พุทธภาษิตนี้คือ สิ่งที่ผู้ศึกษาวิถีจิตควรต้องรู้

0
132

ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย.

บาปที่เกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจให้ห่างจากอารมณ์นั้น ๆ

———————————–

ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ

เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.

ผู้สำรวมจิตที่แล่นไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว

ไม่มีรูปร่าง อาศัยอยู่ในถ้ำคือร่างกาย

ผู้นั้นจักพ้นจากเครื่องผูกของมารได้ฉันนั้น

จิตที่ซื่อตรงดีแล้ว เหมือนดังลูกศรที่ตรง

ย่อมแล่นไปข้างหน้า ได้อย่างรวดเร็วแม่นยำฉันนั้น

———————————–

ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ

อุชุํ กโรติ เมธาวี อุสุกาโรว เตชนํ.

คนมีปัญญาย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามได้ยาก

ให้ซื่อตรงได้ ดุจดังลูกศรที่ช่างดัดให้ตรงแล้วฉันนั้น

———————————–

อนวสฺสุตจิตฺตสฺส อนนฺวาหตเจตโส

ปุญฺญปาปปหีนสฺส นตฺถิ ชาครโต ภยํ.

ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ มีจิตอันโทสะมิอาจกระทบได้

ละได้แล้วทั้งบุญและบาป เป็นผู้รู้ตื่นอยู่พร้อมเฉพาะในปัจจุบัน

ย่อมไม่เวรภัยใดๆ มากล้ำกราย

———————————–

สุทุทฺทสํ สุนิปฺณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ

จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺ

ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยาก ละเอียดมาก

มีปกติมักตกไปในอารมณ์อันน่าใคร่

จิตที่ระวังรักษา ไม่ให้ตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่

ย่อมสงบสุข

หวังว่า ท่านผู้หวังความเจริญในวิถีจิตทั้งหลาย จักได้สำเหนียก และนำไปพิจารณา โดยละเอียดถี่ถ้วน เพื่อประโยชน์ในการสำรอกจิต ให้สะอาดอยู่เนืองนิตย์

พุทธะอิสระ