ธรรมอิสระ) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
5 มี.ค. 65 หลวงปู่ ลับมีด และไปดูวัวที่คอก
ณ วัดอ้อน้อย(ธรรมอิสระ) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
ติดตามรับชมย้อนหลัง สมบูรณ์ได้ทาง Youtube : Issaradham

——————————–

พระมหาพุทธพิมพ์นาคปรก “พระปกเกล้า ปกแผ่นดิน”
ประดิษฐานอยู่บนอาคารพระนาคปรก
ติดกับโรงเจหอคุณธรรมฟ้า อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้าง

พุทธลักษณะ
เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก ศิลปะสุโขทัย
ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระกรขวาประทานพร
หน้าตักกว้าง 14 ม. ความสูง 22 ม.
ความสูงรวมพญานาคประมาณ 59.65 ม.
องค์พระทำด้วยโลหะทองสัมฤทธิ์
นำเข้าจาก Australia จึงมีอายุอยู่เป็น 1,000 ปี

ที่มาของการก่อสร้างพระนาคปรก
เพื่อถวายพระเกียรติยศต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

ขอเชิญร่วมทำบุญสร้างพระมหาพุทธพิมพ์นาคปรก
ธนาคาร ทหารไทยธนชาติ
ชื่อบัญชี วัดอ้อน้อยธรรมอิสระ
เลขที่บัญชี 345-2-55108-2
สาขากำแพงแสน

ติดต่อส่งสลิป-ชื่อ-สกุล-ที่อยู่
ได้ที่ ID Line : choojai36

——————————–

ผู้ป่วยมีอาการเสี่ยงหรือติดโรค
กักตัวอยู่บ้าน ฐานะยากจน
ต้องการยาสมุนไพร ติดต่อขอรับยา
โทร. 066-0599966

สนใจติดต่อสั่งซื้อยาสมุนไพร อโรคยาเภสัช
โทร. 095-2515629 ID Line : homjangherbal
ติดต่อในเวลาทำการ จ.-ส. 8.00-17.00 น.

หมายเหตุ…

ขออธิบายที่มีคำถามเข้ามาเรื่องลัทธินอกพุทธศาสนา มีอะไรบ้าง
เพิ่มเติมในประเด็นคำตอบที่ได้ตอบไปแล้วว่า “แม้ความเชื่อกรรมก็เป็นลัทธินอกพุทธศาสนาด้วย”
พอตอบไปเช่นนี้อาจทำให้ผู้ที่ไม่ศึกษาหรือศึกษา โดยไม่กระจ่างจะเข้าใจไขว้เขว คลาดเคลื่อนแล้วสงสัยว่า
ทำไมพุทธะอิสระถึงได้ตอบว่า ความเชื่อกรรมเป็นความเชื่อนอกพุทธศาสนา
เพราะเหล่าพุทธบริษัทก็ถูกสอนกันมาว่า สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ดีชั่วเลวหยาบ เป็นต้น
แล้วทำไมพุทธะอิสระยังกล้าพูด กล้าอธิบายว่า การเชื่อเรื่องกรรมเป็นความเชื่อนอกศาสนาอีกเล่า
อธิบายว่า กรรมที่พระพุทธศาสนาสอนไม่ใช่ให้คนเชื่อ แล้วปล่อยชีวิตเป็นไปตามกรรม โดยไม่ขวนขวาย ไม่มุ่งมั่นพัฒนา เฉกเช่น ผู้ที่ยอมรับชะตากรรม โดยไม่คิดจะทำอะไร
ในพระพุทธศาสนาสอนให้ศึกษากรรมโดยแบ่งกรรมและการให้ผลของกรรมไว้ ๑๒ ลักษณะ
๑. ชนกกรรม กรรมที่นำมาให้เกิดหรือกรรมที่ตกแต่งให้เกิด หาได้เกิดในชาติภพอย่างเดียวไม่ แม้ก่อกำเนิดให้เกิดกรรมทางกาย วาจา และใจ ทั้งในทางดีและชั่วได้ด้วย
๒. อุปัตถัมภกกรรม กรรมที่คอยสนับสนุน เลี้ยงดู รวมทั้งให้การอุปถัมภ์ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ให้ส่งผลอย่างสม่ำเสมอ
๓. อุปปีฬกกรรม กรรมที่บีบคั้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็ทำหน้าที่บีบคั้นจากชั่วให้เป็นดี และบีบคั้นจากดีกลายเป็นชั่ว รวมทั้งบีบคั้นให้ไม่ได้ ไม่ชั่ว เป็นกลางๆ ได้ด้วย
๔. อุปฆาตกกรรม กรรมที่ทำหน้าที่กัดกร่อน ตัดรอนในทุกกรรม ไม่ว่าจะดีหรือเลว โดยไม่มีกาลเวลา แม้ที่สุดกำลังจะดี ก็ทำให้ตายได้ด้วย
ตั้งแต่ข้อ ๑-๔ เป็นกรรมที่ให้ผลตามหน้าที่
๕. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน หมายรวมไปถึงปัจจุบันขณะด้วย ซึ่งก็มีทั้งกรรมดีและกรรมเลว และวางเฉย
๖. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในอนาคต หมายถึง นาทีหน้าและ ชั่วโมงต่อๆ ไปจนถึงวันต่อๆ ไป เดือนต่อไปและปีต่อๆ ไป
๗. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในภพภูมิต่อๆ ไป ซึ่งถูกส่งผลต่อเนื่องมาจากอุปปัชชเวทนียกรรม จนปรากฏในภพภูมิต่อๆ ไป
๘. อโหสิกรรม กรรมที่ล้มเลิกการให้ผล หรือกรรมที่หยุดยั้งการให้ผล
กรรมตั้งแต่ ๕ – ๘ นี้ผลัดกันให้ผลต่างเวลาไป
๙. ครุกรรม กรรมอันหนัก ซึ่งมีทั้งฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศล เช่น พัฒนาตนจนได้เป็นพระอริยเจ้า หรือทำร้ายพระอรหันต์ เป็นต้น
๑๐. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม คือ กรรมที่ทำซ้ำๆ อย่างเดียวกันเป็นเวลานานๆ จนมีผลเทียบชั้นครุกรรมทีเดียว
๑๑. อาสันนกรรม กรรมที่เฉียดฉิว หรือ กรรมจวนเจียน หรือที่เรียกว่า เกือบไปแล้ว เช่น พฤติกรรมที่เสี่ยงตาย หรือ ลุ้นเลขหวยแล้วเฉียดฉิวใกล้ถูก แต่สุดท้ายมันก็ไกลเกินฝัน
๑๒. กตัตตากรรม กรรมที่กระทำโดยมิได้ตั้งใจ หรือทำด้วยเจตนาอันอ่อน กตัตตากรรมนี้จะให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมใดให้ผลแล้วจึงจะได้รับผลของกรรมนี้ เช่น กรณีพุทธะอิสระ เป็นต้น
กรรมตั้งแต่ข้อ ๙ ถึงข้อ ๑๒ จะให้ผลไปตามความหนัก ความรุนแรงที่ได้กระทำ
เมื่อศึกษาในกรรม ๑๒ จนแตกฉานแล้ว เราท่านทั้งหลายจะเห็นว่า กระบวนการแห่งกรรมหาได้ทำให้เราไม่ขวนขวาย หรือปล่อยชีวิตให้มันเป็นไปตามยถากรรม
แต่มันมีการบริหารจัดการ เลือกสรรกระทำกรรมที่เป็นคุณประโยชน์ที่ดีที่สุด จักได้รับผลในทางดีงาม
แต่หากปล่อยชีวิตให้มันเป็นไปตามยถากรรม ตามความเชื่อเรื่องกรรมของลัทธินอกพุทธศาสนา มันจะเหมือนกับมนุษย์หรือสัตว์ที่ตกลงน้ำแล้วไม่ขวนขวายแหวกว่ายเข้าฝั่ง รอให้น้ำพัดพาเข้าฝั่งเอง สุดท้ายก็หมดแรงจมน้ำตายในที่สุด
ฉะนั้นการเชื่อกรรมในทางผิดๆ มันจะทำให้ผู้เชื่อกลายเป็นคนไร้สาระ ไร้ประโยชน์ ไร้เหตุ ไร้ผล เป็นโมฆบุรุษ โมฆสตรีหาประโยชน์มิได้
วิสัจฉนาเรื่องกรรมก็ขอจบลงไว้แต่เพียงเท่านี้
เพราะหากจะอธิบายขยายความ เรื่องกรรมให้กระจ่างกว่านี้ ก็ต้องลงลึกไปถึง
ทุกเรื่องที่คิดเป็นกรรม
ทุกคำที่พูดเป็นกรรม
ทุกสิ่งที่ทำก็เป็นกรรมทั้งนั้น
ขึ้นอยู่ที่ว่าจะเลือกคิด พูด ทำ กรรมดีหรือกรรมเลวหรือเฉยๆ
จบแล้วนะจ๊ะ
พุทธะอิสระ
**********************